เมื่อวันเสาร์ (3 ก.ย.) องค์การนาซา (NASA) ล้มเหลวอีกครั้งในการปล่อยจรวดในภารกิจอาร์เทมิส วัน (Artemis I) หลังพบปัญหาไฮโดรเจนรั่ว และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยจรวดจะสิ้นสุดลงในวันอังคารนี้ (6 ก.ย.) ทำให้นาซาต้องเลื่อนการปล่อยจรวดออกไปเป็นช่วง 19 ก.ย. – 4 ต.ค. หรือหลังจากนั้นแทน
โดยทั่วไป การกำหนดวันที่จะปล่อยยานอวกาศนั้น มักต้องได้รับการคำนวณอย่างดีโดยคำนึงถึงเกณฑ์หรือปัจจัยหลายประการ
“เหยียบดวงจันทร์ในรอบ 50 ปี” ศึกชิงความเป็นมหาอำนาจครั้งใหม่
“นาซา” เลื่อนปล่อยจรวดไปดวงจันทร์รอบ 2 หลังพบปัญหาไฮโรเจนเหลวรั่ว
“นาซา” เลื่อนปล่อยจรวด SLS ไปดวงจันทร์ หลังพบปัญหาเครื่องยนต์
มิฉะนั้นอาจเสี่ยงที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยต่อยานอวกาศ หรือนักบินอวกาศหากเป็นภารกิจที่ต้องส่งคนขึ้นไปด้วย ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภารกิจ ไม่มีช่วงเวลาที่ตายตัว
สำหรับภารกิจ อาร์เทมิส วัน ช่วงเวลาการปล่อยจรวดที่เหมาะสมนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ดังนี้
- ตำแหน่งและการโคจรของดวงจันทร์
- ต้องเป็นช่วงเวลาที่หากปล่อยจรวดออกไป จรวดนั้นจะไม่ถูกวัตถุอื่นบดบังแสงอาทิตย์เกิน 90 นาที
- ต้องคำนึงถึงขากลับ โมดุลที่เดินทางกลับมายังโลกจะต้องมีวิถีที่เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศโลกได้ง่าย
- ต้องคำนึงถึงขากลับ โมดุลที่เดินทางกลับมายังโลกจะต้องตกลงในช่วงที่มีแสงว่าง เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บกู้
จากปัจจัยเหล่านี้ เมื่อคำนวณออกมาแล้ว จะทำให้โอกาสในการปล่อยจรวดสำหรับอาร์เทมิส วัน จะอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วเว้นไปอีก 2 สัปดาห์จึงจะสามารถวางแผนปล่อยได้อีกครั้ง
ดังนั้น ช่วงเวลาเหมาะสมครั้งถัดไปที่จะปล่อยจรวดภารกิจ อาร์เทมิส วัน คือ ช่วงวันที่ 19 ก.ย. – 4 ต.ค. หากเลยไปอีกก็จะเป็น 17 ต.ค. – 31 ต.ค. และ 12 พ.ย. – 27 พ.ย. และ 9 ธ.ค. – 23 ธ.ค. ซึ่งสัปดาห์หน้าทีมงานของนาซาจะได้ข้อสรุปกำหนดการปล่อยจรวดครั้งใหม่
บิล เนลสัน ผู้อำนวยการ NASA บอกว่า ความเสียหายจากการเลื่อนภารกิจนั้น น้อยกว่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากภารกิจล้มเหลวมาก
“เราจะไม่ปล่อยจรวดจนกว่าเราจะคิดว่ามันถูกต้อง ... ทีมงานทำงานอย่างหนักและนั่นคือข้อสรุปที่พวกเขาได้ ผมมองว่าสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอวกาศของเรา ซึ่งมีความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ” เนลสันกล่าว
ภารกิจ อาร์เทมิส วัน ถูกเลื่อนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกเลื่อนจากวันที่ 29 ส.ค. มาเป็น 3 ก.ย. หลังเครื่องยนต์ตัวที่ 3 เกิดปัญหาขัดข้องทางเทคนิคทำให้ต้องสั่งยกเลิกภารกิจกะทันหัน
การยกเลิกภารกิจเมื่อวันที่ 29 ส.ค. นั้น เกิดขึ้นเพียง 40 ก่อนการนับถอยหลังปล่อยยาน โดยเซ็นเซอร์ตรวจสอบว่า เครื่องยนต์ RS-25 ของระบบปล่อยจรวดขนาดใหญ่ (SLS) ตัวหนึ่งเกิดขัดข้อง ไม่สามารถระบายความร้อนได้ จากการตรวจสอบพบว่า ปัญหาเกิดจากความผิดพลาดของเซ็นเซอร์ ไม่ใช่ความล้มเหลวของระบบทำความเย็นหรือตัวเครื่องยนต์เอง
ขณะที่การยกเลิกภารกิจเมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมานั้น เกิดขึ้นก่อนการปล่อยจรวดตามกำหนดการ 3 ชั่วโมง หลังมีการตรวจสอบการรั่วไหลของไฮโดรเจนเหลว หนึ่งในสารขับเคลื่อนที่ใช้ในแกนกลางขนาดใหญ่ของจรวด โดยทีมงานพยายามแก้ไขแล้วแต่ไม่สำเร็จ
ก่อนหน้านี้มีการพบรอยรั่วเล็ก ๆ ในบริเวณที่เกิดปัญหา แต่รอยรั่วขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทีมงานเชื่อว่า แรงดันที่สูงเกินอาจทำให้ซีลที่จุดเชื่อมต่อไฮโดรเจนเหลวเสียหาย
โครงการอาร์เทมิสเป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่างมากต่อนาซาและสหรัฐฯ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งในรอบ 50 ปี ก่อนที่จะก้าวไปสู่หมุดหมายสำคัญถัดไปในการส่งคนไปเหยียบดาวอังคาร
โดย อาร์เทมิส วัน นั้น เป็นเฟสแรกของโครงการนี้ จะทดสอบการทำงานของยานอวกาศ “โอไรออน (Orion)” ที่สหรัฐฯ พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยยังไม่มีการส่งมนุษย์ขึ้นไป
ภาพจาก AFP
แคนาดาสะเทือนขวัญ! เกิดเหตุคนร้ายไล่แทงคนไม่เลือกหน้า ดับ 10 เจ็บ 15
วิธีลงทะเบียน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านเว็บไซต์ ตรวจสอบสถานะเริ่ม 16 ก.ย.65