“นครนิวยอร์ก-สิงคโปร์” เมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกในปี 2022


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผลสำรวจ 172 เมืองทั่วโลกในปี 2022 พบว่า มหานครนิวยอร์ก และสิงคโปร์ ครองแชมป์เมืองที่มีค่าครองชีพแพงสุดในโลก ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นราว 8.1 %

หน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ Economist Intelligence Unit (EIU) ของนิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ เผยแพร่รายงานดัชนีชี้วัดค่าครองชีพสากล ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายนที่ผ่านมา โดยมีการสำรวจเมืองต่างๆ 172 แห่งทั่วโลก และพบว่า นครนิวยอร์ก ของสหรัฐฯ และประเทศสิงคโปร์ ครองตำแหน่งแชมป์ร่วมในฐานะเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก

ขณะที่เมืองเทลอาวีฟ เมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของอิสราเอลที่เคยครองแชมป์ค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกเมื่อปีที่แล้ว ร่วงลงมาอยู่อันดับที่ 3 ในปีนี้

เคลื่อนหีบศพอดีตประธานาธิบดีจีน “เจียง เจ๋อหมิน” ถึงกรุงปักกิ่งแล้ว

“โจ ไบเดน” เปิดทำเนียบขาวต้อนรับ “เอมมานูเอล มาครง” ปธน.ฝรั่งเศส

ส่วนนครลอสแอนเจลิส และฮ่องกงติดอยู่ใน 5 อันดับแรก ขณะที่อับดับ 6 และ 7 คือ เมืองซูริค และนครเจนีวาของสวิตเซอร์แลนด์ ตามด้วยอันดับ 8 คือ ซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ และ อันดับ 9 คือ กรุงปารีสของฝรั่งเศส

ขณะที่กรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก และนครซิดนีย์ของออสเตรเลียอยู่ในอันดับ 10 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีชื่อนครซิดนีย์ติดอับดับท็อปเทนในเมืองที่มีค่าครองชีพสูง

นอกจากนี้ยังมีกรุงมอสโกและนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กของรัสเซียก็อยู่ในกลุ่มเมืองที่มีค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

โดย กรุงมอสโก มีอันดับเพิ่มขึ้นจากปี 2021 ถึง 88 อันดับ และนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 70 อันดับ เนื่องจากต้องเผชิญกับการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก และปัญหาราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้รายงานระบุว่า ค่าเฉลี่ยของค่าครองชีพจากเมืองต่างๆ เพิ่มขึ้นราว 8.1 % เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ส่วนแนวโน้มภาพรวมของค่าครองชีพในเมืองต่างๆ ของทวีปเอเชียยังไม่ค่อยสูงขึ้นมากนัก และมีค่าครองชีพโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 4.5 % ซึ่งแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันไป เพราะขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและกระแสการเงิน

 

คอนเทนต์แนะนำ
ปรับแผน! ขยายสนามบินอู่ตะเภา เป็น 6 เฟส รับการเติบโตของผู้โดยสาร
เรียนรู้เกมพลิกนรก มหัศจรรย์ "ซามูไรบลูส์" ฟุตบอลโลก 2022
ตารางฟุตบอลโลก 2022 วันศุกร์ที่ 2 ธ.ค. ช่องดูบอลสดและอัปเดตผลบอลโลก

 

ด้าน หัวหน้าโครงการวิจัยดังกล่าว ชี้ว่า สงครามในยูเครน การคว่ำบาตรของชาติตะวันตกที่มีต่อรัสเซีย และนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน ทำให้เกิดปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ขณะที่การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย และความเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยน ส่งผลในเกิดวิกฤตค่าครองชีพทั่วโลก และราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้น โดยเฉลี่ย 8.1% ถือเป็นสถานการณ์ที่หนักหนาสาหัสที่สุดในรอบ 20 ปี

นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาอื่นๆ ที่น่าสนใจ โดยพบว่า มีหลายเมืองในหลายประเทศที่มีอันดับลดลงจากปีก่อน เนื่องจากค่าเงินที่อ่อนตัวลง เช่น กรุงโตเกียว ของญี่ปุ่น ร่วงลงไป 24 อันดับ ทำให้กรุงโตเกียวมีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับที่ 37 ของโลก ขณะที่โอซากา ร่วงลงไป 33 อันดับ และถูกจัดเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับที่ 43 ของโลก ส่วนกรุงดามัสกัสเมืองหลวงของซีเรีย และกรุงตริโปลีของลิเบียถูกจัดให้เป็นเมืองที่ค่าครองชีพที่ต่ำที่สุดในโลก

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ