ตระการตา! ภาพกาแล็กซีก้นหอย 19 แห่งจาก “เจมส์ เว็บบ์”

โดย PPTV Online

เผยแพร่

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ ปล่อยภาพชุดใหม่ เป็นกาแล็กซีก้นหอย 19 แห่งที่มีทั้งความสวยงามและคุณค่าทางวิทยาศาสตร์

เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) ขององค์การนาซา ได้เผยแพร่ภาพชุดใหม่ ที่แสดงรายละเอียดอันน่าทึ่งของกาแล็กซีก้นหอย 19 แห่งที่อยู่ค่อนข้างใกล้กับทางช้างเผือกของเรา ให้เบาะแสใหม่ ๆ เกี่ยวกับการกำเนิดดาว ตลอดจนโครงสร้างและวิวัฒนาการของกาแล็กซี

ภาพดังกล่าวได้รับการเผยแพร่โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่เรียกว่า ฟิสิกส์ความละเอียดสูงเชิงมุมในกาแล็กซีใกล้เคียง (PHANGS) ซึ่งปฏิบัติการในหอดูดาวทางดาราศาสตร์ที่สำคัญหลายแห่ง

คิดเห็นอย่างไร? เมื่ออาจจะมีธุรกิจ “นำเถ้าอัฐิไปฝังบนดวงจันทร์”

นาซาปิดฉากภารกิจ “Ingenuity” เฮลิคอปเตอร์จิ๋วสำรวจดาวอังคาร

กล้อง “เจมส์ เว็บบ์” เผยภาพ “เนบิวลา N79” โรงงานผลิตดาวฤกษ์

ภาพกาแล็กซีก้นหอย 19 แห่งจาก เจมส์ เว็บบ์ NASA, ESA, CSA, STScI, Janice Lee (STScI), Thomas Williams (Oxford), PHANGS Team, Elizabeth Wheatley (STScI).
กาแล็กซีก้นหอย 19 แห่งที่ถ่ายโดย เจมส์ เว็บบ์

ใน 19 กาแล็กซีนี้ กาแล็กซีที่ใกล้กับเราที่สุดคือ NGC5068 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 15 ล้านปีแสง และกาแล็กซีที่อยู่ห่างไกลที่สุดคือ NGC1365 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง

กาแล็กซีก้นหอยมีลักษณะคล้ายก้อนหอยหรือกังหันขนาดมหึมา เป็นกาแล็กซีที่พบได้ทั่วไป รวมถึงทางช้างเผือกของเราเองก็เป็นหนึ่งในกาแล็กซีก้นหอย

ภาพกาแล็กซีก้นหอยทั้ง 19 แห่งจากกล้องอินฟราเรดระยะใกล้ (NIRCam) ของเว็บบ์และกล้องอินฟราเรดระยะกลาง (MIRI) แสดงกระจุกดาวประมาณ 100,000 กระจุก และดาวฤกษ์หลายล้านหรืออาจเป็นพันล้านดวง

โดย NIRCam ของเว็บบ์จับภาพดวงดาวหลายล้านดวงในภาพเหล่านี้ ซึ่งส่องแสงเป็นโทนสีน้ำเงิน ดาวฤกษ์บางดวงแผ่กระจายไปทั่วแขนกังหัน แต่บางดวงก็จับกลุ่มกันแน่นเป็นกระจุกดาว

ส่วนข้อมูลจาก MIRI ขับเน้นฝุ่นจนเหมือนเรืองแสง ซึ่งแสดงให้เราเห็นว่า ฝุ่นอยู่ที่ไหนบ้างรอบ ๆ และระหว่างดวงดาว นอกจากนี้ยังขับเน้นดาวฤกษ์ที่ยังไม่ก่อตัวเต็มที่ ซึ่งยังคงถูกห่อหุ้มอยู่ในก๊าซและฝุ่นที่หล่อเลี้ยงการเจริญเติบโตของพวกมัน

เจนิซ ลี นักดาราศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์โครงการ PHANGS กล่าวว่า “ภาพใหม่ของเว็บบ์นั้นไม่ธรรมดา ... พวกมันน่าทึ่งมากแม้แต่กับนักวิจัยที่ศึกษากาแล็กซีเดียวกันนี้มานานหลายทศวรรษแล้ว สามารถมองเห็นฟองอากาศและเส้นใยได้จนถึงขนาดที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยพบเห็น และบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวงจรการก่อตัวดาวฤกษ์”

โทมัส วิลเลียมส์ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งเป็นผู้นำการประมวลผลข้อมูลของทีมเกี่ยวกับภาพชุดดังกล่าว กล่าวว่า “ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญ เนื่องจากทำให้เรามีมุมมองใหม่เกี่ยวกับระยะแรกสุดของการก่อตัวดาวฤกษ์”

เจมส์ เว็บบ์ ถ่ายภาพกาแล็กซีก้นหอย 19 แห่ง NASA, ESA, CSA, STScI, Janice Lee (STScI), Thomas Williams (Oxford), and the PHANGS team
กาแล็กซีก้นหอย NGC 628

เขาเสริมว่า “ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นลึกภายในเมฆฝุ่นซึ่งสามารถปิดกั้นแสงในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้อย่างสมบูรณ์ ... แต่เมฆฝุ่นเหล่านี้กลับสว่างขึ้นที่ความยาวคลื่นของเว็บบ์ เราไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับช่วงระยะนี้ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า จริง ๆ แล้วมันจะคงอยู่ได้นานแค่ไหน ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจว่าดาวฤกษ์ในกาแล็กซีมีจุดเริ่มต้นอย่างไร”

กาแล็กซีก้นหอยประมาณครึ่งหนึ่งมีโครงสร้างหนึ่งเป็นแท่งตรง คล้ายแท่งก๊าซก๊าซ ซึ่งออกมาจากใจกลางกาแล็กซี

หลักฐานยังแสดงให้เห็นว่า กาแล็กซีเติบโตจากภายในสู่ภายนอก การก่อตัวดาวเริ่มต้นที่แกนกลางของกาแล็กซีและแผ่ไปตามแขนของพวกมัน และหมุนวนออกไปจากใจกลาง ยิ่งดาวฤกษ์อยู่ห่างจากแกนกลางกาแล็กซีมากเท่าใด ก็มีแนวโน้มว่าดาวฤกษ์จะมีอายุน้อยกว่ามากเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม พื้นที่ใกล้แกนกลางที่สว่างด้วยสปอตไลต์สีน้ำเงินคือกลุ่มดาวฤกษ์ที่มีอายุมากที่สุด

วิลเลียมส์บอกว่า “กาแล็กซีก่อตัวจากภายในสู่ภายนอก และมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดอายุขัย แขนกังหันทำหน้าที่กวาดก๊าซที่จะก่อตัวเป็นดาวฤกษ์ และแท่งก๊าซจะทำหน้าที่ดึงก๊าซเดียวกันนั้นไปยังหลุมดำใจกลางกาแล็กซี”

ภาพเหล่านี้ยังทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแก้ไขความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของเมฆฝุ่นและก๊าซที่ก่อตัวขึ้นเป็นดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ได้

เจนิซ ลี นักดาราศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์โครงการ PHANGS กล่าวว่า “ภาพเหล่านี้ไม่เพียงแต่สวยงามน่าทึ่งเท่านั้น แต่ยังบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวัฏจักรของการกำเนิดดาว รวมถึงกระบวนการที่พลังงานและโมเมนตัมที่ดาวอายุน้อยปล่อยออกมาสู่อวกาศ”

เอริค โรโซโลวสกี นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตากล่าวว่า “เมื่อใช้กล้องฮับเบิล เราจะเห็นแสงดาวจากกาแล็กซี แต่แสงบางส่วนถูกบดบังด้วยเมฆฝุ่น” ข้อจำกัดนี้ทำให้ยากที่จะเข้าใจบางส่วนของกระบวนการต่าง ๆ ของกาแล็กซี “แต่ด้วยเว็บบ์ที่ถ่ายภาพในช่วงอินฟราเรด เราจึงสามารถมองผ่านเมฆฝุ่นนี้เพื่อดูดาวที่ซ่อนอยู่ด้านหลังและภายในเมฆฝุ่น”

เจมส์ เว็บบ์ ถ่ายภาพกาแล็กซีก้นหอย 19 แห่งที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือก NASA, ESA, CSA, STScI, Janice Lee (STScI), Thomas Williams (Oxford), and the PHANGS team
กาแล็กซีก้นหอย NGC 1512

เจมส์ เว็บบ์ ถ่ายภาพกาแล็กซีก้นหอย NASA, ESA, CSA, STScI, Janice Lee (STScI), Thomas Williams (Oxford), and the PHANGS team
กาแล็กซีก้นหอย NGC 2835

ภาพกาแล็กซีก้นหอยโดย เจมส์ เว็บบ์ NASA, ESA, CSA, STScI, Janice Lee (STScI), Thomas Williams (Oxford), and the PHANGS team
กาแล็กซีก้นหอย NGC 1087

ภาพกาแล็กซีก้นหอยจาก เจมส์ เว็บบ์ NASA, ESA, CSA, STScI, Janice Lee (STScI), Thomas Williams (Oxford), and the PHANGS team
กาแล็กซีก้นหอย NGC 1672

กาแล็กซีก้นหอย NASA, ESA, CSA, STScI, Janice Lee (STScI), Thomas Williams (Oxford), and the PHANGS team
กาแล็กซีก้นหอย NGC 1566

 

เรียบเรียงจาก NASA / Reuters

ขยายผล! เจออีกเคส "แก๊งศรีสุวรรณ" ตบทรัพย์เรียกเงิน 100 ล้าน?

ออปต้า ทำนายผลแข่ง ทีมชาติไทย พบ อุซเบกิสถาน รอบ 16 ทีม เอเชียน คัพ

“แบม ไพลิน” เปิดใจสละตำแหน่งมิสแกรนด์ระนอง ยอมรับกำลังตั้งท้อง

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ