เปิดแนวทาง "อยู่บ้านช่วยชาติ" อย่างไรให้สุขภาพดี เมื่อสวนสาธารณะปิด!!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรมอนามัยเผยวิธีอยู่บ้านลดโควิด-19 อย่างไรให้สุขภาพแข็งแรง ทั้งแนวทาง "ออกกำลังกาย -กินอาหาร" ทำได้ไม่ยาก

เกิดคำถามกันมากในช่วงที่ผ่านมาว่า จะมีวิธีอะไรบ้างที่ทำให้คนทำงานอยู่กับบ้าน มีสุขภาพแข็งแรง เนื่องจากในแต่ละวันจะต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ อาจทำให้ละเลยสุขภาพของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน การออกกำลังกาย ยิ่งล่าสุดกรุงเทพมหานครออกประกาศปิดสวนสาธารณะ และควบคุมเวลาเปิดร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารเครื่องดื่มในเวลาเที่ยงคืนจนถึงตี 5 ทำให้ประชาชนอาจไม่ได้ไปออกกำลังกาย ขณะที่บางส่วนก็ยังแห่ไปซื้ออาหารกักตุน จนหลายคนห่วงว่า ทั้งการขาดการออกกำลังกาย ทั้งการกักตุนอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง รับประทานมากๆจะส่งผลต่อสุขภาพหรือไม่

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 2 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 2 เม.ย. 63

อัปเดตข่าวล่าสุด โควิด-19 (Covid-19) ในวงการฟุตบอล วันที่ 2 เม.ย. 63

ล่าสุดวันที่ 2 เม.ย.2563   นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้ข้อมูลถึงแนวทางการออกกำลังกายอยู่กับบ้าน เมื่อสวนสาธารณะ ฟิตเนสต้องปิดชั่วคราว ว่า    สำหรับการออกกำลังกายที่บ้าน ควรเน้นความเหมาะสมตามบริบทของผู้ออกกำลังกาย อุปกรณ์ สถานที่ หากไม่มีอุปกรณ์หรือพื้นที่ อาจเลือกชนิดการออกกำลังกายที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก เช่น การเดินเร็วรอบ ๆ บ้าน กระโดดเชือก เต้นแอร์โรบิก โยคะ หรือออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงแบบบอดี้เวท หรือเลือกใช้สิ่งของทดแทน เช่น การยกน้ำหนัก โดยใช้ขวดน้ำแทน ยังรวมถึงการทำงานบ้าน การเดิน หรือเปิด youtube ดูตัวอย่างการออกกำลังกาย สามารถทำตามได้ทันที ซึ่งการออกกำลังกาย  แต่ละครั้งขอให้ได้ถึงระดับที่เหนื่อยพอพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที ก็จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง

ทั้งนี้ ประเด็นที่กำลังเป็นกระแสในสังคมกรณีการออกกำลังกายในสวนสาธารณะ หรือการรวมตัวกันทำกิจกรรมออกกำลังกายประเภทต่าง ๆ นั้น สิ่งที่ต้องปฏิบัติตามแนวทาง Social Distancing  เราต้องยึดหลัก 2 ห่าง คือ 1. ห่างสังคม หมายถึงการเลี่ยงกิจกรรมทางสังคม เช่น งานเลี้ยง การเข้าไปที่ชุมชนหรือที่แออัด การรวมตัวออกกำลังกายก็เข้าข่ายเช่นเดียวกัน และ 2. ห่างบุคคล โดยเว้นระยะ 2 เมตร เพื่อลดการรับสัมผัสเชื้อโรคที่ลอยมากับเสมหะ น้ำลาย น้ำมูกของผู้อื่น หรือจากการจับต้องสัมผัสมือกับผู้อื่นแล้วมาสัมผัสหน้าตนเอง เป็นการนำเชื้อเข้าร่างกาย โดยขอให้ทุกคนตระหนักให้มากเมื่อออกจากบ้าน  

องค์การอนามัยโลกแนะ 5 วิธีสร้างเสริมสุขภาพป้องกันติด “โควิด-19”

 

ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงประเด็นอาหารการกิน ที่หลายคนกังวล และยังไปซื้อกักตุน ว่า  อยากให้เข้าใจก่อนว่า ระบบอาหาร ณ ขณะนี้ไม่ได้ขาดแคลนเหมือนช่วงน้ำท่วม ที่มีปัญหาเรื่องการผลิต และการขนส่ง แต่ปัจจุบันไม่ใช่ หรือแม้แต่ประกาศกรุงเทพมหานคร ที่ออกมาล่าสุดในการกำหนดเวลาเปิดปิดร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารเครื่องดื่ม ก็ไม่ได้ปิดตลอดเวลา ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องแห่ไปซื้ออาหารมากักตุน  จริงๆ แล้วเราสามารถออกมาซื้ออาหารได้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง  และไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋องเพียงอย่างเดียว แต่ควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย เนื้อ ผักและผลไม้ คือ ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งต้องการสารอาหารครบถ้วน

“การทำอาหารกินเองก็เป็นทางเลือกที่ดี ยกเว้นไม่ทำครัว แต่ก็ต้องซื้ออาหารที่หลากหลาย อย่างอาหารสำเร็จรูป หรือพวกอาหารกระป๋อง ไม่ควรรับประทานบ่อยนัก เนื่องจากอาหารกลุ่มพวกนี้แม้จะไม่ใส่สารกันบูด แต่ด้วยหลักการถนอมอาหารจำเป็นต้องมีโซเดียม หรือเกลือ เพื่อถนอมอาหาร การรับประทานมากๆ ย่อมไม่ถูกหลักโภชนาการ แต่เราควรรับประทานอาหารให้หลากหลายมากกว่า ส่วนของสด หรือไข่ไก่ ของพวกนี้ไม่ควรซื้อมากักตุนจำนวนมาก เพราะถ้ากินไม่ทันก็เสีย หรือหากไม่เสีย แต่ถ้าไว้นานเกินไปก็จะส่งผลต่อสารอาหารที่เราจะได้รับ ซึ่งจะลดสารอาหารลง เนื่องจากบางตัวมีผลต่อสิ่งแวดล้อม ต่ออุณหภูมิ สรุปคือ เราต้องรู้จักความพอดี เลือกอย่างพอดี เพื่อสุขภาพของเรา” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ