สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ผลการศึกษาดังกล่าว ซึ่งดำเนินการโดยนักวิจัย จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ (UMSOM) ถูกตีพิมพ์บน วารสาร Radiology เมื่อวันอังคาร (4 เมษายน 2566) ที่ผ่านมา
โดยผลการค้นพบระบุว่า ChatGPT มีศักยภาพที่ดีในการช่วยปรับปรุงข้อมูลการป้องกัน และคัดกรองมะเร็งเต้านม
ทั้งนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นักวิจัยได้สร้างชุดคำถามทั่วไป 25 ข้อเกี่ยวกับการป้องกัน และคัดกรองมะเร็งเต้านม จากนั้นก็โยนคำถามเดียวกันให้กับ ChatGPT ตอบ 3 ครั้ง
สหราชอาณาจักรสั่งปรับ “TikTok” 500 กว่าล้านบาท
ครั้งแรก! “APPLE” ประกาศเลย์ออฟพนักงาน ปรับแผนธุรกิจ
ซึ่งผลการศึกษาพบว่า เจ้า ChatGPT ตอบคำถามได้เหมาะสม 22 ข้อจากทั้งหมด 25 ข้อ โดยคำตอบข้อหนึ่งมาจากข้อมูลที่ล้าสมัย และอีกสองข้อเป็นคำตอบที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะเมื่อโยนคำถามเดียวกันไปสามครั้งพบว่า เจ้า ChatGPT ตอบไม่ตรงกันสักครั้ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. Paul Yi อาจารย์ด้านรังสีวินิจฉัย และเวชศาสตร์นิวเคลียร์แห่ง UMSOM กล่าวว่า ทีมนักวิจัยพบว่า ChatGPT ตอบคำถามได้ถูกต้องประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด ซึ่งค่อนข้างน่าทึ่งอย่างมาก และโดยรวมแล้ว ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ChatGPT มีศักยภาพที่ดีในการจัดเตรียมข้อมูลการศึกษาของผู้ป่วยเกี่ยวกับการป้องกันและคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยอัตโนมัติ แม้ว่าจะมีส่วนที่ยังต้องปรับปรุงอยู่ก็ตาม
นอกจากนี้ยังพบว่า เจ้า ChatGPT ยังสรุปข้อมูลในรูปแบบที่ย่อยง่ายเพื่อให้ผู้คนเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ดร. Paul Yi ชี้ว่า ยังมีบางครั้งที่ ChatGPT สร้างบทความในวารสารปลอม หรือตอบคำถามไม่ถูกต้อง ซึ่งตรงนี้ ผู้คนควรตระหนักว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ และควรพึ่งพาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำมากกว่า ChatGPT