สะเทือนใจคนมีเงินฝาก "คลังรีดภาษีดอกเบี้ย"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




15 พ.ค.นี้ สรรพากร เตรียมเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 15 สำหรับผู้ที่มีบัญชีเงินฝากแล้วได้ดอกเบี้ยไม่ถึง 20,000 บาทต่อปี เหตุ ธนาคารบางแห่งใช้ช่องโหว่กฎหมายเอื้อลูกค้ารายใหญ่ "ปิดบัญชีเก่าแล้วเปิดใหม่" ถ้าดอกเบี้ยใกล้ 20,000 บาทเพื่อเลี่ยงภาษี

ก่อนหน้านี้การฝากเงินกับธนาคาร หากได้รับดอกเบี้ยเงินฝากไม่ถึง 20,000 บาท จะได้รับการยกเว้นการเก็บภาษี แต่กลับมีธนาคารบางแห่งใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายตรงนี้เอื้อลูกค้าบางราย ที่ดอกเบี้ยเงินฝากกำลังจะถึง 20,000 บาท ด้วยการให้ปิดบัญชีเดิมแล้วเปิดบัญชีใหม่ เพื่อเลี่ยงการเสียภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15

“กระทรวงการคลังจึงเตรียมเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้น้อยกว่า 20,000 บาท เพื่อสกัดการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายนี้”

คำถามคือ คนไทยมีบัญชีเงินฝากและเงินออมมากน้อยเท่าไหร่...

ถ้าไปดูบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของคนไทยตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2561 พบว่า มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มากถึง 83,310,209 บัญชี (1 คน อาจมีหลายบัญชี) แต่ 73,331,462 ล้านบัญชี หรือราว 80% มีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 50,000 บาท

ดังนั้น หากมีเงินฝากในบัญชี 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินฝากแต่ละประเภทก็แตกต่างกัน อย่าง เงินฝากออมทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 0.05 - 1.00 ขณะที่เงินฝากประจำอัตราดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 1.7 – 2 ในกรณีนี้ยกตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ จะมีวิธีการคำนวณดังนี้  

เปิดพฤติกรรมการออมของคนไทยเน้น “ออมระยะสั้นใช้ฉุกเฉินไม่เผื่อเกษียณ”

“เงินออม” สิ่งจำเป็นหลังเกษียณ

วันที่ 1 มกราคม นาย ก. ฝากเงินประเภทออมทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง จำนวน 50,000 บาท ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี โดยธนาคารพาณิชย์กำหนดจะจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากออมทรัพย์ให้ทุกๆ 6 เดือน ในวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม ของทุกปี (สมมติให้ในปีนี้เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน)

ดังนั้น หากนาย ก. ฝากเงิน 50,000 บาท ไว้ทั้งปี โดยไม่ถอนเงินออกหรือฝากเงินเพิ่ม และไม่ได้ถอนดอกเบี้ยออกมาใช้ในระหว่างปี ดอกเบี้ยที่นาย ก. จะได้รับในปีนี้จะสามารถคำนวณได้ดังนี้

"ฝากเงินวันที่ 1 ม.ค. เงินต้น 50,000 บาท วันที่ 30 มิ.ย.เงินต้นรวมกับดอกเบี้ย 50,246.57 บาท และในวันที่ 31 ธ.ค.เงินต้นรวมกับดอกเบี้ย 50,499.86 บาท เท่ากับในปีนั้นได้ดอกเบี้ย 499.86 บาท แล้วถ้าต้องเสียอัตราภาษีดอกเบี้ยร้อยละ 15 เราต้องจ่ายค่าอัตราภาษีดอกเบี้ยที่ได้ปีนี้ 74.98 บาท"

แต่ถ้าใครไม่อยากเสียภาษีดอกเบี้ยจะต้อง “ยอมให้ทุกธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยและผลตอบแทนเงินฝากต่อกรมสรรพกรและเก็บหลักฐานการยินยอมไว้เพื่อให้ตรวจสอบต่อไป” และจะต้องไม่นำดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากที่ได้รับไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลังจากให้ความยินยอมกับธนาคารแล้ว จะต้องมาแจ้งผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร คือ https://www.rd.go.th

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ