สหประชาชาติ ระบุว่า จำนวนประชากรโลกที่คาดว่าจะอยู่ในดับ 8 พันล้านคนในวันนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นผลมาจากอายุขัยที่ยืนยาวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการพัฒนาความเป็นอยู่ขของผู้คนทั้งในด้านสาธารณสุข โภชนาการ การรักษาอนามัยส่วนบุคคล และเวชภัณฑ์
อย่างไรก็ตาม สหประชาชาติ คาดว่า ในอนาคตข้างหน้าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกจะชะลอตัวลง หลังจากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประมาณ 70 ปีก่อน
"ไบเดน" ชี้ต้องไม่มีสงครามเย็น "จีน-สหรัฐฯ" มั่นใจจีนไม่ส่งกำลังทหารบุกไต้หวัน
ยูเอ็นเผย มนุษย์ทำให้ 40% ของผืนดินทั่วโลกอยู่ในภาวะ “เสื่อมโทรม”
โดยประชากรโลกใช้เวลา 12 ปี เพิ่มจำนวนจาก 7 พันล้านคน เป็น 8 พันล้านคน ขณะที่คาดว่าต้องใช้เวลาอีก 15 ปี โลกจึงจะมีประชากรเพิ่มอีก 1 พันล้านคน เป็น 9 พันล้านคนในปี 2037
นอกจากนี้ยังพบว่า ภูมิภาคที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด คือ ประเทศรายได้น้อย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่อยู่ทางทิศใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า หรือ ซับ ซาฮาร่า (Sub-sahara) ในทวีปแอฟริกา ซึ่งสหประชาชาติกังวลว่าประเทศเหล่านี้อาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้
ส่วนประเทศอื่น ที่แม้ประชากรมีอัตราการเพิ่มขึ้นช้ากว่า แต่รายได้ต่อหัวที่เพิ่มมากขึ้นยังเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการผลิตสินค้าหรือบริการที่ขัดต่อหลักการความยั่งยืนเช่นกัน โดยประเทศที่มีประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สประชาชาติยังหวังว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกที่ชะลอตัวลงตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา จะช่วยจำกัดการขยายตัวของความความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในครึ่งหลังของศตวรรษนี้