“พิษ” ของหนอนผีเสื้อกลางคืนขนฟู อาจมีประโยชน์ในการรักษาโรค


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิจัยพบ พิษของหนอนผีเสื้อกลางคืนขนฟู อาจเป็นตัวช่วยสำคัญในการลำเลียงตัวยาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็ง

หลายคนอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ยาที่ใช้ผิดวิธี สามารถฆ่าคนได้ พิษที่ใช้ถูกวิธี ก็สามารถช่วยชีวิตคนได้” ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคืองานวิจัยล่าสุดของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ที่ค้นพบว่า “พิษของหนอนผีเสื้อกลางคืนขนฟู  (Megalopyge opercularis) อาจมีคุณสมบัติสำคัญที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการลำเลียงยารักษาโรคได้”

หนอนผีเสื้อกลางคืนขนฟู เป็นหนอนที่มีถิ่นที่อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ และมักจะพบได้ในต้นโอ๊กหรือต้นเอล์ม ลักษณะภายนอกเป็นหนอนที่คลุมร่างกายด้วยขนยาวคล้ายแปรง

คอนเทนต์แนะนำ
ด่วน! กกต.เชือด "พิธา" มีมติส่งศาล รธน.ฟันพ้น ส.ส.เหตุถือหุ้น ITV
ว่อนโซเชียล! แชตหลุดในกลุ่ม ส.ว. "แจกกล้วย" แลกไม่โหวต "พิธา"
สภาพอากาศ 12 ก.ค. 66 ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กทม.-ปริมณฑล ฝนตก 40 %

 

แม้ดูไม่มีพิษมีภัย แต่ภายใต้ขนที่สวยงาม (หรือบางคนอาจบอกว่าน่าขยะแขยง) ความจริงแล้วมี “เงี่ยงพิษ” ซ่อนอยู่ หากสัมผัสเจ้าหนอนชนิดนี้โดยไม่ระวัง อาจถูกเงี่ยงพิษตำ และทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนจากพิษร้ายแรงได้ โดยเหยื่อส่วนใหญ่จะต้องนำส่งโรงพยาบาล

พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ “สะท้อนแสงมากที่สุด” ไม่ต่างจากกระจก

อังกฤษพบ “ขวานโบราณยุคน้ำแข็ง” คาดอายุราว 300,000 ปี

นักดาราศาสตร์พบหนึ่งในข้อพิสูจน์ จักรวาลสามารถ “ขยายขนาดเวลา” ได้

แต่ทีมวิจัยที่นำโดย ดร.แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ และศาสตราจารย์ เกล็นน์ คิง จากสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ได้ทำการศึกษาพบว่า สารในพิษของหนอนฝีเสื้อกลางคืนขนฟู มีความสามารถในการ “เจาะรูในเซลล์” แบบเดียวกับสารพิษที่ผลิตโดยแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค เช่น อีโคไล (E. coli) และแซลโมเนลลา (Salmonella)

ดร.วอล์กเกอร์กล่าวว่า “เรารู้สึกประหลาดใจที่พบว่า พิษของหนอนผีเสื้อกลางคืนขนฟูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่เราเคยเห็นในแมลงชนิดอื่น เมื่อเราศึกษาอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เราเห็นโปรตีนที่คล้ายกับสารพิษจากแบคทีเรียบางชนิดที่ทำให้คุณป่วย”

สารพิษนี้จะจับตัวกับพื้นผิวของเซลล์และรวมตัวกันเป็นโครงสร้างคล้ายโดนัทที่ก่อตัวเป็นรู

ดร. วอล์กเกอร์กล่าวว่า “มันคล้ายกับกลไกของพิษของแมงกะพรุนกล่อง และอย่างที่เราพบในตอนนี้ พิษในหนอนผีเสื้อเหล่านี้วิวัฒนาการผ่านการถ่ายโอนยีนจากแบคทีเรียเมื่อกว่า 400 ล้านปีที่แล้ว”

พวกเขาจึงเชื่อว่า พิษที่สามารถเจาะรูในเซลล์น่าจะมีประสิทธิภาพในการลำเลียงยา เพราะพวกมันสามารถเข้าไปข้างในเซลล์ได้

“สารพิษที่เจาะรูในเซลล์มีศักยภาพพิเศษในการลำเลียงยา เนื่องจากความสามารถในการเข้าสู่เซลล์ อาจมีวิธีการในการออกแบบโมเลกุลเพื่อกำหนดเป้าหมายยาที่มีประโยชน์ไปยังเซลล์ที่มีสุขภาพดี หรือเพื่อเลือกฆ่าเซลล์มะเร็ง” ดร.วอล์กเกอร์กล่าว

เขาเสริมว่า “หนอนผีเสื้อหลายตัวได้พัฒนาการป้องกันที่ซับซ้อนจากผู้ล่า รวมทั้งพิษไซยาไนด์และกาวพิเศษ ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างรุนแรง และเราสนใจที่จะเข้าใจว่าพวกมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ... พิษเป็นแหล่งของโมเลกุลใหม่มากมายที่สามารถพัฒนาเป็นยาในอนาคต ยาฆ่าแมลง หรือใช้เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับพิษของงูและแมงมุมได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันน่าทึ่งของพวกมันแล้ว แต่พิษของหนอนผีเสื้อยังขาดการศึกษาเป็นพิเศษ”

 

อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่

เรียบเรียงจาก Phys.org

ภาพจาก AFP

คอนเทนต์แนะนำ
ประมูลโครงการทางยกระดับฯ เสนอราคาเจ้าเดียว-ต่ำกว่าราคากลาง 5 แสน
จับ “โอลาฟ” ผู้ต้องหาคดีฆ่าหั่นศพ หลังหนีซุกคลับในกรุงเทพ
ปากเบี้ยว ตาตก! สัญญาณ “โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก” อันตรายของคนพักผ่อนน้อย

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ