เปิดใจคนรุ่นใหม่ พร้อมต่อลมหายใจ “มโนราห์เมืองตรัง”
เผยแพร่
ปรับปรุงล่าสุด
ศุภวัฒน์ สิริรักษ์ หนึ่งในเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะสืบสานการแสดงมโนราห์ การแสดงพื้นบ้านอันทรงคุณค่าของภาคใต้ที่นับวันก็จะค่อยๆ หายไป ภายใต้โครงการ “แนวทางการสืบสานศิลปะมโนราห์ อ.นาโยง จ.ตรัง”

ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการวิจัย แนวทางการสืบสานศิลปะพื้นที่บ้านมโนราห์โคกสะบ้า เพื่อยกระดับจากตำบลสู่ระดับอำเภอ ภายใต้งานวิจัย “แนวทางการสืบสานศิลปะมโนราห์ อ.นาโยง จ.ตรัง” ที่ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้วยการยึดรูปแบบการแสดงไว้ในแบบโบราณไว้ทั้งหมด เนื่องจากหลายครั้งที่การแสดงมโนราห์ถูกปรับรูปแบบให้เข้ากับยุคสมัยจนทำให้ความโบราณหลายอย่างสูญหายไป
“มโนราห์แผลงฤทธิ์” ศิลปะการแสดงโบราณที่กำลังเลือนหายไป
“ ความเป็นมโนราห์โบราณหลายอย่างสูญหายหรือผิดเพี้ยนจากเดิม บรมครูโนราหลายท่านได้เสียชีวิตไป หากไม่ร่วมกันสืบทอด หรือรักษาไว้ คาดว่าเอกลักษณ์ความเป็นมโนราห์โบราณแบบโนราตรังคงจะเลือนหายไป” นี่คือจุดประสงค์สำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ โดยใน อ.นาโยงทั้ง 6 ตำบล มีคณะมโนราห์จำนวน 21 คณะ เป็นมโนราห์โบราณ 20 คณะ แบบประยุกต์ (แสดงควบคู่กับวงดนตรีลูกทุ่ง) 1 คณะ และ PPTVHD36 ได้มีโอกาส ชมการแสดง มโนราห์ อ.นาโยง จ.ตรัง และได้พูดคุยกับ ศุภวัฒน์ สิริรักษ์ ผู้ที่มีเชื้อสายครูมโนราห์เข้มข้นและกำลังจะเป็นกำลังสำคัญของคนรุ่นใหม่ในการสืบสานการแสดงนี้ต่อไป
ศุภวัฒน์ กำลังจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตั้งใจจะเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยเพื่อสืบสานเรื่องนี้โดยเฉพาะ เขาเล่าให้ฟังด้วยความภาคภูมิใจว่า สนใจการแสดงมโนราห์มาตั้งแต่อายุ 13 ปี (ปัจจุบันอายุ 19 ปี) ระยะเวลา 6 ปี
“ ด้วยมนต์เสน่ห์แห่งท่ารำ สีสันต์ของชุด รวมกับการมีเชื้อสายโนราห์ เลยอยากให้เด็กๆได้มารำเหมือนเรา จะได้รู้ว่าสิ่งที่บรรพบุรุษเขาสร้างมาให้เรามีค่ามาก เขาได้สร้างมานานมากแล้ว หากปล่อยปละละเลย สิ่งสวยงามเหล่านี้จะหายไป ”
จังหวัดตรังจัดแสดงพิธีมโนห์ราแทงจระเข้
ในช่วงแรกที่เขาอยากฝึกรำโนราต้องอาศัยการฝึกฝนจาก ยูทูป อินเทอร์เน็ต เนื่องจากครอบครัวไม่สนับสนุน เมื่อคนเห็นในฝีมือจึงเริ่มติดต่อให้ไปแสดงตามงานต่างๆ จนกระทั่งได้มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ที่คณะโนรา ใน จ.ตรัง เป็นอีกขั้นหนึ่งที่เขาได้ฝึกฝนฝีมือกับอาจารย์ โดยมี 3 บทสำคัญ ซึ่งเป็นท่าพื้นฐานที่ต้องไหว้ให้ได้คือ 1. บทคุณครู 2.บทครูสอน 3.บทสอนรำ โดยใช้เวลาหลังเลิกเรียนทุกวัน และวันอาทิตย์ และสิ่งสำคัญคือการจดจำทั้ง 12 ท่า ซึ่งเป็นท่าครูให้ได้เพื่อนำไปแตกแขนงเป็นท่ารำอื่นๆ อีกนับพันท่า จากนั้นต้องมาเรียนรู้บทละครว่าแต่ละเรื่องมีตัวละครใดบ้าง ซึ่งตอนที่เราได้ไปพูดคุยนั้น เป็นการแสดง
คณะมโนราห์กว่า 40 ชีวิต รำแก้บนหลังหมูป่าปลอดภัย
ท่าจริงๆ มี 12 ท่า เอามาแตกแขนงอีกเป็นพันๆ ท่า ส่วนบทละครต้องเรียนรู้ว่าแต่ละบทมีที่มาอย่างไร ตัวละครมีคนแสดงกี่คน เช่นที่แสดงจบไปคือเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ ตอน พรานบุญจับนางมโนราห์ นักแสดงต้องรู้ว่า มีโนรากี่คน วันนี้ได้รับบทตัวไหนก็ต้องฝึกตัวนั้นๆ ให้สมบทบาท
สำหรับในอนาคต ศุภวัฒน์ ตั้งใจว่าจะพัฒนาและรักษาการแสดงไว้ให้ถูกต้องเป็นแบบมโนราห์โบราณมากที่สุด ตลอดจนเครื่องทรงโนรา เครื่องแต่งกายอยากพัฒนาให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น “ผมบอกกับพ่อแม่ว่าถ้าได้ผูกผ้า ตัดจุกเป็นโนราใหญ่ ผมจะให้ลูกของผมเป็นโนราใหญ่แบบผมด้วยเหมือนกัน”
เพียงเท่านี้ก็รู้แล้วว่าการแสดงอันสำคัญของภาคใต้อย่างมโนราห์จะไม่หายไปตามกาลเวลาเพราะเขาคือหนึ่งในไม้ต่อสำคัญที่จะสืบสานการแสดงมโนราห์จากรุ่นสู่รุ่นต่อไป
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> www.pptvhd36.com/tags/ข่าววันนี้