บทเรียน EIA-EHIA สู่ข้อเสนอตั้งหน่วยงานกลางดูแล


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ และรายงานผลกระทบต่อสุขภาพ หรือ อีเอชไอเอ โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ที่ต้องมาเริ่มต้นทำใหม่ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีกำลังถูกจับตาจากภาคประชาชน เนื่องจากที่ผ่านมาการทำอีไอเอและอีเอชไอเอมักถูกมองว่าขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างแท้จริง การสั่งทำรายงานผลกระทบจากโครงการนี้จึงอาจกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการทำอีเอไอและอีเอชไอเอ

กองหินขาว จังหวัดสตูล เป็นแหล่งปะการังอ่อน 7 สีที่มีความสมบูรณ์และมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย แต่ที่นี่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในรายงานผลกระะทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ของโครงการท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ทั้งที่อยู่ห่างจากจุดทิ้งตะกอนขุดลอกร่องน้ำเพียง 4 กิโลเมตร

นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อธิบายให้เห็นถึงปัญหาว่าข้อมูลที่ถูกนำมาใช้ในการทำ EIA และ EHIA หลายโครงการมักเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

การไม่เปิดเวทีรับฟังความเห็นให้เป็นเวทีสาธารณะทำให้ถูกมองว่า เป็นการกีดกั้นกระบวนการจากภาคประชาชน ยังไม่นับรวมเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานที่เสนอโครงการต้องเป็นผู้ว่าจ้างจัดหาบริษัทเอกชนมาทำรายงานเหล่านี้เอง

ปัญหาทั้งหมดนี้ จึงทำให้เกิดข้อเสนอเรื่องจัดหาหน่วยงานกลาง ขึ้นดูแลการทำ EIA และ EHIA ด้วยความหวังว่าจะเกิดความชอบธรรมมากขึ้น

ปัจจุบันปัญหาการจัดทำรายงาน EIA และ EHIA มีการร้องเรียนผ่านคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มากกว่า 100 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนการทำ EIA และ EHIA ที่ไม่เป็นธรรม

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ