"อ.อ๊อด" ม. เกษตรฯ เผยผลวิจัย  ต้นกล้าข้าวสาลี  มีสารผลิตวิตามิน ต้านอนุมูลอิสระ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

 รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ หรืออ.อ๊อด วิจัยต้นกล้าข้าวสาลี พบสาระสำคัญแหล่งวิตามิน ร้านอนุมูลอิสระ

รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า Wheat grass หรือ ต้นกล้าข้าวสาลี ซึ่งเป็นต้นอ่อนหรือต้นกล้าที่เจริญมาจากเมล็ดข้าวสาลี มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Triticum aestivum มีสีเขียวเข้ม ในระยะต้น มีสารอาหาร เช่น vitamin แร่ธาตุ และโปรตีน มากกว่าในช่วงที่เป็นเมล็ด โดยต้นกล้าข้าวสาลี สามารถใช้เพื่อการดูแลสุขภาพและพบว่ามีใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลากหลายมาก่อนในต่างประเทศ โดยผลของการศึกษาครั้งนี้ พบว่าต้นกล้าข้าวสาลี มีคลอโรฟิลล์สูงถึง 70 % โดยคลอโรฟิลล์มีฤทธิ์ต้านและชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ซึ่งธาตุแม็กนีเซียมในคลอโรฟิลล์ เป็นกลไกหลักในการใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการธาตุนี้เพิ่มเติมได้

สำเร็จ! นักวิจัยไทยสกัดข้าวหอมมะลิ-ข้าวหอมนิลใช้ในผลิตภัณฑ์ความงาม

อ.อ๊อด เผยผลวิจัย “กัญชา” ยับยั้งการเติบโตเซลล์มะเร็งปากมดลูก

นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค แก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปคสเปคโทรมิเตอร์ (Gas Chromatograph-Mass Spectrometer ,GC-MS) พบกรดอะมิโน 17 ชนิด และวิตามิน 13 ชนิด อีกทั้งมีกรดแอบไซซิค (Abscisic) ที่พบได้ในพืชซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็งอีกด้วย นอกจากนี้ ยังตรวจพบสารสำคัญที่ทำการสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน (Hexane) และ เอทานอล (EtOH) ได้แก่ Neophytadiene ซึ่งใช้เป็นยาแก้ปวด (analgesic) ลดไข้ (antipyretic) รวมถึงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) ต้านจุลชีพ (antimicrobial) และต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) นอกจากนี้ยังพบ 3,7,11,15-Tetramethylhexadec-2-en-1-yl acetate หรือ Phytol เป็นแอลกอฮอล์แบบ diterpene ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตวิตามินอีและวิตามิน K1 โดย phytol เป็นส่วนประกอบส่วนหางที่มีไฮโดรคาร์บอนสายยาวของคลอโรฟิลล์

 

รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ ยังได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ได้นำสารสกัดหยาบของต้นกล้าข้าวสาลี (Wheat grass) ทำการสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน (Hexane) และ เอทานอล (EtOH) ทำการตรวจวัดสารต้านอนุมูลอิสระในเชิงปริมาณ ทำได้โดยทำการเตรียมสารละลายมาตรฐานโทรล๊อค (Trolox) ที่ความเข้มข้น 0.390, 0.195, 0.098, 0.049, 0.024  และ 0.012 mg/ml และ ทำการเตรียมสารตัวอย่าง ที่ความเข้มข้น 100, 80, 60, 30, 15, 7.5, 3.75, 1.88, 0.94 และ 0.47 mg/ml ใน absolute ethanol เพื่อทดสอบกับสารละลาย DPPH ที่ความเข้มข้น 2.4 × 10-4 M

 

โดยเมื่อวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 515 nm จากนั้นนำสารสกัดตัวอย่าง 50 ไมโครลิตร ใส่ใน 96 well-plate และทำการเติม 2.4 × 10-4 M DPPH ลงไป และเก็บในที่มืดเป็นเวลา 30 นาที พบว่า ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดทั้งสองชนิดโดยวิธี DPPH radical scavenging ability พบว่า ต้นกล้าข้าวสาลี (Wheat grass) ที่ทำการสกัดด้วยเอทานอล ให้ค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถทำให้ความเข้มข้นของ DPPH ลดลงร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 46.90 mg/mL ซึ่งสามารถต้านได้มากกว่าที่ทำการสกัดด้วย Hexane ที่ให้ค่า IC50 เท่ากับ 104.96 mg/mL ตามลำดับ

    

โครงการศึกษาวิจัยต้นกล้าข้าวสาลี (Wheat grass) ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรม ในการใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าจากต้นกล้าข้าวสาลี (Wheat grass) ตามลำดับ โดยโครงการวิจัยนี้ ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มอบหมายให้ตนเองดำเนินการ หลังจากที่ได้มีความร่วมมือด้านทุนวิจัยกับภาคเอกชนคือของ บริษัทป้อมเพชร 999 ที่ได้ส่งมอบทุนวิจัย ไปเมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ บริเวณห้องอธิการบดี อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน มาก่อนหน้านี้ตามลำดับ

 

 

 

 

 

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ