“บิ๊กตู่” แจงไม่ได้เรียก ส.ส. เพื่อไทยมาต้อนรับ แต่แค่อยากฟังปัญหา
น้ำท่วม จ.อุบลฯ 3 สัปดาห์ ยังพบปัญหาการบูรณาการข้อมูลผู้ประสบภัย
เมื่อวันที่ (23 ก.ย. 62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาพของเมืองที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ และเป็นพื้นที่รับน้ำจากแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลที่ไหลลงมาบรรจบกัน ก่อนจะถูกระบายออกแม่น้ำโขง ทำให้ จ.อุบลราชธานี ต้องรองรับมวลน้ำจำนวนมหาศาลจากภาคอีสานที่ไหลบ่ามารวมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง แม้ลักษณะเฉพาะของเมืองเช่นนี้จะกลายเป็รสภาพคุ้นชิน แต่เหตุใดน้ำท่วมใหญ่รอบนี้ คนพื้นที่จึงไม่อาจตั้งรับได้ทัน
ในเวทีนี้ทุกฝ่ายยอมรับว่า หน่วยงานรัฐได้ประชุมและคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดเหตุน้ำท่วม แต่การสื่อสารกลับไปไม่ถึงชาวบ้านอย่างที่น่าพอใจ มีเพียงประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาที่เขียนตามภาษาราชการว่าน้ำ “อาจ” จะเข้าท่วมในหลายจังหวัด แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนถึงความรุนแรงของปริมาณ
การเข้าไม่ถึงข้อมูลที่สำคัญดูจะเป็นปัญหาใหญ่ในการจัดการอุทกภัยครั้งนี้ ยังไม่รับรวมการจัดการหลังเกิดภัยพิบัติ แม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัย แต่การขาดข้อมูลทำให้มีการช่วยเหลือซ้ำซ้อน หรือเข้าไม่ถึงผู้ประสบภัยในบางพื้นที่ แม้แต่ สทนช. เองก็ยอมรับว่า การจัดการอุทกภัยครั้งนี้ “มีปัญหา”
การสร้างฐานข้อมูลเดียวอย่างบูรณาการ คือ ข้อเสนอสำคัญของเวทีเสวนาครั้งนี้ เพราะหาก 40 กว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลกลางได้ทั้งหมด ก็อาจทำให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์เป็นไปได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็วขึ้น
ทั้งหมดเป็นอีกครั้งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า การช่วยเหลือปลายทางไม่สำคัญเท่าการเตือนภัยให้คนในพื้นที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด แต่ทั้งหมดก็ยังเป็นเพียงแนวคิด ที่ยังไม่เห็นผลในทางปฏิบัติ