จับตาสถานการณ์โรงงานไทย “ส่งออกหด - ปลดคนงาน”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา มีการนำเสนอข่าวแรงงานถูกเลิกจ้างเพราะโรงงานปิดกิจการต่อเนื่อง ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรม ออกมาชี้แจ้งว่าจำนวนโรงงานที่ปิดกิจการ น้อยกว่าโรงงานที่แจ้งเปิด แต่ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กลับชี้ว่านี่คือสัญญาณที่รัฐบาลต้องช่วยเหลือผู้ส่งออกอย่างยิ่งจริงจัง

โดยในช่วงครึ่งปีหลัง 2562 บริษัท ชิ้นส่วนแม่พิมพ์, ผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่ม ตัดสินใจเลิกจ้างพนักงานจำนวนหนึ่ง, ประกาศหยุดงานชั่วคราว หรือ บางบริษัทออกมาตรการลาไม่รับเงินเดือน

เช็กสถานการณ์ โรงงานไทย “เปิด ปิด ขยาย”

รวมสถานการณ์ผู้ประกอบการไทยยื้อไม่ไหว ลูกจ้างตกงาน!

ผู้ว่าฯ ธปท. เผยเศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าคาดการณ์

นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการสายงานแรงงาน  อธิบายว่า ข้อมูลการเลิกจ้างในช่วงครึ่งปีหลังมานี้ ยังหาตัวเลขที่สอดคล้องกับความเป็นจริงไม่แน่ชัด แต่ที่มั่นใจ คือ ไม่ต่ำกว่า 10 แห่ง ปิดโรงงานแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่วนโรงงานประกอบรถยนต์ ก็เสียความสามารถในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง

ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่ทำให้ ผู้ส่งออกไทย สู่คู่แข่งไม่ได้ คือ ค่าเงินบาท ที่แข็งค่าต่อเนื่องเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 6 % ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้สินค้าไทยราคาแพงขึ้น ประกอบกับ คู่แข่งบางประเทศค่าเงินอ่อนลง สินค้าถูก ลูกค้าที่เคยอุดหนุนไทยก็หันไปซื้อสินค้าจากประเทศอื่นแทน แม้ต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย จะออก 4 มาตรการลดค่าเงินบาทแข็ง แต่กลับไม่ได้ผล เอกชนแนะภาครัฐต้องเร่งออกมาตรการช่วยผู้ส่งออกอย่างจริงจัง

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ปัจจัยเสริม ที่เร่งให้แรงงานไทยเสี่ยงถูกเลิกจ้าง คือ ความสามารถของผลิตภาพแรงงาน ที่ไทยต่ำกว่า ประเทศจีน เวียดนาม และมาเลเซีย แนะรัฐบาลอัดฉีดงบประมาณเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานผ่านโครงการ Re-skill, Up-skill และหนุนเอกชนใช้นวัตกรรม ลดต้นทุน

ก.อุตสาหกรรม ยันโรงงานเปิดใหม่มากกว่าปิด

ก.อุตสาหกรรม แจง โรงงานเปิดใหม่ มากกว่าปิดกิจการ ถึง 107%

ขณะที่ ข้อมูลจาก กระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่าในปีนี้ 10 กว่าเดือนแรกที่ผ่านมา แม้จะมีสถิติโรงงานปิดเกือบ 1,400 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แต่ก็มีการยื่นจดโรงงานใหม่เกือบ 3,000 แห่ง แต่สังเกตพบว่า กลุ่มโรงงานจดทะเบียนใหม่ ไม่ได้ระบุ ว่าเดินหน้าผลิตสินค้าทันที หรือ เป็นการขอใบอนุญาตล่วงหน้า 

ด้านนายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการแรงงานและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ยอมรับว่า จากสถิติการหยุดกิจการชั่วคราวและปิดโรงงานในไตรมาสที่ 4 ปีนี้ จะมีแนวโน้ม 2 ทาง คือ ทรงตัว หรือ อาจจะปิดกิจการเพิ่มอีก

นายกฯรับโรงงาน1พันแห่งเลิกจ้าง สั่งช่วยเหลือพนักงานตกงานแล้ว

สำหรับสิทธิ์ที่แรงงานจะได้รับ กรณีถูกเลิกจ้าง คือ ค่าชดเชย 30 วัน กรณี ทำงานครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี และรับเพิ่มขึ้นตามอายุงาน เพดานสูงสุด ทำงาน 20 ปีขึ้นไป รับค่าชดเชยสูงสุด 400 วัน  หรือ กรณีถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามผิด พ.ร.บ.จัดตั้งวิธีพิจารณาคดีในศาลแรงงาน พ.ศ. 2522 สามารถร้องเรียนค่าเสียหาย ไปยังศาลแรงงานได้

 

นรเศรษฐ์ ครองบุญเรือง ถ่ายภาพ

มาสิรี กล่อมแก้ว รายงาน

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ