คดี "ยิ่งลักษณ์" บทเรียนนักการเมือง "ประชานิยม"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รศ.ยุทธพร อิสรชัย เผยนักการเมืองจะต้องปรับตัวกับรธน.ปี 60 ชี้การเลือกตั้งเป็นทางสองแพร่ง ฝ่ายกฎหมายพรรคปช.ยันยิ่งลักษณ์ต้องหนีคดีตลอดชีวิต

เมื่อวันที่ (28 ก.ย. 60)   นายราเมศ รัตนะเชวง ฝ่ายกม.พรรคประชาธิปัตย์  เปิดเผยผ่านรายการเป็นเรื่องเป็นข่าวว่า เหตุผลที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องรับผิดทางอาญา  เพราะนโยบายจำนำข้าวนั้นเป็นนโยบายที่ประกาศต่อรัฐสภา  มิได้เป็นนโยบายที่รัฐบาลนั้นประกาศ ดังนั้นถ้าเกิดมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาผู้ประกาศจะต้องรับผิดไม่มีการยกเว้น  ซึ่งเป็นกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลที่เคร่งครัดในเรื่องของนโยบายและศาลชี้ให้เห็นเรื่องทุจริตที่เกิดขึ้นจากนโยบาย ศาลและ ป.ป.ช.สามารถเข้ามาตรวจสอบได้ชี้ให้เห็นถึงการรับผิดชอบของนักการเมืองของกฎหมายทุกฉบับที่อยู่ในประเทศ  ไม่ใช่จะรับผิดชอบการบริหารเพียงอย่างเดียว

คดีนี้สาระสำคัญอยู่ที่มาตรา 25 ที่สอดคล้องกับกฎหมาย ป.ป.ช. คือ จะไม่มีการนับอายุความคดีที่ศาลพิพากษาไปแล้ว รวมถึงการให้โอกาส จำเลย ยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ ศาลฎีกาได้ภายใน 30 วัน แต่จำเลยต้องมาแสดงตัวยื่นอุทธรณ์ต่อศาลเท่านั้น  แต่ต้องมาแสดงตนต่อพนักงานศาลตัวตัวเอง หากไม่มากฎหมายเขียนระบุศาลมีอำนาจปฎิเสธไม่ให้อุทธรณ์

รศ.ยุทธพร อิสรชัย จากมสธ. กล่าวว่า  สิ่งที่สำคัญกว่าบรรทัดฐานของคดีนี้คือ มีกติกาใหม่เกิดขึ้น เช่น รัฐธรรมนูญปี 60 และกฎหมายทางการเมืองฉบับใหม่ ที่นักการเมืองต้องปรับตัวในเรื่องการออกนโยบายประชานิยมหรือการออกนโยบายของพักการรเมืองเพื่อหาเสียง  แต่การตรวจสอบของภาคประชาสังคมยังไม่ได้ให้ความสำคัญ ทั้งในเรื่องการตรวจสอบกระบวนการในการเมืองและการตรวจสอบทางกฎหมาย  เพราะการตรวจสอบทางการเมืองก็เป็นเรื่องของสภาไป ฉะนั้นการตรวจสอบทางการเมืองอาจจะไม่ใช่เรื่องการตรวจสอบของกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของการเหมาะสมหรือไม่ การตรวจสอบด้านกฎหมายก็คือการปฎิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

เรื่องความขัดแย้งของสังคมไทยเป็นลักษณะเชิงโครงสร้าง สะท้อนให้เห็นเมื่อไหร่บรรยากาศทางการเมืองเปิดกว้างมากขึ้น  การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นสำคัญที่สุดอาจจะเป็นทาง 2 แพ่ง อาจจะกลับไปสู่สันติวิธีก็ได้ แต่อีกด้านอาจจะก่อให้เกิดความรุนแรง

กรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลบหนี จะมีผลตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2542 มาตรา 74/1 ระบุไว้ชัดว่า ในบรรดาคดีของ ป.ป.ช. ที่ส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยถึงที่สุด แต่จำเลยหลบหนี ไม่ให้นำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98 ที่ใช้นับอายุความในคดีอาญาทั่วไปมาใช้บังคับ ทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ต้องหลบหนีคำพิพากษานี้ไปตลอดชีวิต ต่างจากฎหมายเดิมที่กำหนดอายุความสำหรับโทษจำคุกหนึ่งปีไม่เกินเจ็ดปี มีอายุความ 10 ปี

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ