ปธน. สี จิ้นผิง ออกนอกประเทศครั้งแรกในรอบ 2 ปี

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ติดตามความเคลื่อนไหวของสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ที่ล่าสุดเพิ่งจะเดินทางถึงอุซเบกิสถานในวันนี้ ส่วนหนึ่งของทริปเยือนเอเชียกลางเพื่อเข้าร่วมการประชุม SCO การประชุมที่ถูกมองว่าเป็นขั้วตรงข้ามของนาโตการเดินทางครั้งนี้ยังมีความสำคัญตรงที่เป็นการออกนอกจีนครั้งแรกในรอบเกือบ 1,000 วัน นับตั้งแต่โควิด-19 ระบาดอีกด้วย

ภาพจากสนามบินในเมืองซามาร์คันด์เมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เดินออกมาจากเครื่องบินจีนที่เพิ่งจะเดินทางถึงอุซเบกิสถาน ท่ามกลางการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่

ประธานาธิบดีซัฟคัต มีร์ซโยเยฟ ผู้นำอุซเบกิสถานเดินทางมารับผู้นำจีนด้วยตัวเอง ทั้งคู่เดินบนพรมที่ปูทางไว้ ก่อนจะหยุดชมการแสดงตามวัฒนธรรมอุซเบกิสถานที่นำมาสร้างความประทับใจให้แก่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

จับตา "สี จิ้นผิง" พบ "ปูติน" สัปดาห์นี้

ทูตจีน เผยกำลังเตรียมรองรับ "สี จิ้นผิง"ร่วมเอเปค

ภารกิจเดินทางเยือนอุซเบกิสถานของผู้นำจีนครั้งนี้เพื่อเข้าร่วมประชุม Shanghai Cooperation Organization หรือ SCO การประชุมเพื่อหารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในเอเชียกลาง

จัดขึ้นในวันที่ 15-16 กันยายน ที่เมืองซามาร์คันด์ เมืองใหญ่ของอุซเบกิสถานที่ขึ้นชื่อด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

ด้านชาวเมืองระบุว่า พวกเขาดีใจและตื่นเต้นกันมากที่บรรดาผู้นำจากหลายชาติจะเดินทางมาร่วมประชุมที่ซามาร์คันด์

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เพิ่งจะไปเยือนคาซัคสถาน ประเทศแรกที่ผู้นำจีนเดินทางออกนอกประเทศในรอบเกือบ 1,000 วัน หรือตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2020   จากการระบาดของโควิด-19

ผู้นำจีนได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และเป็นที่น่าสังเกตว่า สี จิ้นผิง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา รวมถึง ประธานาธิบดีคาสซิม โจมาร์ท โตกาเยฟ ผู้นำคาซัคสถานก็สวมหน้ากากอนามัยด้วยเช่นกัน

รายงานข่าวระบุว่า ผู้นำทั้งสองเข้าหารือในประเด็นความร่วมมือทวิภาคี แต่ยังไม่มีรายละเอียดเปิดเผยออกมและในการประชุม SCO ที่จะเกิดขึ้นในวันนี้ ผู้นำคาซัคสถานก็จะเดินทางไปเข้าร่วมด้วยเช่นกัน

SCO เป็นการรวมกลุ่มที่ต่อยอดมาจาก Shanghai Five ในปี 1996 ที่ประกอบด้วย จีน รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กิซสถาน และทาจิกิสถาน

SCO เกิดขึ้นในปี 2001 ระหว่างที่ผู้นำของ 5 ชาติเหล่านี้ประชุมกันเพื่อตั้งกลุ่มความร่วมมือใหม่ โดยมีอุซเบกิสถานเข้าร่วมเพิ่ม ระบุเป้าหมายไว้ว่า เพื่อสร้างความร่วมมือทวิภาคีทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง และในแต่ละปีที่ผ่านไป SCO มีแนวโน้มที่จะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

ปัจจุบันสมาชิกของ SCO ประกอบด้วย จีน รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน อินเดีย ปากีสถาน และอิหร่าน โดยอิหร่านเป็นสมาชิกล่าสุดที่เพิ่งเข้าร่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

นอกจากนั้นยังมีชาติที่ไม่ได้เป็นสมาชิกแต่เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมด้วย เช่น อัฟกานิสถาน มองโกเลีย และเบลารุส เป็นต้น

จากแผนที่จะเห็นว่า ขนาดของการรวมกลุ่มเป็น SCO นั้นมีขนาดมหาศาลทั้งพื้นที่ ผู้คน และเศรษฐกิจ สัดส่วนประชากรของ SCO คิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรโลก ส่วนขนาดเศรษฐกิจก็คิดเป็นร้อยละ 30 ของเศรษฐกิจโลก

SCO จึงถูกเปรียบเทียบว่าเป็นพันธมิตรตะวันออก เป็นขั้วตรงข้ามขององค์การนาโต ที่เต็มไปด้วยสมาชิกชาติตะวันตก เพราะฝ่าย SCO ก็เต็มไปด้วยชาติสมาชิกฝ่ายเอเชียและยูเรเชียเช่นกัน

ภาพที่ผู้คนจับตาคือการพบกับระหว่างประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ในการประชุม SCO ที่อุซเบกิสถาน หลังทั้งคู่พบกันล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว

การพบกันครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนหน้า เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่รัสเซียตึงเครียดกับชาติตะวันตกอย่างถึงขีดสุด จากการบุกยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์

ส่วนจีนเอง ขณะที่ชาติตะวันตกพากันคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย จีนกลับใช้โอกาสนี้ขยายการค้าที่มีกับรัสเซียมากขึ้น

รวมถึงที่ผ่านมาจีนก็ไม่เคยแสดงท่าทีต่อต้านหรือประณามการกระทำของรัสเซีย บ่งชี้ถึงมิตรภาพอันเหนียวแน่นระหว่างสองชาติใหญ่ที่เป็นหัวใจของการประชุม SCO

คอนเทนต์สำหรับคุณ

เนื้อหาคัดสรรคุณภาพ

เนื้อหาสนับสนุน By Bluedot
เนื้อหาสนับสนุน By Bluedot

เหล่านี้จึงนำมาสู่ความคาดหวังว่า ทั้งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน อาจจัดประชุมนอกรอบนอกเหนือจากประเด็นที่อยู่ในวาระของ SCO

นอกจากจีนและรัสเซียแล้วอีกชาติที่ถูกจับตาคือ อินเดีย นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี จะเดินทางไปร่วมประชุมด้วยเช่นกัน ที่ถูกจับตาเพราะบทบาทของอินเดียเองซึ่งมีความขัดแย้งหลายระดับ

ในระดับของ SCO ซึ่งถูกเปรียบว่าเป็นขั้วตรงข้ามของชาติตะวันตก แต่อินเดียซึ่งเป็นสสมาชิกเองนั้นก็ยังเป็นสมาชิกของ Quad ที่ประกอบด้วยสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเพื่อคานอำนาจอิทธิพลจีน

ในประเด็นรัสเซีย อินเดียไม่เคยออกมาประณามรัสเซีย และอินเดียยังมีความขัดแย้งกับจีนต่อปัญหาชายแดนที่ทหารจากทั้งสองฝ่ายเคยปะทะกันจนกลายเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศมาแล้ว

นอกจากนั้นอินเดียเองก็ขัดแย้งกับปากีสถานในเรื่องพรมแดน การประชุม SCO ในปี 2020 อินเดียเคยเดินออกจากที่ประชุมมาแล้ว เพราะไม่พอใจแผนที่ที่ปากีสถานนำมาแสดง เนื่องจากเส้นเขตแดนกินพื้นที่ของอินเดียจึงคาดกันว่า อินเดียน่าจะใช้เวทีนี้ในการคลี่คลายหลายสถานการณ์

ล่าสุด เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ผู้นำจีนและรัสเซียได้พบกันแล้วนอกรอบการประชุม SCO

โดยรายงานระบุว่า ประธานาธิบดีปูตินได้กล่าวยกย่องประธานาธิบดีสีจิ้นผิงถึงการรักษา “จุดยืนที่สมดุล" ต่อกรณีวิกฤตยูเครน พร้อมยืนยันว่ารัสเซียสนับสนุนหลักการจีนเดียว และประณามสหรัฐฯ ที่ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้งในไต้หวัน

ส่วนประธานาธิบดีสีก็บอกว่า จีนต้องการทำงานร่วมกับรัสเซียในการแสดงบทบาทมหาอำนาจและการนำทางให้เกิดเสถียรภาพและเสริมสร้างพลังบวกให้กับโลกที่กำลังเผชิญความปั่นป่วน 

ต้องติดตามกันว่าการประชุมที่จะเกิดขึ้นระห่างวันที่ 15-16 กันยายนนี้ จะมีประเด็นอะไรบ้าง เนื่องจากเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่ปกติจากสถานการณ์โลกซึ่งถูกแบ่งเป็นสองขั้วอำนาจชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ อีกครั้ง แบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็น

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ