งานวิจัยสหรัฐฯเผย ง่วงนอนกลางวันอาจเป็นสัญญาณ “อัลไซเมอร์”

โดย PPTV Online

เผยแพร่

งานวิจัยในสหรัฐอเมริกา เผยอาการง่วงนอนตอนกลางวัน อาจเป็นสัญญาณของโรคอัลไซเมอร์

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักวิจัยจะทราบดีว่าโรคที่มีความซับซ้อนอย่าง อัลไซเมอร์ (Alzeimer’s) เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม หรือปัจจัยทางชีวภาพ เช่น ความชรา แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีนักวิทยาศาสตร์พบว่าพฤติกรรมบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงของอัลไซเมอร์ได้  เช่น งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA Neurology ที่ระบุว่า อาการง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน อาจเป็นสิ่งที่บ่งชี้โรคอัลไซเมอร์ได้  

โดยประสานธิ เวมุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านรังสีวิทยาประจำเมโยคลินิก (Mayo Clinic) ในสหรัฐอเมริกา และทีมนักวิจัย ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างเกือบ 300 คน ที่มีอายุ 70 ปี และไม่มีภาวะสมองเสื่อม โดย 1 ใน 5 มีระบุว่ามีปัญหาง่วงนอนมากในเวลากลางวัน ซึ่งเมื่อเวมุรี เปรียบเทียบสมองของคนกลุ่มนี้ กับอาสาสมัครคนอื่น ๆ ก็พบว่า คนกลุ่มที่ง่วงในเวลากลางวัน มีแนวโน้มว่าจะมีระดับแอมิลอยด์ (amyloid) เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแอมิลอยด์นี้ เป็นโปรตีนที่ทำให้เซลล์ประสาทเสียหาย

นอกจากนี้ การสะสมของโปรตีนแอมิลอยด์ในกลุ่มคนที่ง่วงในเวลากลางวันยังเร็วกว่ากลุ่มที่ไม่รู้สึกง่วง ขณะที่ส่วนของสมองที่มีโปรตีนแอมิลอยด์สะสมมากที่สุด คือ 2 ส่วนที่เรียกว่า แอนทีเรียร์ ซิงกูเลต (anterior cingulate) และซิงกูเลต พรีคิวนุส (cingulate precuneus) ซึ่งผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โดยทั่วไปจะมีระดับโปรตีนแอมิลอยด์สูงในสมองสองส่วนนี้  

ทั้งนี้ นักวิจัยยังระบุไม่ได้ว่า ปัญหาการนอนหลับเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการสะสมของแอมิลอยด์ หรือว่าการสะสมของแอมิลอยด์ทำให้เกิดปัญหาในการนอน แต่ไม่ว่าอย่างไร งานวิจัยนี้ก็ตอกย้ำว่า การนอนหลับที่ดีและมีคุณภาพนั้นสำคัญต่อสุขภาพของสมองแน่นอน

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ