ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐเคยพูดไว้ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนปีที่แล้วหลังเสร็จสิ้นการหารือกับประธานาธิบดีสีจิ้นผิง โดยตอบชัดเจนว่า ไต้หวันจะเป็นเอกราชหรือไม่เป็นเรื่องของไต้หวันที่ตัดสินใจเอง ส่วนจุดยืนและบทบาทของสหรัฐฯจะคงยึดเองกฎหมายความสัมพันธ์กับไต้หวัน (Taiwan Relations Act) เป็นสำคัญ กฎหมายความสัมพันธ์กับไต้หวัน (Taiwan Relations Act) ที่สหรัฐฯยึดถือคืออะไร
"ไบเดน" ยันสหรัฐฯ จะปกป้องไต้หวัน หากถูกจีนโจมตี
กลาโหมจีนประกาศกร้าว “พร้อมเริ่มสงคราม” หากไต้หวันประกาศเอกราช
แต่ในปี 1979 กระแสการเมืองโลกเปลี่ยน รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ ตัดสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับไต้หวันและหันมาสานสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่แทน ภายใต้นโยบายจีนเดียว หรือ One China Policy แต่การตัดสัมพันธ์ก็ไม่ถึงกับตัดแบบสิ้นเชิง เพราะสภาคองเกรสมีการผ่านกฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวัน (Taiwan Relations Act) ซึ่งอนุญาตให้สหรัฐยังคงความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการกับไต้หวันผ่านสำนักงานการค้าหรือสถาบันวัฒนธรรม
กฎหมายนี้บัญญัติด้วยว่า สหรัฐฯ ต้องช่วยเหลือไต้หวันในการป้องกันตัวเอง ซึ่งเป็นเหตุผลว่า ทำไมสหรัฐฯจึงยังขายอาวุธให้ไต้หวันอย่างต่อเนื่อง และยังสามารถคงสถานะเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงที่สำคัญที่สุดของไต้หวัน ซึ่งคำตอบของไบเดนที่บอกว่า ไต้หวันจะเป็นเอกราชหรือไม่เป็นเรื่องที่ไต้หวันตัดสินใจเอง แต่สหรัฐจะยึดแนวทางของกฎหมายความสัมพันธ์ไต้หวันไว้ ตีความได้หรือไม่ว่า ในวันนี้หากเกิดอะไรขึ้นกับไต้หวันสหรัฐฯมีหน้าที่หรือพันธะผูกพันที่ต้องเข้าช่วยเหลือด้านการทหารกับไต้หวัน
เปิดเส้นทาง “แนนซี เพโลซี” เข้าไต้หวัน ประเมินขาออกอาจเจอปัญหา?
สถานทูตจีน ออกแถลงการณ์ขอให้รัฐบาลไทย สนับสนุนจุดยืนอย่างที่เคยเป็น