นวัตกรรมไล่ยุงไร้สารเคมี
ยิ่งไปกว่านั้นวิธีการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง กลับสร้างให้เกิดปัญหายุง "ดื้อยา" ส่งผลให้ ศ.ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับทีมวิจัยคิดค้นและศึกษาการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาตินำไปใช้ป้องกันยุงกัด ผ่านแนวคิดใหม่ 3 ประเภท คือ ฆ่าแมลง ไล่แมลง และระคายเคืองแมลง ที่เลือกใช้สารเคมีจากะรรมชาตินำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
“นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไล่ยุงคุณภาพ” มีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัตถุดิบเป็นสมุนไพรจากหญ้าแฝก ผ่านกระบวนการคัดเลือก พัฒนาและทดสอบจนได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน
สาเหตุหลักที่หญ้าแฝกสามารถไล่ยุงได้ เพราะน้ำมันหอมระเหยจากรากของหญ้าแฝกมีฤทธิ์ในการไล่ยุงก้นปล่องและยุงรำคาญได้ดี จึงนำน้ำมันของหญ้าแฝกมาผสมในโลชั่นกันยุง และผลิตภัณต์ต่าง ๆ การป้องกันไม่ให้ตัวเองโดนยุงกัดจะสามารถช่วยลดการเป็นโรคมาลาเลียได้
ระบบพิกัดภูมิศาสตร์แผนที่ยุงในประเทศไทย
ขณะเดียวกัน ทีมวิจัยยังเฝ้าศึกษาการต้านทานสารเคมีของยุงพาหะ และนำพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่พบยุงที่ต้านทานต่อสารเคมีมากำหนดสัญลักษณ์ลงบนแผนที่ของประเทศไทยว่ายุงชนิดไหนพบได้ที่ใดบ้าง โดยนำมาจัดทำในโปรแกรมซอฟแวร์พิเศษอยู่ในระบบพิกัดภูมิศาสตร์ ทำให้ทราบรายละเอียดของยุงที่ต้านทานต่อสารเคมีในพื้นที่ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ประกอบในการกำหนดนโยบายของรัฐ เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมยุงพาหะให้ได้ผลสูงสุด
นอกจากนี้ ประชาชนยังได้ประโยชน์ เพราะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดใช้จริงในชีวิตประจำวัน เช่น การจำแนกชนิดของยุงที่สำคัญ การสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ยุง การจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เทคนิคป้องกันยุงกัด ช่วงใดที่ควรหลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่เสี่ยงที่มีโรคจากยุงระบาด
สมุนไพรอื่น ๆ ที่ช่วยกำจัดยุงร้าย
นอกจากหญ้าแฝกที่สามารถช่วยไล่ยุงได้แล้ว ยังมีสมุนไพร่ชนิดอื่นที่สามารถช่วยไล่ยุงได้อีกด้วย เช่น สะระแหน่, กระเทียม, เปลือกส้ม, มหาหงส์ หรือ หางหงส์, ตะไคร้หอม เมื่อนำสมุนไพรดังกล่าว เมื่อบดขยี้ให้มีกลิ่นออกมาจะสามารถไล่ยุงแบบปลอดสารเคมีได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องกังวลผลกระทบจากการใช้สมุนไพรเหล่านี้ แถมยังมีราคาไม่แพงอีกด้วย