นายศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาป้องกันและจัดการภัยพิบัติ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโลหะหนักในฝุ่นละออง PM 2.5 ที่วัดได้ในชั้นบรรยากาศทั่วกรุงเทพมหานครเป็นเวลา 1 ปีที่ผ่านมา จากสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองในอากาศ 7 จุดหลักของกรมควบคุมมลพิษ ระยะเวลา 1 ปี พบธาตุทางเคมีที่เป็นโลหะหนัก ซึ่งเป็นธาตุก่อมะเร็งปะปนอยู่ในอากาศ ระดับต้องเฝ้าระวังอยู่ถึง 3 ชนิด คือ สารหนู ซีลีเนียม แคดเมียม โดยกลุ่มธาตุพวกนี้เกิดจากการเผาไหม้ของอุตสาหกรรมและยานพาหนะ
เมื่อดูจากตารางที่ใช้ในการวัดค่า ซึ่งทีมวิจัยใช้เกณฑ์มาตรฐานสากล สารหนู ชื่อทางเคมีคือ As มาตรฐานต้องปนเปื้อนในอากาศต่ำกว่า 6.12 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตรวจวัดได้ 4.59 / ซีลีเนียม หรือ Se ค่ามาตรฐานคือ 2.66 ตรวจวัดได้ 2.71 และ แคดเมียม ค่ามาตรฐานต้องไม่เกิน 4.16 แต่วัดได้ถึง 19.8 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์ อาจารย์ศิวัช ระบุว่า ข้อมูลนี้ไม่เคยถูกเปิดเผย เพราะกรมควบคุมมลพิษ มีค่ามาตรฐานของโลหะหนักปนเปื้อนในอากาศเพียงชนิดเดียวคือสารตะกั่ว จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลต่อสุขภาพคนไทย ที่สูดเอาโลหะหนักในอากาศเข้าไปอย่างไม่รู้ตัว
แพทย์ศิริราช เตือน ใส่หน้ากาก N95 ออกกำลังกาย ยิ่งเพิ่มอันตราย!
ถึงตาย !! ฝุ่นPM 2.5 หากสะสมปริมาณมาก ชี้ เด็ก-คนชรา-คนมีโรคประจำตัว กลุ่มเสี่ยง
กรีนพีซ คาด "มลพิษข้ามพรมแดน"สาเหตุฝุ่นพิษใน กทม.
แถลงการณ์นายกฯ ย้ำ 9 มาตรการเร่งด่วนแก้ฝุ่นพิษ กทม.
ขณะที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะโซนทวีปยุโรป มีค่ามาตรฐานการวัดโลหะหนักกำกับอยู่ถึง 50 ชนิด รวมทั้งค่าสารปรอท แคดเมียม สารหนู และสารไดอ็อกซิน ซึ่งเป็นธาตุโลหะหนักก่อมะเร็งรุนแรง เกิดจากการเผาไหม้จากอุตสาหกรรมและยานพหนะ เผาขยะ และเผาถางพื้นที่เพาะปลูก และนอกจากธาตุโลหะหนักที่เปิดเผยล่าสุดนี้ คณะวิจัยยังได้เก็บค่าระดับความเข้มข้นของโลหะหนักในฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 จากสถานีตรวจวัดฝุ่นละออง ตั้งอยู่บริเวณที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลา 2 ปี ยังพบธาตุโลหะหนักเพิ่งมอีก 2 ชนิดคือ ทังสเตน และ
แคดเมี่ยม โดยธาตุ 2 ชนิดนี้ อาจารย์ศิวัช ชี้ว่าพบในส่วนผสมของโลหะดิสก์เบรกยานยนต์ จึงอยากให้ภาครัฐเร่งทบทวนมาตรการลดการใช้ยานพาหนะในกรุงเทพมหานคร ฯเพราะปริมาณโลหะหนักที่ปนเปื้อนในอากาศตอนนี้ ทั้งหมดมีฤทธิ์ก่อมะเร็งในร่างกายได้หากสะสมไว้ปริมาณมาก