หวั่นหอยทากสูญพันธุ์ หลังพบ "หนอนตัวแบนนิวกินี" ระบาดใน 4 จังหวัด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิชาการอิสระมีความกังวลว่าหอยทากไทยอาจเสี่ยงสูญพันธุ์ หากไม่เร่งสำรวจการแพร่ระบาดของหนอนตัวแบน “นิวกินี” และจัดทำข้อมูลจริงจัง เพราะไม่ทราบว่าตอนนี้หนอนชนิดนี้ไปกระจายอยู่ที่ใดบ้าง เพราะอาหารหลักของมัน คือหอยทาก

วันนี้ (8 พ.ย. 60) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแพร่ระบาดของหนอนตัวแบน “นิวกินี” ที่มีการพูดถึงกันมากในเวลานี้ นายนณณ์ ผาณิตวงศ์ นักวิชาการอิสระที่เป็นคนเปิดเผยข้อมูลเป็นคนแรกๆ บอกว่า ล่าสุดมีการแพร่กระจายอยู่ในกรุงเทพมหานคร และอีก 3 จังหวัดคือปทุมธานี นครราชสีมา และสงขลา และอาจจะมีเพิ่มในพื้นที่อื่นๆ อีก แต่ยังไม่พบรายงาน

นายนณณ์บอกว่า ช่วงอายุของหนอนตัวแบน “นิวกินี” อยู่ที่ 1 ปีกว่า เป็นสัตว์สองเพศตระกูล “พลานาเรีย” หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ออกไข่ครั้งละ 5-10 ฟอง ใช้เวลา 7-8 วันฟักเป็นตัว แต่ยังไม่พบรายงานความถี่ในการวางไข่ จากการติดตามพฤติกรรมของมันพบว่าอาหารหลักคือ หอยทาก โดยติดตาม “เมือก” หอยทากที่ปล่อยไว้ จากการสำรวจห่วงโซ่อาหาร  ยังไม่พบว่ามีสัตว์ชนิดใดในไทย กินหนอนตัวแบนนิวกินี เป็นอาหาร แต่มันกินหอยทากเป็นหลัก

นักวิชาการรายนี้ยังอธิบายว่า นอกจากหอยทาก หนอนตัวแบน “นิวกินี” ยังกินไส้เดือนและหนอนชนิดอื่นๆ เป็นอาหาร แต่ตอนนี้หอยทากยังมีปริมาณมาก ทำให้มันเลือกกินหอยทากเป็นหลัก ขณะนี้ไทยยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลสัตว์ต่างถิ่นอย่างเป็นทางการ ทำให้การบริหารจัดการลำบากและการกำจัดสัตว์ต่างถิ่น อาจทำผิดวิธี โดยหนอน “นิวกินี” มีวิธีกำจัดง่ายๆ คือใช้น้ำร้อน เกลือ หรือขี้เถ้าโรยไปที่ตัว โดยห้ามใช้การสับหรือหั่นเพราะแต่ละชิ้นจะเติบโตเป็นตัวใหม่ได้และจะกลายเป็นยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นไปอีก ส่วนปัญหาพาหะนำโรคเบื้องต้นพบว่าอาจนำโรคไข้สมองอักเสบมาสู่คนได้ หากเข้าไปในร่างกายมนุษย์เท่านั้น

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ