เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2561 ชุดปฏิบัติการปราบปรามการกระทำผิดด้านสัตว์ป่าและพืชป่า หรือ เหยี่ยวดง พร้อมตำรวจปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ปทส. เข้าจับตัวนายฮาริก สาแล พร้อมของกลาง คือนกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า 2 ตัว ขณะส่งนกให้กับสายลับ จากนั้นพาไปค้นห้องพักในซอยรามคำแหง 117 พบนก “หกเล็กปากดำ” นกกางเขนดง หรือบินหลา นกปรอดคอลาย ที่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด จึงนำตัวส่งพนักงานสอบสวน ปทส. ดำเนินคดีข้อหาครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อมีไว้จำหน่าย
สำหรับประวัตินายฮาริกเคยถูกจับในข้อหาเดียวกันเมื่อ 2 เดือนก่อน ที่ สน.บางซื่อ และประกันตัวออกมา แต่ยังทำผิดซ้ำ ซึ่งนายฮาริกสารภาพว่า นกทั้งหมดถูกจับด้วยตาข่ายที่ภาคใต้แล้วส่งมาทางไปรษณีย์มาที่ กทม.
ตามข้อมูลของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 261 อาศัยเฉพาะถิ่นในป่าจ.ยะลา นราธิวาส หายากและมีเสียงเพราะ จึงมีผู้นิยมเลี้ยง ล่าสุดมีการซื้อขายกันตัวละ 500 บาท
ด้าน น.ส.กาญจนา นิตยะ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ระบุว่า กลุ่มลักลอบค้าสัตว์ป่าในสื่อออนไลน์ ปรับแผนการขายเป็นแบบพรีออเดอร์ โดยโพสต์ลงเฟซบุ๊กก่อน แล้วจ้างพรานท้องถิ่นหรือคนรู้จัก เข้าไปในป่าเพื่อตามหาสัตว์ป่าตามใบสั่ง
แต่จากข้อมูลของแทรฟฟิกว่าไทยเป็นตลาดใหญ่การค้าสัตว์ป่าหายากทางสื่อออนไลน์ โดยมีสถิติรอบ 1 เดือน พบการขายกว่า 1,500 รายการ น.ส.กาญจนา ชี้แจงว่าเป็นข้อมูลเก่าตั้งแต่ปี 2559 เพราะสถิติการจับกุมล่าสุดของชุดเหยี่ยวดง ตั้งแต่ 1 ตุลาตม 2560 – 15 ส.ค. 2561 จับกุมคนค้าสัตว์ป่าได้ 38 คน จำนวนคดี 37 คดี ซึ่งพบการค้าสัตว์ป่าออนไลน์เพียง 10 คดี
ส่วน 5 ลำดับสัตว์ป่าของกลางในคดีคือ 5 ลำดับ สัตว์ป่าคุ้มครองของกลางในคดี คือ เต่านามาลายู 119 ตัว นกปรอดหัวโขน 101 ตัว เต่านาอินโดจีน 89 ตัว นกขุนทอง 86 ตัว นกกวัก 50 ตัว
แต่จากข้อมูลเชิงลึกของเหยี่ยวดง พบว่า ตลาดการลักลอบค้าสัตว์ป่า นากกำลังได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้อยากเลี้ยง เพราะเป็นกระแสมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะนากเล็กเล็บสั้น เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 129 แต่ที่ญี่ปุ่นไม่มีกฎหมายห้าม
ติดตามข่าววันนี้ได้ที่นี่ >> //www.pptvhd36.com/special/ข่าววันนี้