ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในขณะนี้พื้นที่ต่างๆริมน้ำโขงต่างประสบกับภาวะแห้งแล้ง โดยเฉพาะระดับน้ำแม่น้ำโขงนั้น ลดลงต่ำเรื่อยๆ โดยมีการระบุว่าลดลงต่ำสุดในรอบ 50 ปี โดย พื้นที่ต่างๆนั้นต่างตกตะลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้น เช่นที่ จ.หนองคาย มีการรายงานว่าในวันที่ 17 ก.ค. ระดับน้ำลดลงอีกครึ่งเมตร ทำให้เหลือระดับไม่ถึงเมตร สามารถมองเห็นเสาตอม่อที่อยู่ใต้ฐานตอม่อสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่ตั้งอยู่ในน้ำโขง โป๊ะแพและเรือที่จอดไว้เกยต้น ในขณะที่พันโขดแสนไคร้น้ำโขงที่ไหลผ่านแห้งขอด จนสามารถเดินได้
โดยในวันนี้สามารถวัดระดับได้ 80 ซม. ต่ำกว่าตลิ่งถึง 11.40 เมตร ซึ่งระดับน้ำโขงต่ำสุดในรอบ 50 ปีช่วงเดียวกันอยู่ที่ 3.53 เมตร
ขณะที่ ระดับน้ำโขงได้ลดลงต่อเนื่อง วันละ ประมาณ 10 เซนติเมตร ล่าสุดระดับน้ำโขง อยู่ที่ระดับประมาณ แค่ 2 เมตร ห่างจากระดับล้นตลิ่ง 13 เมตร ซึ่งถือว่า ระดับน้ำโขงผันผวนหนักสุดรอบ 10 ปี ส่งผลให้ลำน้ำสาขาสายหลัก คือ ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ลำน้ำก่ำ รวมถึง ลำห้วยสาขา ต่างๆ มีปริมาณน้ำต่ำ แค่ประมาณ 20 -30 เปอร์เซ็นต์ ของความจุ
แหล่งท่องเที่ยวน้ำแห้งขอด สัญญานวิกฤตแล้งหนัก
ร้องยุติโครงการสร้าง “เขื่อนปากแบง” กั้นน้ำโขง
ส่วนที่จังหวัดเลยแม่น้ำโขงลดลงและแห้งเร็วกว่าปกติในรอบ 10 ปี โดยไม่สามารถสูบน้ำมาใช้การเกษตรได้ แม่น้ำโขงตั้งแต่อำเภอเชียงคาน ถึงอำเภอปากชม น้ำโขงแห้งจนเห็นสันดอนทรายเป็นทางยาว และเกาะแก่งกลางน้ำโขง แก่งคุดคู้ โผล่ขึ้นให้เห็นโขดหินชัดเจนในรอบ 10 ปี
โดยนายนายอดุลย์ ผลคำ ผู้ใหญ่บ้านน้อย หมู่ที่ 4 ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย เผยว่า ทุกวันนี้น้ำโขงจะผิดปกติจะขึ้นเร็วลงเร็ว แต่ครั้งนี้ลดลงอย่างเดียวไม่มีขึ้นแม้กระทั้งเรือเข้าจอดฝั่งเครื่องยังติดไว้กับเรือ แค่คืนเดียวน้ำแห้งขอดเรือยังติดกับหาดทรายอยู่เลย และแก่งคุดคู้ที่นักท่องเที่ยวไม่เคยได้เห็นมาในช่วง 10 ปี ที่จีนได้สร้างเขื่อนขึ้นมา ช่วงนี้จะได้เห็นอย่างชัดเจน ส่วนในเรื่องของเกษตร ชาวบ้านในอำเภอเชียงคานยังไม่มีใครปักดำนาได้เลย
นอกจากนี้ทางด้านนาย กมล พงศ์ศรี ชาวประมงบ้านน้อย อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย กล่าวเพิ่มเติมว่า หากในช่วงของเดือนกรกฎาคมนี้ แม่น้ำโขงจะอยู่ที่ระดับตลิ่ง และสีของแม่น้ำโขงจะมีสีขุ่น เมื่อเทียบจากช่วงเข้าพรรษาปริมาณน้ำโขงจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยเรื่อย ซึ่งกลับตรงข้ามกัน แม่น้ำโขงกลับแห้งลงเรื่อยเรื่อย ซึ่งจากการสังเกตแล้วพบว่า สภาพแม่น้ำโขงที่แห้งลงอย่างรวดเร็วผิดปกติ แห้งลงวันละ 50 เซนต์ ถึง 1 เมตร ลดลงเรื่อยเรื่อย จนส่งผลให้ชาวประมงพื้น หลายรายพบกับปัญหา แพประมง และเรือติดค้างอยู่บนริมฝั่งเป็นจำนวนมาก เนื่องจากน้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถเคลื่อนย้าย แพประมง และเรือ ได้ทันท่วงที
ชบาแก้วชนะฟิลิปปินส์ 3-1 ส่งท้ายซีเกมส์
ภัยแล้งส่งสัญญาณวิกฤต หลายภาคส่วนเตรียมตั้งรับ
โดยเมื่อตรวจสอบจาก เว็บไซต์ของ คณะกรรมการแม่น้ำโขง จะเห็นว่า ระดับน้ำในแม่น้ำโขงของปีนี้ลดต่ำลงอย่างมากกว่าค่าเฉลี่ย ที่มีการบันทึกตั้งแต่ปี 2523 และเริ่มลดต่ำลงอย่างมากในช่วงวันที่ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยหากเก็บสถิติจาก 9 สถานีวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนประเทศไทย จะเห็นชัดว่า ระดับน้ำอยู่ใน ภาวะวิกฤติอย่างยิ่ง
โดยเริ่มที่ สถานีวัดระดับน้ำ เชียงคาน จ.เลย ประเทศไทย
ปัจจุบัน มีระดับน้ำที่ 3.7 เมตร แต่ระดับน้ำเฉลี่ยช่วงเดียวกันตลอด 40 ปีทีผ่านมา อยู่ที่ 9.31 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 16 เมตร ทำให้ปัจุบันระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 12.3 เมตร หรือต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 5.61 เมตร
ส่วนสถานีวัดระดับเวียงจันทน์ ประเทศลาว
ปัจจุบัน มีระดับน้ำที่ 0.75 เมตร แต่ระดับน้ำเฉลี่ยช่วงเดียวกันตลอด 40 ปีทีผ่านมา อยู่ที่ 6.01 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 12.5 เมตร ทำให้ปัจุบันระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 11.75 เมตร หรือต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 5.26 เมตร
สถานีวัดระดับน้ำ หนองคาย ประเทศไทย
ปัจจุบัน มีระดับน้ำที่ 0.8 เมตร แต่ระดับน้ำเฉลี่ยช่วงเดียวกันตลอด 40 ปีทีผ่านมา อยู่ที่ 6.83 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 12.2 เมตร ทำให้ปัจุบันระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 11.4 เมตร หรือต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 6.03 เมตร
สถานี ปากซัน ประเทศลาว
ปัจจุบัน มีระดับน้ำที่ 3.59 เมตร แต่ระดับน้ำเฉลี่ยช่วงเดียวกันตลอด 40 ปีทีผ่านมา อยู่ที่ 8.59 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 14.5 เมตร ทำให้ปัจุบันระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.91 เมตร หรือต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 5 เมตร
สถานีวัดระดับน้ำนครพนม ประเทศไทย
ปัจจุบัน มีระดับน้ำที่ 2.55เมตร แต่ระดับน้ำเฉลี่ยช่วงเดียวกันตลอด 40 ปีทีผ่านมา อยู่ที่ 6.55 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 12 เมตร ทำให้ปัจุบันระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 9.45เมตร หรือต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 4 เมตร
สถานีวัดระดับน้ำท่าแขก ประเทศลาว
ปัจจุบัน มีระดับน้ำที่ 3.81 เมตร แต่ระดับน้ำเฉลี่ยช่วงเดียวกันตลอด 40 ปีทีผ่านมา อยู่ที่ 8.49 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 14 เมตร ทำให้ปัจุบันระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 10.19 เมตร หรือต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 4.68 เมตร
สถานีวัดระดับน้ำมุกดาหาร ประเทศไทย
ปัจจุบัน มีระดับน้ำที่ 2.83 เมตร แต่ระดับน้ำเฉลี่ยช่วงเดียวกันตลอด 40 ปีทีผ่านมา อยู่ที่ 7.78 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 12.5 เมตร ทำให้ปัจุบันระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 9.67 เมตร หรือต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 4.95 เมตร
สถานีวัดระดับน้ำ สะหวันนะเขต ประเทศลาว
ปัจจุบัน มีระดับน้ำที่ 1.71 เมตร แต่ระดับน้ำเฉลี่ยช่วงเดียวกันตลอด 40 ปีทีผ่านมา อยู่ที่ 6.08 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 13 เมตร ทำให้ปัจุบันระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 11.29 เมตร หรือต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 4.37 เมตร
และสถานีวัดระดับน้ำโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ประเทศไทย
ปัจจุบัน มีระดับน้ำที่ 3.29 เมตร แต่ระดับน้ำเฉลี่ยช่วงเดียวกันตลอด 40 ปีทีผ่านมา อยู่ที่ 7.91 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 14.5เมตร ทำให้ปัจุบันระดับน้ำต่ำกว่าระดับตลิ่ง 11.21 เมตร หรือต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 4.62 เมตร
ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบถึงสาเหตุของน้ำโขงที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ปรากฏว่าเว็บไซต์ข่าว : http://transbordernews.in.th/home/?p=23280 Laoedaily ได้เผยแพร่ข่าวด่วนเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 ว่า ให้เฝ้าระวังระดับน้ำโขงจะผันผวนระหว่างวันที่ 15-29 กรกฎาคม 2562 นี้ เนื่องจากเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการทดลองการปั่นกระแสฟ้า จะทำให้ระดับน้ำโขงสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงแจ้งมายังพี่น้องชาวเมืองปากลาย เพื่อให้ส่วนการปกครองบ้านได้แจ้งต่อพี่น้องประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบต่อไป ตลอดถึงนักธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้า พนักงาน ทหารตำรวจ นักเรียนนักศึกษาให้ระมัดระวังเช่น เรือแพ เครื่องจักร สิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สินและอื่นๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำโขงให้นำขึ้นไปไว้ในที่ปลอดภัย พร้อมกันนั้นก็ขอให้มีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อละเว้นไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและเฝ้าระวังปัญหาที่จะเกิดจากระดับน้ำที่จะสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงทดลอง ปิด-เปิด ประตูระบายน้ำของเขื่อนไซยะบุรี อย่างไรก็ตามเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ได้ระบุปริมาณการระบายและกักเก็บน้ำของเขื่อนไซยะบุรีว่ามีปริมาณเท่าไหร่ ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีรายงานการแจ้งเตือนดังกล่าว
ทั้งนี้เขื่อนไซยะบุรีเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนล่างแห่งแรก ตั้งอยู่ที่แขวงไซยะบุรี สปป.ลาว กำลังผลิตติดตั้ง 1,275 MW มีกำหนดการส่งไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2562 นี้ เขื่อนดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเนื่องจากไม่มีการศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดนในเขตประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนาม โดยเขื่อนไซยะบุรีเป็นเขื่อนกั้นลำน้ำโขงในประเทศลาว ช่วงที่ก่อนจะกลับมาเป็นเส้นแบ่งเขตชายแดนระหว่างไทยและลาว