นิด้าโพล เปิดผลสำรวจ "อยากได้ใครเป็น ผู้ว่าฯกทม." ล่าสุดเมื่อ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา ผลโพลเผย ชื่อ "ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ยืนหนึ่ง ครองใจคนกรุงฯ มาแรงอันดับ 1 ตั้งแต่เริ่มทำโพล
หากการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นในต้นปี 2565 ตามคาดการณ์ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" มาแรง เป็นตัวเลือกแรกๆของคนกรุงเทพฯ
พีพีทีวี นิวมีเดีย เปิดมุมมอง ของ "ชัชชาติ" ที่ออกมาให้ความเห็น โชว์ไอเดียเรื่อง การรับมือภัยพิบัติ ถอดบทเรียนจากกรณีไฟไหม้โรงงานหมิงตี้ จ.สมุทรปราการ
โพลคนกรุงฯเลือก ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ "ชัชชาติ" มาแรง นำทุกเขต "จักรทิพย์" ตามติด
สนับสนุน !! “เพื่อไทย” พร้อมดัน “ชัชชาติ” ชิงผู้ว่าฯกทม.
"ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ศึกษา กรณีเกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้เคมีคอล จำกัด โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก ที่ตั้งอยู่ในซอยกิ่งแก้ว 21 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา
ภัยพิบัติครั้งนั้นสร้างผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่ในรัศมีประมาณ 5-10 กิโลเมตรรอบโรงงาน เนื่องจากควันดำของเพลิงไหม้ได้นำพาเอามลพิษลอยไปในอากาศ เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการสูญเสียเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 นาย รวมทั้งทรัพย์สินประชาชนโดยรอบเสียหาย และใช้เวลามากกว่า 24 ชั่วโมง จึงจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ชัชชาติบ เผยว่า ตนและทีม เพื่อนชัชชาติสนใจในเหตุการณ์นี้ เพราะถือเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่นำมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ขณะเดียวกันได้เห็นถึงความไม่พร้อมในการแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ รวมถึง เรื่องความไม่เข้มงวดของกฎหมายผังเมืองที่ปล่อยให้โรงงานเก็บสารเคมีอันตรายสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนในระยะอันใกล้โดยปราศจากมาตรการควบคุม และ ความไม่พร้อมในการรับมือจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นรวมถึงไม่เห็นถึงมาตรการเยียวยาและการบรรเทาผู้ที่ได้รับความเสียหายอย่างเป็นรูปธรรม
"เรื่องดังกล่าวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีต้องมีการทบทวน และมีการถอดบทเรียนการเกิดภัยพิบัตินี้มาเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมและมองให้เห็นช่องว่างที่เป็นปัจจัยลบ อันจะมีผลกระทบในระยะยาวและทำการอุดช่องว่างนั้นๆ เพื่อสามารถป้องกันไม่ให้เกิตเหตุดังกล่าวขึ้นอีกในอนาคต"
“เราได้นำบทเรียนในครั้งนี้มาเป็นกรณีศึกษาเพื่อสร้างหัวใจของการรับมือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกที่ ซึ่งปัจจุบันกรุงเทพฯ มีที่ดินประเภทอุตสาหกรรมหรือโซนสีม่วงอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ 1.นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง 2.ชายทะเลบางขุนเทียน และ 3.เอกชัย-บางบอน
เพื่อนชัชชาติ จึงได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายมาเป็นแนวทาง ได้แก่ 3 พร้อม 5 กำแพง+ 1 เยียวยา โดยแบ่งออกเป็น
พร้อมที่ 1 คือ ก่อนเกิดเหตุ มี 2 กำแพงที่ควรคำนึงถึง คือ กำแพงที่ 1 การพิจารณาเรื่องผังเมืองและการจัดการพื้นที่ กำแพงที่ 2 คือ การจัดเก็บวัตถุอันตราย
พร้อมที่ 2 คือ ช่วงเกิดเหตุ มี 3 กำแพงที่จำเป็นต้องพิจารณา คือ การระงับเหตุด้วยตนเอง เป็นกำแพงที่ 3 กำแพงที่ 4 คือ การระงับเหตุจากหน่วยงานรัฐ และ กำแพงที่ 5 คือ การอพยพ
ส่วน พร้อมที่ 3 คือ หลังเกิดเหตุ สิ่งต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือ มาตรการการเยียวยา โดยวิเคราะห์จากนโยบายของแผนปฏิบัติการ ป้องกันและบรรเทาภัยจากอัคคีภัยกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ.2563 และแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยจาก สารเคมีและวัตถุอันตรายกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ.2563
การศึกษาของ "ทีมชัชชาติ" เรื่อง ผังเมืองและการจัดการพื้นที่ นั้น เราพบว่ามีการอนุญาตให้โรงงานหมิงตี้ขยายพื้นที่และกำลังในการผลิตซึ่งขัดกับผังเมือง อีกทั้งยังไม่พบการเผยแพร่การประเมินหรือแผนที่ความเสี่ยงรอบโรงงาน ทำให้ขาดการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับสุขลักษณะและความปลอดภัยของประชาชนโดยรอบ
เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามจำแนกประเภท การดำเนินการที่ถูกต้องนั้นควรจะจัดทำแผนที่และประเมินความเสี่ยงในทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ หากพื้นที่นั้นมีความเสี่ยงสูงและการใช้ประโยชน์ที่ดินผิดต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดดำเนินการต่อไป โดยการบังคับใช้กฎหมายต้องเป็นไปตามกฎหมายที่แท้จริง
ในส่วนของ การจัดเก็บวัตถุอันตราย พบว่าโครงสร้างอาคารที่ใช้จัดเก็บสารสไตรีนโมโนเมอร์ของโรงงาน หมิงตี้ ไม่สามารถจำกัดความรุนแรงในการเกิดเหตุหรือป้องกันการระเบิดได้ ทำให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของภัยพิบัติในครั้งนี้ จึงควรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยการประสานงานร่วมกับกรมโรงงานให้ดำเนินการตรวจสอบระบบการป้องกันอัคคีภัย การเก็บรักษา และระบบความปลอดภัยของวัตถุอันตรายที่อยู่ในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งข้อมูลวัตถุอันตรายควรเป็นสาธารณะ ง่ายต่อการเข้าถึง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับประชาชน
ส่วนเรื่อง การระงับเหตุด้วยตนเอง สารเคมีที่ระเบิดและไฟไหม้ที่ลุกลามเป็นวงกว้างนั้น เกิดจากมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในโรงงานไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
ในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่ควรรอความช่วยเหลือ ทุกโรงงานจะต้องมีระบบอัตโนมัติในการจัดการตัวเอง จึงเสนอให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับ พรบ.ควบคุมอาคาร เพื่อขยายอำนาจในการลงพื้นที่หรือส่งต่อให้เอกชนดำเนินการตรวจสอบ รวมถึงจัดทำแผนดำเนินการเชิงรุกตรวจสอบมาตรการระงับเหตุของโรงงานต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
ทางด้าน การระงับเหตุจากหน่วยงานรัฐ "ชัชชาติ" จากเหตุการณ์นี้จะเห็นถึงความไม่พร้อมใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.อุปกรณ์เผชิญเหตุของเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บและเสียชีวิต 2.ข้อมูลสาเหตุของต้นเพลิง ทำให้การระงับเหตุเป็นไปด้วยความล่าช้า 3.การสื่อสารที่สับสน เนื่องจากขาดความรวดเร็วและสม่ำเสมอ การแก้ไขคือเพิ่มความตื่นตัวในการทำงานเพื่อการระงับเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมอุปกรณ์ การซักซ้อม แนวทางการสื่อสารกับประชาชนทั้งเนื้อหาและความถี่
รวมถึงจัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราวให้พร้อมอยู่เสมอ ตลอดจนเรียกข้อมูลตามกำแพงที่ 1 มาใช้วิเคราะห์เหตุการณ์
สุดท้ายคือเรื่อง การอพยพ กรณีไฟไหม้โรงงานหมิงตี้ พบว่าประชาชนได้รับความสับสนเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่มีระบบแจ้งเตือนและแนวทางให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย อีกทั้งการออกคำสั่งให้อพยพและการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวไม่สอดคล้องกัน ทำให้การอพยพเป็นไปด้วยความไม่แน่ใจรวมถึงการจราจรที่เป็นปัญหา
เพื่อเป็นการอุดรูรั่วปัญหานี้ ผู้อำนวยการที่มีอำนาจสูงสุดจึงควรมอบหมายไปยังผู้มีอำนาจในพื้นที่เพื่อความคล่องตัวในการสั่งการเพื่ออพยพ มีการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว รวมถึงเส้นทางการเดินทาง ซึ่งข้อมูลสถานที่ในการอพยพควรดำเนินการรวบรวมและจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะแนวทางการสื่อสารกับประชาชน
ในด้านของ มาตรการเยียวยา ที่เหตุการณ์นี้ได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่า 60 วัน แต่มาตรการความช่วยเหลือยังคงไม่ชัดเจนและกระจัดกระจาย การเยียวยาเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงไม่มีการตรวจสุขภาพของประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับผลกระทบ แท้จริงแล้วภาครัฐควรดำเนินการเชิงรุกให้มากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจความเสียหาย รวบรวมสิทธิประโยชน์ ติดตามการชดเชย ตลอดจนประสานความร่วมมือไปยังสำนักอนามัยและสำนักการแพทย์ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพ เพื่อประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
นอกจากแนวทางการรับมือภัยพิบัติแล้ว ผู้มีอำนาจหรือผู้บริหารสูงสุดควรจะต้องมีการวางแผนสถานการณ์ในอนาคต หรือ Scenario Planning โดยจะต้องสามารถคาดการณ์สถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นข้อมูลและการเตรียมความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญ ต้องครอบคลุมทั้งแผนการ อุปกรณ์ บุคลากร ทรัพยากร ตลอดจนซักซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
อีกหนึ่งหัวใจที่สำคัญคือ ทุนทางสังคม หรือ Social Capital ที่เรียกกันว่าเครือข่ายประชาชน โดยรัฐต้องให้ความสำคัญและมองว่าประชาชนคือแนวร่วมไม่ใช่ภาระ โดยให้ความรู้ใน 5 เรื่อง ได้แก่
1.รู้ภัย-เข้าใจความเสี่ยงในพื้นที่
2.รู้ช่วย-ว่าต้องติดต่อใครหากต้องการความช่วยเหลือในพื้นที่
3.รู้ฟัง-รู้จักช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากรัฐ
4.รู้รัก-ดูแลคนรอบตัวเอง
และ 5.รู้รอด-การเตรียมตัวในภาวะฉุกเฉิน
"รัฐต้องไว้ใจและกระจายอำนาจ เพราะหากทำได้ประชาชนจะกลายเป็นพลังให้กับรัฐ กลายเป็นทุนในการแก้ปัญหาซึ่งสามารถต่อยอดไปยังภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ สารเคมีรั่วไหล น้ำท่วม หรือแม้กระทั่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้" มุมความคิกจากชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ไทยยังได้ความน่าเชื่อถือ BBB+ จาก S&P มองอีก 2 ปี เศรษฐกิจกลับไปเท่าก่อนโควิด-19
“ชัยวุฒิ” ขอศึกษา ดันบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย ชี้ ลดอันตรายให้กับผู้สูบ