“คีเลาเวอา” (Kilauea) คือชื่อของหนึ่งในภูเขาไฟที่เกิดการปะทุบ่อยที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนเกาะใหญ่ (Big Island) ของหมู่เกาะฮาวาย สหรัฐฯ ซึ่งล่าสุดลาวาสีแดงและก๊าซภูเขาไฟเริ่มปะทุขึ้นจากปล่องภูเขาไฟแห่งนี้อีกครั้ง
หอสังเกตการณ์ภูเขาไฟฮาวายรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. เวลาประมาณ 02.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (19.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) พบกิจกรรมแผ่นดินไหว และราวครึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น ลาวาก็เริ่มพวยพุ่งขึ้นมาจากรอยแยกในปล่องภูเขาไฟคีเลาเวอา
ประกาศจำกัดความเร็วรถ 60 กม./ชม. ถนนทุกสายใน กทม. ยกเว้น 13 เส้นทาง
“วันคริสต์มาสอีฟ” คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับ “วันคริสต์มาส”
เคว้ง! แรงงานนับพันคน ถูกเลิกจ้างรับปีใหม่-แถมนายจ้างเบี้ยวเงินชดเชย
การปะทุครั้งนี้เกิดขึ้นเฉพาะที่บริเวณปล่องภูเขาไฟบนพื้นที่ปิดอันห่างไกลของอุทยานแห่งชาติภูเขาไฟฮาวาย
การถ่ายทอดสดการปะทุของภูเขาไฟซึ่งออกอากาศโดยสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ (USGS) แสดงให้เห็นลาวาร้อนแดงพุ่งขึ้นมาที่ความสูงสูงสุด 80 เมตร ตามด้วยกลุ่มก๊าซและเถ้าภูเขาไฟที่พวยพุ่งขึ้นมาถึงแนวเมฆ
เคน ฮอน นักวิทยาศาสตร์ผู้รับผิดชอบหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟฮาวาย กล่าวว่า “ลาวาไหลออกมาอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของการปะทุเหล่านี้”
ภัยคุกคามที่ใกล้ตัวที่สุดมาจากหมอกควันจากภูเขาไฟที่อาจเข้าถึงบ้านเรือนที่อยู่ใต้ลม หอสังเกตการณ์ระบุว่า ควันดังกล่าวประกอบด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นภัยอย่างมากสำหรับผู้ที่มีอาการป่วย เช่น หอบหืด ปัญหาทางเดินหายใจอื่น ๆ หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด
พื้นที่ที่เกิดการปะทุนี้ถูกปิดไม่ให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่ปี 2007 เนื่องจากอันตรายต่าง ๆ เช่น ผนังปล่องภูเขาไฟไม่มั่นคง พื้นดินแตกร้าว และหินถล่ม
อุทยานแห่งชาติภูเขาไฟฮาวายครอบคลุมถึงยอดภูเขาไฟที่อยู่ 2 ลูกของภูเขาไฟที่ปะทุบ่อยที่สุดของโลก ได้แก่ คิเลาเวอาและเมานาโลอา
ภูเขาไฟคีเลาเวอาเพิ่งปะทุไปในเดือน มิ.ย. และ ก.ย. ของปีนี้
ตั้งแต่มีการบันึกข้อมูลมา ภูเขาไฟคีเลาเวอาเคยสงบไปแค่ช่วงระหว่างปี 1924 ถึง 1952 เท่านั้น และหลังจากนั้นก็ปะทุอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดทุกปี
การปะทุของภูเขาไฟคีเลาเวอาอาจกินเวลาหลายวันหรือนานถึง 1 ปี ในปี 2018 ภูเขาไฟคีเลาเวอาปะทุตั้งแต่เดือน พ.ค. ต่อเนื่องจนถึง ส.ค. ทำลายบ้านเรือนไปกว่า 700 หลัง
เรียบเรียงจาก The Guardian