เปิดประวัติ “อภิสิทธิ์” กับชีวิตที่ไม่ราบรื่น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ผู้ครองตำแหน่งมายาวนานถึง 14 ปี เขาเติบโตมาจากตระกูลหมอ เพราะทั้งบิดาและมารดาต่างก็ประกอบอาชีพแพทย์

“อภิสิทธิ์” คล้ายถูกบ่มเพาะมาให้เป็นนายกรัฐมนตรีของไทย เพราะตั้งแต่เด็กเขาเรียกที่ประเทศอังกฤษในโรงเรียนระดับสูงอย่าง “อีตัน”  จากนั้นจึงได้เรียนต่อในระดับ ปริญญาตรีในสาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด  โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาวิชานี้ ต่อจากพระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) จากนั้นเขาได้กลับมาเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ก่อน จะกลับไปเรียนต่อปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดอีกครั้ง จากนั้นจึงกลับมาเป็นเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[21]
 
ส่วนเส้นทางทางการเมืองของอภิสิทธิใช่วงต้นเรียกได้ว่าสวยสดงดงามอย่างยิ่ง  เขาเริ่มอต้นด้วยการเป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับพิชัย รัตตกุล ได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้กับชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น  และลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี  และเป็นหนึ่งเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ใน กทม. ที่ฝ่ากระแส “จำลองฟีเวอร์" เข้ามาได้ และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เขาก็ได้ร่วมคัดค้านการสืบทอดอำนาจของพลเอก สุจินดา คราประยูร

คอนเทนต์แนะนำ
เปิดประวัติ "มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ" วันที่กลับลงสนามการเมือง
เปิดประวัติ “อนุทิน ชาญวีรกูล” วันที่เป็นนักการเมืองอาชีพ

ส่วนตำแหน่งทางการเมืองอื่นเขาเคยเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย   ต่อมาในปี 2548 พรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้แพ้เลือกตั้งแก่รัฐบาลไทยรักไทย  นายอภิสิทธิ์ จึงได้เป็นหัวหน้าพรรค 

อย่างไรก็ตามในปี 2549 เขาได้นำประชาธิปัตย์บอยคอตต์การเลือกตั้ง  จากนั้นในการเลือกตั้งปี 2550  ประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของเขาก็พ่ายแพ้แก่พรรคพลังประชาชน  แต่ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญก็ตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน ทำให้ “อภิสิทธิ์” ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ภายใต้ข้อครหาจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร

คอนเทนต์แนะนำ
เปิดประวัติ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" แคนดิเดตนายกฯ แค่ทางผ่าน
ประวัติ "ไพบูลย์ นิติตะวัน" ผู้ยืนหยัดหนุน "ลุงตู่" นั่งนายกฯ

ในช่วงที่เขาเป็นนายกฯ ต้องเผชิญกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงถึงสองครั้งคือปี 2552 และ 2553 และเกิดโศกนาฏกรรมขึ้นในปี 2553 เมื่อการชุมนุมครั้งนั้นมีคนตายเป็นจำนวนมาก 
หลังการเลือกตั้งปี 2554 เขาพ่ายแพ้ต่อพรรคเพื่อไทย แต่ก็ยังได้รับความไว้วางใจให้เป็นหัวหน้าพรรคต่อและดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน และต่อมาวิกฤตการเมือง 2556 – 2557 พรรคประชาธิปัตย์ก็บอยคอตต์การเลือกตั้งอีกครั้ง ขณะที่ ส.ส. จำนวนหนึ่งก็ไปเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมกับกลุ่ม กปปส. ซึ่งเป็นผลให้เกิดการรัฐประหารปี 2557 
อย่างไรก็ตามในปี 2561 เขาได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เขามีคู่แข่งคือ น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม และ นายอลงกรณ์ พลบุตร  
และครั้งนี้เขามีท่าทีที่แข็งกร้าวขึ้นและปฏิเสธการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหาร 

อย่างไรก็ตามหลังการเลือกตั้งปี 2562  แม้ผลการเลือกตั้งจะไม่ออกอย่างเป็นทางการ แต่ก็ชัดเจนว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ได้ตามเป้า เขาจึงประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคในวันที่  24 มี.ค. 2562 

คอนเทนต์แนะนำ
เปิดประวัติ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ผู้ปรารถนาจะเป็น "นายกฯ"

ทั้งนี้ผู้ชมสามารถติดตามการประชันวิสัยทัศน์ ผ่าสนามเลือกตั้ง ดีเบตโฉมหน้ารัฐบาลใหม่ ได้ในวันที่ 6 มีนาคม 2562 เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป  
 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ