รู้จักความเป็นมาแห่งรัชสมัย “ญี่ปุ่น”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ประเทศที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ล้วนแล้วแต่มีความคล้ายคลึง นั่นคือมีการแบ่งออกเป็นรัชสมัย หรือราชวงศ์ต่าง ๆ ซึ่งของไทยก็ใช้ระบบนี้เช่นกัน แต่สำหรับญี่ปุ่นแล้ว ระบบการนับรัชสมัยจะมีความแตกต่างออกไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 1 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันที่ประเทศญี่ปุ่น จะมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ นั่นคือการขึ้นครองราชย์ของเจ้าชาย นารุฮิโตะ และเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติติดต่อกันมาหลายร้อยปี เมื่อมีการผลัดแผ่นดิน ก็จะต้องมีการเปลี่ยนรัชสมัยควบคู่กันไปด้วย

"รัชศก เรวะ" เมื่อวันที่เจ้าชายนารุฮิโตเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ใหม่

โดยการเปลี่ยนรัชสมัยของญี่ปุ่น มีมาตั้งแต่ปีคริสตศักราช 645 ในสมัยของพระจักรพรรดิ โคโตคุ แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้กัน จนมาถึงต้นศตวรรษที่ 8 หรือปี ค.ศ. 701 จึงมีการนำกลับมาใช้อีกครั้ง และกลายเป็นพระราชประเพณีที่ทำติดต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

ทั้งนี้เรื่องของการตั้งชื่อรัชสมัยนั้น ในตำราประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า ญี่ปุ่นนำระบบนี้มาจากจีน แต่ของจีนจะเป็นรัชสมัยที่มีกษัตริย์หลายพระองค์อยู่ในราชวงศ์เดียวกัน ผิดกับของญี่ปุ่นที่ 1 รัชสมัย จะใช้กับพระจักรพรรดิพระองค์เดียวเท่านั้น คือถ้ามีการผลัดแผ่นดิน จักรพรรดิพระองค์ใหม่ก็ขึ้นมาครองราชย์ ชื่อของรัชสมัยก็จะเปลี่ยนไปด้วย และถ้านับตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงตอนนี้ ญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนรัชสมัยไปแล้ว 248 ครั้ง โดยครั้งที่ 249 จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ พร้อมกับการขึ้นครองราชย์ของเจ้าชาย นารุฮิโตะ

สำหรับประเพณีการตั้งชื่อรัชสมัยนั้น มีขั้นตอนที่น่าสนใจไม่น้อย อย่างแรกคือพยัญชนะที่ใช้จะต้องเป็นอักษร คันยิ หรืออักษรจีนเท่านั้น และจะต้องไม่ซ้ำกับรัชสมัยก่อน ๆ ด้วย นอกจากนี้อักษรตัวแรกก็ห้ามซ้ำกับรัชสมัยก่อนหน้าอย่างน้อย 4 สมัยขึ้นไป ส่วนรัชสมัยที่ได้รับการคัดเลือกคือ “Reiwa” (เรวะ) ซึ่งมีความหมายหลากหลาย แต่ในที่นี้หมายความว่า การเริ่มต้นความสงบสุขอันดีงาม

อย่างไรก็ตาม นี่จะเป็นครั้งแรกที่ชื่อของรัชสมัย จะมาจากบทกวีโบราณของญี่ปุ่น แทนที่จะเป็นวรรณคดีของจีนอย่างที่ผ่าน ๆ มา โดยในอดีตยังไม่มีการกำหนดว่า ชื่อรัชสมัยจะต้องมีอักษรกี่ตัว แต่เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคใหม่ หรือ โมเดิล เจแปน ตัวอักษรที่ใช้จะต้องไม่เกิน 2 ตัว และที่สำคัญต้องอ่านและเขียนง่ายด้วย สำหรับชื่อรัชสมัยนั้น ไม่ใช่นึกคำเพราะ ๆ มาตั้งกันเฉย ๆ แต่ต้องสอดคล้องกับสถานการณ์ของบ้านมืองในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วย อย่างเช่นรัชสมัย เมจิ แปลว่า การปกครองที่รุ่งเรือง ส่วนรัชสมัย เฮเซ ในปัจจุบัน มีความหมายว่า สันติสุขทุกหนแห่ง

รูปภาพ : Toshifumi KITAMURA / AFP

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ