วิจัยเผย มลพิษทางอากาศอาจทำให้เชื้อโรคดื้อยามากขึ้น

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ปัญหาเชื้อโรคดื้อยานับวันจะเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ซึ่งนักวิจัยพบว่าอาจมีอีกหนึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้ นั่นก็คือ มลพิษทางอากาศ

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet Planetary Health เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (7 ส.ค.) พบความเชื่อมโยงระหว่าง "มลพิษทางอากาศ" กับ "ปัญหาเชื้อโรคดื้อยา" ที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกัน

นักวิจัยได้สร้างโมเดลที่ศึกษาระดับ PM2.5 และระดับการดื้อยาของเชื้อโรคใน 166 ประเทศ โดยตรวจพบความสัมพันธ์กันระหว่างระดับ PM2.5 ที่สูงกับระดับการดื้อยาที่สูง และยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป กล่าวคือ หากระดับมลพิษเพิ่มขึ้น ระดับการดื้อยาก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

“ฌาปนกิจศพด้วยน้ำ” ทางเลือกใหม่ในการลดมลพิษจากการเผาศพ

มลพิษพลาสติกทั่วโลก ลดลงได้ถึง 80% ในปี 2040

วิจัยใหม่พบ แทบไม่มีที่ใดในโลก ปลอดภัยจากมลพิษอากาศ

การดื้อยาของเชื้อโรคเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก ที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่น่าตกใจและทำให้มีผู้เสียชีวิตแต่ละปีราว 7 แสนคน โดยองค์การสหประชาชาติระบุว่า การดื้อยาของเชื้อโรคเป็นภัยคุกคามสุขภาพและความปลอดภัยของคนทั้งโลกอย่างแท้จริง

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การดื้อยาส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการจ่ายยาเกินความจำเป็นหรือการใช้ยาไม่ถูกต้อง การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ไม่ดี การใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์มากเกินไป รวมถึงสุขอนามัยที่ไม่ดี แต่จะบอกว่าการกระทำเหล่านี้เป็นสาเหตุของปัญหาทั้งหมดก็ไม่ได้

โมเดลในงานวิจัยใหม่นี้แสดงให้เห็นว่า มลพิษจากอนุภาคฝุ่นละอองเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงในค่าเฉลี่ยการดื้อยาทั่วโลก 11 เปอร์เซ็นต์

งานวิจัยยังพบว่า การเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศทุกๆ 1 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้การดื้อยาเพิ่มขึ้นระหว่าง 0.5-1.9 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเชื้อโรคอะไร

หนึ่งในคำอธิบายที่เป็นไปได้คือ มลพิษจากอนุภาคฝุ่นละอองอาจช่วยแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา โดยก่อนหน้านี้เคยมีงานศึกษาที่ชี้ว่า อนุภาคฝุ่นละอองสามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานที่พาเชื้อแบคทีเรียไปด้วยได้

ยืนดื้อยามักจะถูกพบในจุลชีพในอากาศในพื้นที่ที่ปกติจะพบยาปฏิชีวนะ เช่น โรงพยาบาล โรงงานบำบัดน้ำเสีย และฟาร์ม แต่ก็พบในที่ที่ไม่คาดคิดเช่นกัน

โดยงานศึกษาเมื่อปี 2018 พบยีนดื้อยาในอากาศใกล้สวนสาธารณะของเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนีย และจำนวนของพวกมันเพิ่มขึ้นในวันที่มีหมอกพิษสูง

อีกคำอธิบายที่เป็นไปได้คือ มลพิษอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเองมีการเปลี่ยนแปลงและดื้อยา งานศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า เมื่อมลพิษจากอนุภาคฝุ่นละอองกับแบคทีเรียมาเจอกัน แบคทีเรียจะมีความรุนแรงขึ้น

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยระบุว่า งานวิจัยของพวกเขายังต้องมีการพิสูจน์ต่อไป แต่หากการวิเคราะห์นี้ถูกต้อง และมลพิษจากอนุภาคฝุ่นละอองยังอยู่ในระดับนี้ต่อไป ระดับการดื้อยาของเชื้อโรคทั่วโลกในปี 2050 จะสูงขึ้น 17 เปอร์เซ็นต์จากปัจจุบัน ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะไม่มาก แต่นั่นหมายความว่า ผู้คนอีก 840,000 คน อาจเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคที่ใช้ยาชีวปฏิชีวนะรักษาไม่ได้

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ