ทีมข่าวตรวจสอบโครงการอาหารกลางวันเด็กผ่านเว็บไซต์ ระบบการใช้จ่ายของภาครัฐ พบว่าโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช 6 แห่ง จาก 10 แห่ง ทำการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีคัดเลือกเหมือนกันทุกแห่ง
กลุ่มแรก มี 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ กับโรงเรียนเทศบาลวัดท้าวโคตร งบรวม 9,492,000 บาท มีเอกชนเข้าคัดเลือก 3 ราย เหมือนกันทั้ง 2 โรงเรียน คือ บ.นครศรี บ.S.P.C และ ส.รัตนภิญโญ ซึ่ง ส.รัตนภิญโญ ได้งานไปทั้งสองโรงเรียน วงเงินสัญญารวม 9,491,000 บาท ลดราคาให้โรงเรียนละ 500 บาท รวมสองแห่ง 1,000 บาท
นร.-ผู้ปกครอง ให้กำลังใจ ผอ.ถูกสอบอาหารกลางวัน
สั่งย้าย-สอบ ผอ.รร.ให้เด็กกินข้าวกลางวัน “แกงจืดฟักวิญญาณไก่”
ส่วนกลุ่มที่สอง มี 4 โรงเรียน คือโรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ โรงเรียนเทศบาลวัดศาลามีชัย และโรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง งบประมาณรวม 23,764,000 บาท มีเอกชนเข้าแข่งขัน 3 เจ้าเช่นกัน และบริษัทบุญยงค์บริการได้ไปทั้ง 4 โรงเรียน
การตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดนี้ ท้องถิ่นจังหวัดขีดเส้นตายให้เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ส่งผลภายในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ แล้วจะมีการตั้งกรรมการสอบอีกชั้นหนึ่ง หากคำชี้แจงยังไม่คลายความสงสัยถึงขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างโครงการ
เผยเอกสารพบโครงการอาหารกลางวันไม่ได้คุณภาพ
เปิดเอกสารแฉคุณภาพอาหารนักเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์
เมื่อตรวจสอบเอกสารตรวจรับการจัดซื้อจัดจ้างตามสัญญาจ้างเหมาบริการของบริษัท ส.รัตนภิญโญ จำกัด ในโครงการจ้างเหมาประกอบอาหารกลางวัน ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการตรวจรับเป็นงวดที่สอง วงเงิน 315,900 บาท มีรายละเอียดชัดเจนว่า มีผลการตรวจรับที่ถูกต้อง แต่ไม่ครบถ้วนตามสัญญา
ส่วนการจ้างเหมานั้นในส่วนของโรงเรียนวัดมเหยงค์ มีการจ้างแบบ “วิธีการคัดเลือก” มีผู้เสนอราคา 3 รายคือ บริษัทนครศรีเอ็กคลูซีฟดีเวลอปเม้นท์จำกัด เสนอวงเงิน 7,039,700 บาท บริษัทเอสพีซี 2009 จำกัด เสนอวงเงิน 7,040,000 บาท เท่ากับราคากลาง
ส่วนผู้ชนะ คือ บริษัท ส.รัตนภิญโญ จำกัด เสนอราคา 7,039,500 บาท ถูกกว่าคู่แข่งไปเพียง 200 บาท เท่านั้น
ทีมข่าว PPTV ตรวจสอบขอบเขตและรายละเอียดของงาน หรือ ทีโออาร์ งานจ้างเหมาประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ มีหลายข้อความที่น่าสนใจ
โดยเฉพาะข้อความที่ระบุเกี่ยวกับ “การจ้างช่วง” ซึ่งเขียนว่า ผู้รับจ้างจะต้องไม่เอางานทั้งหมดหรือบางส่วนแห่งสัญญานี้ไปจ้างช่วงอีกต่อหนึ่ง “โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง” ซึ่งเป็นคำถามสำคัญ เพราะในทีโออาร์ระบุแล้วว่า “อัตราค่าจ้างเหมาประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ราคาต่อคน 20 บาท จากนักเรียน 1760 คน” ซึ่งเมื่อระบุราคาเช่นนี้ไว้แล้ว เหตุใดทีโออาร์จึงเปิดช่องให้รับเหมาช่วงต่อได้ หากผู้ว่าจ้างยินยอม เพราะสัญญาลักษณะนี้ ควรจะแน่ชัดแล้วว่า ผู้รับเหมาต้องเป็นผู้ที่มีศักยภาพประกอบอาหารกลางวันได้เองโดยไม่ต่องจ้างช่วงต่อ
โดยในข้อความที่กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเสนอราคา ยังระบุไว้ด้วยว่า ผู้เสนอราคาต้องมีหลักฐานผ่านการอบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบกิจการอาหารและผู้สัมผัสอาหาร กระทรวงสาธารณสุข หรือ หลักสูตรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร และยังต้องยื่นหนังสือรับรองคุณภาพการประกอบอาหารจากหน่วยงานราชการ หนังสือรับรองคุณภาพ ประสบการณ์ในการประกอบอาหารกลางวันให้โรงเรียน จากคุณสมบัติสองข้อนี้ ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า ผู้รับเหมาที่ได้รับงาน ไม่มีสิทธิจ้างช่วงต่อ เพราะผู้ที่จะมีสิทธิมาทำอาหารของโรงเรียนแห่งนี้ ต้องผ่านคุณสมบัติทั้ง 2 ข้อนี้ก่อน แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า อาหารกลางวันของโรงเรียนวัดมเหยงคณ์ ผ่านการจ้างช่วงต่อตามที่ถูกสงสัยหรือไม่
และเมื่อมีการสุ่มตรวจสอบเอกสารบันทึกคุณภาพอาหารประจำวันในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 ของนักเรียนสายชั้นประถมระดับ พบบันทึกว่าตรวจสอบพบอาหารที่ไม่ได้คุณภาพครบถ้วนตามหลักโภชนาการหลายวันด้วยกัน เช่นอาหารไม่เพียงพอ อาหารไม่ได้คุณภาพ โปรตีนน้อยกว่าที่ควร เนื้อไก่ไม่เพียงพอกับนักเรียน มีจำนวนน้อย หรือบางรายการพบว่ามีเกลือสูง ข้าวเปียก เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านี้ผู้บริหารบางคนทราบดีแต่กลับไม่ได้มีการดำเนินการใดๆจนเรื่องกลายเป็นประเด็นขึ้น