ตามข้อมูลของ ปอท. การฉ้อโกงจากการซื้อขายของออนไลน์ คือ คดีที่มีสถิติสูงที่สุด ตามความผิดในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ปีนี้มีเรื่องเรียนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้รวบรวมสถิติอย่างเป็นทางการ แต่หากย้อนกลับไปในปี 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 608 คดี และปี 2557 600 คดี ตัวเลขนี้ยังรวมคดีที่แจ้งไว้กับโรงพักในพื้นที่ต่างๆ และเรื่องร้องเรียนที่ส่งไปยัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สคบ.
แม้การฉ้อโกงกันทางออนไลน์ จะเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ยาก แต่ก็พอจะมีวิธีการตรวจสอบสถานะของผู้ค้า และประวัติการซื้อขาย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง เพราะนอกจากจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้ซื้อตัดสินใจ ก็ยังเป็นหลักแหล่งที่ทำให้สามารถติดตามหากเกิดเหตุการณฉ้อโกงขึ้น
การตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนร้านค้า ปอท. เปิดเผยว่า หากผู้ค้าใช้เฟซบุ๊คหรือ อินสตาแกรม จะเป็นข้อจำกัดที่ผู้ซื้อจะไม่สามารถตรวจสอบได้ แต่หากเป็นเวปไซด์ให้สังเกตุร้านค้าที่จะมีสัญลักษณ์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและหมายเลขจดทะเบียนแสดงอยู่
อย่างเช่นเวปไซด์นี้ ก็จะมีสัญลักษณ์นี้และหมายเลขจะทะเบียนแสดงอยู่ที่หน้าแรกด้านซ้ายมือ และหากคลิ๊กที่สัญลักษณ์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็จะปรากฎข้อมูลชื่อ ที่อยู่ และเบอร์ติดต่ออย่างชัดเจน
ส่วนประวัติการซื้อขายของร้านค้านั้นๆ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบผู้ค้าที่ใช้เฟซบุ๊คหรืออินสตาแกรมในเบื้องต้นได้ด้วย วิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือ การกรอกชื่อ นามสกุลและเบอร์ติดต่อของผู้ค้าที่ผู้ซื้อจะโอนเงินไปให้ ลงใน google เพราะตามธรรมเนียมของคนที่นิยมซื้อของออนไลน์ หากมีร้านค้าใดมีพฤติกรรมไม่น่าไว้ใจ ก็จะมีการเขียนข้อมูลไว้เตือนกันในเวปไซด์ต่างๆ
ทั้งหมดนี้ แม้จะไม่สามารถช่วยการันตีความปลอดภัยให้ผู้ซื้อขายทางสินค้าทางออนไลน์ได้ร้อนเปอร์เซนต์ แต่ ปอท. ระบุว่า จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่พอจะช่วยลดความเสี่ยงได้