ภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงให้เห็นว่าภูเขาน้ำแข็งขนาดเกือบเท่ากรุงลอนดอน ของอังกฤษ แตกออกจากหิ้งน้ำแข็งบรันท์ ความหนา 150 เมตรในทวีปแอนตาร์กติกา
สถาบันด้านการสำรวจขั้วโลกใต้ของอังกฤษ “บริติช แอนตาร์กติก เซอร์เวย์” (British Antarctic Survey: BAS) หรือ “บีเอเอส” เปิดเผยว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างเวลาประมาณ 2.00 นาฬิกา ถึง 3.00 นาฬิกาของวันจันทร์
กทม. เตือน “PM2.5” ปีนี้รุนแรงขึ้น เฝ้าระวังช่วง 27 ม.ค. และ 1 ก.พ.
จีน เผย ช่วงพีคโควิด - 19 ติดเชื้อ วันเดียว 7 ล้านคน
ตามเวลาในประเทศไทย ระหว่างเกิดปรากฎการณ์ “น้ำเกิด” (spring tide) หรือภาวะน้ำขึ้นลงสูงสุด เมื่อโลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรอยู่ในแนวเดียวกัน
“บริติช แอนตาร์กติก เซอร์เวย์” ระบุว่า หิ้งน้ำแข็งบรันท์เกิดรอยแยกแตกร้าวตามธรรมชาติมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว ก่อนที่รอยแยกจะขยายตัวไปทั่วบริเวณ และทำให้ภูเขาน้ำแข็งลูกใหม่แตกออก
นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า เหตุการณ์นี้ถือเป็นครั้งที่ 2 แล้วที่ภูเขาน้ำแข็งแตกออกจากหิ้งน้ำแข็งบรันท์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ ภูเขาน้ำแข็งที่มีขนาดเล็กกว่าภูเขาน้ำแข็งลูกนี้เล็กน้อย เพิ่งจะแตกออกจากหิ้งน้ำแข็งบรันท์ และถูกพัดลอยออกไปในทะเลเวดเดลล์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2021 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ “บริติช แอนตาร์กติก เซอร์เวย์” ตรวจพบรอยแยกและรอยแตกร้าวของหิ้งน้ำแข็งบรันท์เป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อนแล้วและตั้งแต่ปี 2017 ที่ผ่านมา หน่วยงานได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำการบนหิ้งน้ำแข็งแห่งนี้ในช่วงฤดูร้อนของทวีปแอนตาร์กติกาในขั้วโลกใต้ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม เพื่อติดตามและเฝ้าสังเกตการณ์หิ้งน้ำแข็งบรันท์แห่งนี้