อาสาสมัครทั้ง 4 คน ที่จะรับหน้าที่เข้าไปใช้ชีวิตในห้องจำลองสภาพจริงบนดาวอังคาร ได้แก่ เคลลี แฮสตัน นักวิจัย, รอสส์ บร็อกเวลล์ วิศวกรโครงสร้าง, เนธัน โจนส์ แพทย์จากหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน, รวมถึงแองคา เซลารีอู นักจุลชีววิทยาจากกองทัพเรือสหรัฐฯ
ภารกิจนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาและจำลองชีวิตบนดาวอังคารของนาซา ซึ่งจะกินเวลาทั้งสิ้น 3 ปี
เกรซ ดักลาส หัวหน้าคณะวิจัยประจำภารกิจ กล่าวในงานแถลงข่าวว่า ความรู้ที่ได้จากภารกิจนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งมนุษย์ไปดาวอังคารและนำกลับมายังโลกอย่างปลอดภัย
สำหรับพื้นที่ดาวอังคารจำลองนี้ มีชื่อว่า มาร์ส ดูน อัลฟา (Mars Dune Alpha) มีพื้นที่ใช้สอย 1,700 ตารางฟุต แบ่งเป็นห้องครัว พื้นที่ส่วนตัวของลูกเรือ ห้องน้ำ 2 ห้อง และยังมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับการรักษาพยาบาล การทำงาน และพักผ่อนหย่อนใจ ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ
จะไปให้ถึงดาวอังคาร! นาซาเตรียมทดสอบ “จรวดพลังนิวเคลียร์”
หลักฐานเคยมีแหล่งน้ำ ยานสำรวจนาซา พบ “โอปอล” บนดาวอังคาร
ครั้งแรก! จีนเผยแพร่ภาพสีดาวอังคารทั้งดวงที่ถ่ายเอง
อาสาสมัครทั้งหมดจะต้องปฏิบัติภารกิจเสมือนอยู่บนดาวอังคารจริง ๆ โดยจะต้องเก็บตัวอย่างทางธรณีวิทยา ควบคู่ไปกับการทำภารกิจส่วนตัว เช่น ออกกำลังกาย ดูแลรักษาความสะอาด และตรวจสุขภาพ โดยจะลดการติดต่อพูดคุยกับครอบครัวและคนที่รักให้น้อยที่สุด และเพื่อให้การจำลองสมจริง ทีมงานจะต้องเผชิญอุปสรรคทางสภาพแวดล้อม ทั้งทรัพยากรที่มีจำกัด ต้องอยู่โดดเดี่ยวนาน ๆ และเผชิญกับปัญหาเครื่องยนต์หรือระบบขัดข้อง
ข้อแตกต่างเดียวที่่ดาวอังคารจำลองไม่สามารถทำได้ คือ สภาพแรงโน้มถ่วงของดาวอังคาร ซึ่งจะน้อยกว่าแรงโน้มถ่วงโลกประมาณ 38%
ภาพจาก AFP