งานวิจัยเด็กเกิดในพื้นที่สูงอาจมี "ตัวแคระแกร็น" มากกว่าปกติ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มีงานงานวิจัยใหม่ พบว่าเด็กที่เกิดที่บนพื้นที่สูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักจะมีร่างกายขนาดเล็กตั้งแต่แรกเกิดและมีแนวโน้มจะแคระแกร็นมากกว่าเด็กที่เกิดในพื้นที่ต่ำกว่า

งานวิจัยจาก สถาบันวิจัยนโยบายอาหารระหว่างประเทศ (International Food Policy Research) โดย  Kalle Hirvonen หนึ่งในผู้ร่วมวิจัย พบว่า ขนาดของเด็กที่เกิดบนพื้นที่สูงตั้งแต่ 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป มีโอกาสแคระแกร็นมากกว่าเด็กที่เกิดในพื้นที่ต่ำกว่า ที่สำคัญไม่ได้เกิดจากปัจจัยเสี่ยงทั่วไป เช่น ความยากจน อาหารและโรค เพราะกับเด็กที่เกิดจาก ครอบครัวที่สมบูรณ์ มีสถานะมั่นคง พ่อแม่มีการศึกษา มีระบบคุ้มครองสุขภาพที่ดี ก็พบว่าเด็กที่เกิดมามีร่างกายที่แคระแกร็นเช่นกัน

เด็กน้อยป่วยโรคแคระแกร็น ขายดอกไม้ให้คนจ่ายรอยยิ้มแทนเงิน

การเติบโตจะลดลงเมื่อระดับความสูงพื้นที่เพิ่มขึ้น

การศึกษาพบว่า เด็กที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะมีร่างกายที่เป็นมาตรฐาน ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด แต่กลับเด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 500 เมตรขึ้นไป ส่วนสูงของเด็กกลับเริ่มลดลง

“ความสูงระดับ 1,500 เมตร หรือ 5,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล เด็ก ๆ มีการเติบโตต่ำกว่าเด็กที่อาศัยอยู่ในเมืองที่อยู่ระดับต่ำกว่า” งานวิจัยจากดังกล่าวระบุ ซึ่งที่ตีพิมพ์เมื่อวันจันทร์ 7 ก.ย.63 ใน JAMA Pediatrics วารสารทางการแพทย์

การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นอีกว่า การเติบโตที่ช้าลงในระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น สามารถนำไปสู่ความเสี่ยงต่อความบกพร่องทางพัฒนาการ เช่น ด้านการเผาผลาญ ที่อาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังภายหลัง

ผลวิจัยชี้ น้ำยาฆ่าเชื้อในบ้านมีส่วนทำให้เด็กน้ำหนักเกิน

ประชากรมากกว่า 800 ล้านคน อาศัยอยู่ที่ 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลหรือสูงกว่า โดยกลุ่มตัวอย่างของเด็กมากกว่า 950,000 คนใน 59 ประเทศ  พบว่ามี 2 ใน 3 ที่มีผลตามงานวิจัยโดยอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาตอนใต้ และอีกหลายเมืองในสหรัฐอเมริกาที่อยู่ระดับสูงกว่า 1,500 เมตร เช่น เมือง บัตต์ รัฐมอนทานา / เมืองไชเอนน์ เมืองแจ็กสัน เมืองลารามี  รัฐ ไวโอมิง / เมืองแฟลกสตาฟ รัฐแอริโซนา /  เมืองอัลบูเคอร์คี เมืองซานตาเฟ รัฐนิวเม็กซิโก/ แมมมอทเลคส์ บิ๊กแบร์ เลคส์ รัฐแคลิฟอร์เนียและอีกประมาณ 37 เมืองในโคโลราโด ซึ่งบางเมืองอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,100 เมตร

Hirvonen  บอกด้วยว่า อาจเป็นเพราะปริมาณออกซิเจนที่ลดลงตามระดับความสูงส่งผลให้มีลักษณะของภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง หรือการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งยิ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการจำกัดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

ในตอนแรกเขาคิดว่า การปรับตัวทางพันธุกรรมเพื่ออาศัยอยู่ในที่สูงในช่วงหลายชั่วอายุคนอาจช่วยลดความแคระแกร็นได้ แต่ผลการศึกษากลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเส้นกราฟหลังคลอด แสดงผลเป็น เส้นโค้ง ในการเจริญเติบโตของเด็กในพื้นที่ความสูง 1,500 เมตรขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล

อย่างไรก็ตาม เขาแนะนำว่า ควรให้ความรู้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพในการทำงานร่วมกับหญิงตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อควบคุมผลกระทบของความสูงที่มีต่อทารกในครรภ์

ด้าน Kaleab Baye ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการในแอดดิสอาบาบาประเทศเอธิโอเปีย แนะนำว่า "ขั้นตอนแรกคือการคลี่คลายความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนซึ่งเชื่อมโยงระดับความสูง ภาวะขาดออกซิเจนและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์"

"อาหารเปื้อนฝุ่น" แหล่งหล่อเลี้ยงผู้ยากไร้ในฟิลิปปินส์

สถานการณ์เด่นรอบโลก 9 ก.ย. 2563

อัปเดต สถานการณ์โควิด-19 ทั้งในไทยและต่างประเทศทั่วโลก 9 ก.ย. 2563

เรียบเรียงจาก :  CNN Health 

เรื่องที่คุณอาจพลาด
วิดีโอยอดนิยม

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP ประเด็นร้อน

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ