ท่าทีอาเซียน ปะทะหรือเลือกข้าง ในวันที่สหรัฐฯ-จีนแข่งขันกัน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

อาเซียนควรทำอย่างไร? ในวันที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกเป็นเป้าหมายที่ 2 ชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีนต่างก็หมายมั่นสร้างอิทธิพลให้เหนือกว่า

ภาพการพบปะกันเป็นครั้งแรกในรอบปีของ 2 ผู้นำชาติมหาอำนาจ ระหว่างสหรัฐฯ และจีน เมื่อกลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ถ้าใช้ภาษาแบบคนในวงการบันเทิง คงเรียกว่าสยบข่าวเกาเหลา เพราะความสัมพันธ์ทั้ง 2 ชาตินั้นช่วงระยะหลังตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในขณะที่หลากหลายประเด็นที่เป็นเหตุทำให้ชาติมหาอำนาจต่างแข่งขันกันไม่หยุดหย่อน หนึ่งในนั้นคือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตกเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่ทั้ง 2 ชาติต่างก็หมายมั่นสร้างอิทธิพลให้เหนือกว่า ทั้งในมิติความมั่นคง และเศรษฐกิจ

กลุ่มสิทธิมนุษยชนแฉ ทางการจีนสั่งปิด-รื้อถอนมัสยิดนับพันแห่ง

กัมพูชาเปิดสนามบินแห่งใหม่ ด้วยทุนสนับสนุนจากจีน

สหรัฐฯ-จีน ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางทหารสำเร็จ เปิดช่องทางต่อสายฉุกเฉิน

นี่คือการพบกันเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปีระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐ และประธานาธิบดีสี จิ้น ผิงของจีน โดยประธานาธิบดีสีได้เดินทางเยือนสหรัฐเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 ปีเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ เอเปค ที่จัดขึ้นที่ชานเมืองนครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ภาพและคลิปที่ทั่วโลกได้เห็นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศตกต่ำลงถึงขีดสุด

สหรัฐ-จีน แข่งสร้างอิทธิพลในอาเซียน

ความสัมพันธ์ที่เปรียบเสมือนเสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันลำบาก จึงมักต้องพยายามแข่งขันเสริมสร้างอิทธิพลอยู่เสมอ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้ก่อตั้งสมาคมอาเซียนขึ้นมา ก็นับว่าเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างเข้ามาแข่งขันสร้างอิทธิพลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากอ้างอิงตามบทวิเคราะห์ของนักวิชาการหลายคนลงความเห็นว่าทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างก็ไม่ใช่หุ้นส่วนกันโดยพื้นฐานธรรมชาติ แต่ก็ไม่เชิงเป็นศัตรูกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขณะที่ทางสหรัฐฯ เองยอมรับว่าจีนนั้นมีข้อได้เปรียบด้วยจุดที่ตั้งที่ใกล้กับประเทศในแถบอาเซียน จึงทำให้การขยายอิทธิพลของจีนไม่ได้ยากลำบากสักเท่าไหร่นัก ดังจะเห็นได้จากการสร้างสัมพันธ์ผ่านโครงการ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ด้วยการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงในอินโดนีเซีย หรือแม้แต่การให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ยืมเงินกว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

แต่กระนั้นความได้เปรียบนี้ก็นำพามาซึ่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างจีนกับบางประเทศในอาเซียนต่อประเด็นข้อพิพาทอ้างกรรมสิทธ์กันในทะเลจีนใต้ที่คาราคาซังมานานหลายปีและยังคงดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าทางสหรัฐเองก็ได้ใช้ข้อพิพาทนี้แสดงจุดยืนอยู่เคียงข้างประเทศในอาเซียน โดยนโยบายต่างประเทศที่เห็นเด่นชัดอย่างมากในรัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน คือกลยุทธ์อินโด-แปซิฟิก ย้อนกลับไปเมื่อมิถุนายนปี 2022 รัฐบาลวอชิงตันได้จัดการประชุม US-ASEAN Summit ขึ้นเป็นครั้งแรกหลังการระบาดของโควิด-19 ผ่านพ้นช่วงพีคไป โดยประธานาธิบดีไบเดนได้เปิดทำเนียบขาวต้อนรับเหล่าผู้นำในประเทศสมาชิกอาเซียน ประเด็นที่มีการหารือและถูกยกระดับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ นั้นก็คือการพยายามรักษาความมั่นคงทางทะเลและเสริมสร้างความร่วมมือให้เป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ หรือ South China Sea Code of Conduct

อย่างไรก็ตาม ฝั่งจีนนั้นได้แสดงความคิดเห็นต่อแนวทางปฏิบัติในทะเลจีนใต้นี้ว่าอยากให้เป็นประเด็นที่จำกัดวงเฉพาะระหว่างอาเซียนและจีนเท่านั้น และขอให้อาเซียนอย่าเปิดช่องให้มือที่สามเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง

อาเซียนควรทำอย่างไร ท่ามกลางมหาอำนาจแข่งขันกัน?

ท่ามกลางชาติมหาอำนาจที่แข่งขันกันในภูมิภาคอาเซียน จนเกิดเป็นคำถามว่าแล้วอาเซียนควรจะวางตัวอย่างไร เลือกข้างใดข้างหนึ่ง แล้วเผชิญหน้าชนกับจีนไปเลยดีหรือไม่

ซึ่งนุ่มนิ่ม ตรีชฎา ได้มีโอกาสพบกับสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐอิลลินอยส์ แทมมี ดักเวิร์ธ ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในคณะทำงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอาเซียน โดยช่วงระหว่างการพูดคุย ไม่อนุญาตให้บันทึกคลิป แต่มีเสียงสัมภาษณ์จากประเด็นคำถามที่ถามว่าอาเซียนควรเผชิญหน้ากับจีนหรือไม่ในเวลานี้ ซึ่งทางส.ว. ดักเวิร์ธได้แสดงความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วย แต่แนะนำว่าอาเซียนควรจะรวมเป็นหนึ่ง และให้ความสำคัญกับเสรีภาพในการเดินเรือและน่านน้ำอาณาเขตของตัวเอง

“ฉันไม่ต้องการให้อาเซียนเผชิญหน้ากับจีน นั่นไม่ใช่สิ่งที่ฉันให้ความสนใจ แต่สิ่งที่ฉันสนใจก็คือทางเลือกอื่นที่ควรมีกับจีนมากกว่า อย่างการร่วมกันสนับสนุนวิถีทางสากล อย่างเช่น น่านน้ำอาณาเขต เสรีภาพในการเดินเรือ การทำความเข้าใจและสนับสนุนสิทธิมนุษยชน นี่คือสิ่งที่ฉันให้ความสนใจ ฉันคิดว่าอาเซียนในฐานะกลุ่มประเทศควรจะรวมกันเป็นหนึ่ง และเสริมสร้าง สนับสนุน วิถีปฏิบัติตามหลักสากล” ดักเวิร์ธกล่าว

อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตกเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่ทั้ง 2 ชาติต่างก็หมายมั่นสร้างอิทธิพลให้เหนือกว่า ทั้งในมิติด้านความมั่นคง และเศรษฐกิจ แต่ทว่าเมื่อมองออกมาให้ไกลขึ้น อาเซียนเองก็ถูกครหาว่ายังคงอ่อนแอในเรื่องของความเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งตามการรายงานข่าวที่ผ่านมาจากความเคลื่อนไหวของแต่ละประเทศในอาเซียน

เช่น นิกเกอิ เอเชีย กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย ที่มีต่อประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ของจีน

หรือเดอะ การ์เดียน ที่รายงานว่าเมื่อกุมภาพันธ์ ปี 2023 ฟิลิปปินส์เพิ่งจะอนุญาตให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพเพิ่มอีก 4 แห่ง รวมเป็น 9 แห่ง เพื่อรับมือกับการแผ่ขยายอิทธิพลของจีน ซึ่งถ้าหากยึดตามหลักผลประโยชน์ของแต่ละประเทศก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าบางประเทศก็อาจเลือกข้างใดข้างหนึ่งไปแล้วในบางบริบทที่จำเป็น หากแต่ตราบใดที่ยังคงดำรงตัวเป็นผู้เล่นคนสำคัญในภูมิภาคนี้ การคำนึงถึงประชาชนก็คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามอย่างแน่นอน

 

ภาพจาก Brendan SMIALOWSKI / AFP

รัฐบาลเมียนมา ระดมทหารนับหมื่นป้องกันเมืองหลวง

ครม.ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 10% ชั้นผู้น้อยสตาร์ท 18,000 บาท

เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวด 1 ธันวาคม

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ