ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน! กระทบกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 19 พื้นที่
เผยแพร่
ปรับปรุงล่าสุด
ปลัดกทม. เร่งผลักดัน “เมืองปลอดฝุ่น” บูรณาการแก้ปัญหาภาพรวม รณรงค์ใช้ขนส่งสาธารณะ เพิ่มทางเลือกการเดินทางแทนใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

วันที่ 13 พ.ย.2562 กรมควบคุมมลพิษ รายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ เวลา 07.00 น. จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกรมควบคุมมลพิษร่วมกับกรุงเทพมหานคร ทั้ง 44 สถานี พบว่าปริมาณฝุ่นละอองตรวจวัดค่าได้ระหว่าง 40 - 66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ปริมาณฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลงจากเมื่อวาน 33 สถานี
คนบันเทิงตื่นตัวรับมือ ฝุ่นละออง PM 2.5
โดยพบพื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 19 พื้นที่ ดังนี้
1. ริมถนนกาญจนาภิเษก
2. ริมถนนดินแดง
3. เขตสัมพันธวงศ์
4. เขตวังทองหลาง
5. เขตปทุมวัน
6. เขตบางคอแหลม
7. เขตยานนาวา
8. เขตคลองสาน
9. เขตภาษีเจริญ
10. เขตบางเขน
11. เขตบางขุนเทียน
12. เขตบางพลัด
13. เขตสาทร
14. เขตคลองเตย
15. เขตบางซื่อ
16. เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
17. ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง
18. ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
19. ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่มีปริมาณฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมการแจ้ง และติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งติดจามสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างใกล้ชิด
“ผู้ว่าฯกทม.” เตือน ปชช. ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อออกนอกบ้าน
ด้าน นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สำนักสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการเพื่อผลักดันแนวทาง "เมืองปลอดฝุ่น" โดยบูรณาการความร่วมมือแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่ิอง และได้ยกระดับการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่แหล่งกำเนิดอย่างเข้มข้น พร้อมสั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ไม่ให้เกิดควันดำ ดูแลบำรุงรักษารถยนต์ให้พร้อมใช้งาน และตรวจสภาพเครื่องยนต์ตามระยะทางหรือระยะเวลาที่กำหนดเพื่อไม่ให้ปล่อยมลพิษเกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด กำชับพนักงานขับรถยนต์ให้ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อไม่ปฏิบัติงานหรือจอดรถรอรับ-ส่ง ลดการใช้รถเครื่องยนต์ดีเซล
นางศิลปสวย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังให้สำนักงานเขตดำเนินการจัดเก็บขนมูลฝอยในถนนสายหลักและถนนสายรองให้แล้วเสร็จก่อนเวลา 04.00 น. ของทุกวัน เพื่อลดการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน และให้รถราชการในสังกัดกรุงเทพมหานครเข้ารับการตรวจวัดมลพิษทุก 6 เดือน กรณีพบมลพิษเกินมาตรฐานให้แก้ไขทันที อีกทั้งได้เพิ่มความเข้มงวดในการกำกับดูแลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า อาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่ที่ได้รับเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA อย่างเคร่งครัด และขอความร่วมมือให้ติดตั้งระบบฉีดพ่นละอองน้ำบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเพื่อป้องกันฝุ่นละอองฟุ้งกระจายและโครงการก่อสร้างที่ไม่ได้จัดทำรายงาน EIA ให้ปฏิบัติตามมาตรการลดฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง เช่น กวดขันให้ผู้รับเหมาฉีดน้ำทำความสะอาดล้อรถบรรทุกหรือรถอื่นๆ ก่อนออกจากสถานที่ก่อสร้าง การล้างทำความสะอาดพื้นที่ก่อสร้างทุกวัน เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง รวมทั้งการควบคุมฝุ่นละอองจากกิจกรรมการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน
สำหรับแผนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว เพื่อผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองปลอดฝุ่น กรุงเทพมหานครได้ผลักดันการปรับปรุงมาตรฐานการระบายไอเสียรถยนต์และคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง สนับสนุนการพัฒนาโครงข่ายการให้บริการขนส่งสาธารณะให้เชื่อมโยงทุกระบบ รวมทั้งรณรงค์ส่งเสริมและจูงใจให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ/เพิ่มทางเลือกการเดินทางแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล และเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพหานคร จากปัจจุบัน 6.9 ตร.ม./คน ให้เป็น 10 ตร.ม./คน ในปี 2573 โดยได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองด้วย นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครได้พิจารณามาตรการทางผังเมืองเพื่อช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ โดยวางผังเมืองด้วยแนวคิดเมืองกระชับ เพื่อให้มีที่อยู่ใกล้แหล่งงาน ลดระยะการเดินทาง ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนทางรางด้วยการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นช่วยลดการเดินทาง ลดการใช้พลังงาน และลดมลพิษ
นายกฯออกแถลงการณ์ PM 2.5 ไม่พบ “โรงงานปล่อยมลพิษ”เกินกำหนด
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> www.pptvhd36.com/tags/ข่าววันนี้