ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำส่งผลต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่ม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินหลังปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 60 ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.7 เปอร์เซ็นต์

วันนี้ (31 ต.ค. 59) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยรายงานคณะกรรมการค่าจ้างมีมติเห็นชอบหลักการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 60 โดยมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 5-10 บาทต่อวันใน 69 จังหวัด โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 60 หากผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามมติคณะกรรมการค่าจ้างจะเป็นการบรรเทาภาระค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อยได้ส่วนหนึ่ง หลังจากไม่ได้ปรับมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ขณะที่ค่าครองชีพที่วัดจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของผู้มีรายได้น้อยเดือน ก.ย. 59 เพิ่มขึ้น 1.5 เปอร์เซ็นต์ จากเดือน ธ.ค. 56 ที่มีการปรับขั้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ โดยจะส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนการพึ่งพิงแรงงานขั้นต่ำในสถานประกอบการว่ามีมากน้อยเพียงใด

อย่างไรก็ตามสำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำอย่างยั่งยืนนั้น ทางฝั่งแรงงานควรที่จะมีการปรับตัวโดยการยกระดับทักษะ พัฒนาฝีมือและคุณภาพแรงงาน ในส่วนของผู้ประกอบการก็ควรยกระดับห่วงโซ่การผลิตไปผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเพื่อให้สอดรับกับทางฝั่งแรงงาน

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ