Soft Power คืออะไร นิยามคำนี้ให้เห็นภาพชัดๆ ก่อน โดย ดร.ไพบูลย์ ปิตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกตัวอย่างว่า ในกรณีซีรีส์เกาหลีถ้าสนุกอยู่เรื่องเดียว แล้วได้รับความนิยมไปทั่วโลก สักพักกระแสก็จะจางหายไป แต่ปัจจุบันซีรีส์เกาหลีกลายเป็นแบรนด์ดิ้งไปแล้ว คือ
กุญแจสำคัญ ดัน Soft Power อุตสาหกรรมบันเทิงไทยให้โต
"Soft Power เกาหลีใต้" ปั้นให้ทรงพลังได้ภายใน 20 ปี
ไม่ว่าจะผลิตเรื่องใดออกมาก็เกิดกระแสได้เกือบทั้งหมด ประเด็นจึงไม่ได้อยู่ที่ซีรีส์เรื่องเดียวแต่อยู่ที่วงการละครเกาหลี เพราะฉะนั้นถ้าจะต้องการเกิดพลังของความเป็น Soft Power จะต้องทำให้เป็นระบบ
ไทยมีทรัพยากร (Resources ) สร้าง Soft Power ได้แต่ไม่รู้จักวิธีที่จะแปลงออกมาเป็น Soft Power
ดร.ไพบูลย์ อธิบายว่า ก่อนอื่นไทยต้องแยก Soft Power ออกจาก Influence หรือการมีอิทธิพลเหนือคนอื่นก่อน ความสำคัญของ Soft Power คือ การใช้ความคิด ค่านิยม วัฒนธรรม ความรู้ ประเพณี ให้อีกฝ่ายเห็นดีเห็นงามกับเราด้วย ซึ่งไทยมี Resources หรือ ทรัพยากรที่จะมาสร้าง Soft Power อยู่หลากหลายมาก แต่ติดตรงที่ไม่รู้จักวิธีที่จะแปลงออกมาเป็น Soft Power
อันดับแรกจึงต้องมาดูก่อนว่า ไทยมีทรัพยากรอะไรบ้าง ที่แข็งแรงมากพอที่จะผลักดันให้เป็น Soft Power ได้ ซึ่งไทยเคยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ทรงพลังด้านวัฒนธรรมในปี 2560 ในอันดับที่ 17 จาก 80 ประเทศ และเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์
- ด้านวัฒนธรรม เช่น นาฏศิลป์ อาหารไทย
- ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งไทยได้เปรียบตรงที่ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของไทยมีความเป็น Natural Resources คือทรัพยากรธรรมชาติในตัวเองมีความสวยงามอยู่แล้ว เช่น ทะเลทางภาคใต้ ทำให้เกิดชื่อเสียงไปทั่วโลก ซึ่งไทยแข็งแกร่งมากในด้านนี้
- ด้านการกีฬา เช่น เมย์ รัชนก เทนนิส นักเทคควันโด
- ด้านอุตสาหกรรมบันเทิงของไทยที่สามารถใช้วิธีการเดียวกับเกาหลีใต้ได้
ประเด็นคือทำอย่างไรให้ทรัพยากรที่กล่าวมานี้ไปไกลจนเกิด Soft Power
เปิดคะแนน “Global Soft Power Index 2022” ไทยขยับขึ้น อันดับ 35 ของโลก
“ประยุทธ์” ผลักดัน Soft Power จับมือเอกชนส่งเสริม ตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรม
ดร.ไพบูลย์ บอกว่า ควรมีองค์ประกอบ 3 อย่างที่ร่วมมือกัน คือ
ภาคธุรกิจเอกชน B : Business ซึ่งเขาไม่สามารถเดินไปเองได้โดยลำพัง โดยเฉพาะการ Cross section ระหว่างทรัพยากร เช่น ความเชื่อมต่อกันระหว่างอุตสาหกรรมดนตรี กับ อุตสาหกรรมละคร หรือ อุตสาหกรรมอาหาร วัฒนธรรม
ผู้ที่จะเข้ามา (Integrate) บูรณาการตรงนี้ได้ คือ ภาครัฐ G : Government เพื่อผลักดันให้ทรัพยากรที่มีเติบโตไปได้เป็นแบบกองทัพสินค้า
หากยกตัวอย่าง ของเกาหลีใต้จะมีหน่วยงานที่ชื่อว่า KOCCA ( The Korea Creative Content Agency ) ซึ่งปัจจุบันมาตั้งสำนักงานอยู่ในประเทศไทย เป็นหน่วยงานภาครัฐของเกาหลีใต้ ที่สนับสนุนการสร้าง Soft Power ของประเทศ เหมือนเป็นตัวกลางในการ บูรณาการทรัพยากร และผลักดันไปพร้อมๆ กัน ทั้งภาครัฐ กระทรวงการค้า กระทรวงการส่งออก ธนาคาร
ยกตัวอย่างเช่น เอกชนเกาหลีใต้แห่งใดต้องการส่งเสริมคอนเทนต์ประเภทใดเพื่อการส่งออก สามารถไปคุยที่ KOCCA ได้เลยทีเดียวจบ จากนั้น KOCCA จะบูรณาการต่อให้เองไม่ต้องไปยื่นเรื่องเองทีละที โดยธุรกิจหลักที่ KOCCA จะเข้ามาช่วยคือด้านสื่อบันเทิงทุกแขนง ดนตรี เกม การ์ตูน แอนิเมชัน แฟชั่น ครีเอทีฟด้านต่างๆ
ตามความเห็นของ ดร.ไพบูลย์ มองว่า หากไทยต้องการสร้าง Soft Power แล้วต้องการคำแนะนำก็สามารถให้คนเกาหลีใต้มาเทรนด์ เพราะเรามีทรัพยากรอยู่แล้ว ซึ่งเป็นมุมมองของคนต่างชาติที่เห็นความสามารถในตัวทรัพยากรของเราเพื่อให้คำแนะนำในการสร้าง Soft Power อาจเป็นในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (GTOG)
ดังนั้นแล้ว ภาครัฐ จึงมีความสำคัญมากในบทบาทของการจัดองค์กรภายในประเทศ เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบให้เป็นระบบ ต่อมาคือเปลี่ยนโครงสร้างจัดตั้งกลไก และให้กรรมการสามารถบูรณาการได้ทุกกระทรวง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงการด้านเศรษฐกิจต่างๆ เนื่องจากเราไม่มีองค์กรหลักที่เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอทรัพยากรด้าน Soft Power รวมถึงไทยไม่มีนโยบายที่เป็นกฎหมาย หรือแผนพัฒนาวัฒนธรรมแห่งชาติ
เจาะปรากฏการณ์“มิลลิ”ปลุกกระแส“ข้าวเหนียวมะม่วง” ถูกพูดถึงอย่างไรบ้าง
“มิลลิ” สร้างประวัติศาสตร์ พาเพลงไทยขึ้นเวที Coachella 2022 กินข้าวเหนียวมะม่วงโชว์
ปัญหาของเราคือพอจะโปรโมทสักเรื่องหนึ่ง ไม่รู้ว่าจะต้องติดตามประสานงานที่ใคร แต่หน่วยงานในรูปแบบ KOCCA จะสามารถคุยและประสานงานได้ทั้งหมดทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะเวลาได้ประโยชน์จาก Soft Power ได้ทุกกระทรวง ยกตัวอย่าง เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง หากได้รับการผลักดัน การท่องเที่ยวก็ดีขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมผลิตสินค้าได้มากขึ้น กระทรวงพาณิชย์ขายของได้มากขึ้น กระทรวงเกษตรฯ ได้ประโยชน์กับชาวนา ชาวสวน หรือกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ ต่อยอดทำวิจัยพันธุ์ข้าวเหนียว พันธุ์มะม่วง ฯลฯ เพราะฉะนั้นทุกได้ประโยชน์หมดถ้ามันดี แต่ทุกคนรอที่จะรับประโยชน์แต่ไม่ได้ทำงานร่วมกันเลย เพราะฉะนั้นด้านโครงสร้างเป็นปัญหาหลักเลยทำให้ตัว B (ภาคธุรกิจเอกชน B : Business) ถูกทอดทิ้ง
ต่อมาคือ C (พลเมือง C : Citizen) โดยยกตัวอย่างเกาหลีใต้ จะใช้การทูตสาธารณะ โดยใช้พลเมืองเกาหลีที่มีโอกาสออกไปอาศัยอยู่ในต่างประเทศเป็นทูตในการถ่ายทอดวัฒนธรรมได้ โดยคนเกาหลีใต้ทุกคนเป็นทูตไปในตัวอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการส่งออกบุคลากรไปต่างประเทศเป็นการทำการทูตโดยอัตโนมัติ โดยเกาหลีใต้อยู่ภายใต้ Official development assistance (ODA) การให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนากับประเทศที่ยังด้อยพัฒนา ภายใต้องค์กร KOICA โดยมีวัตถุประสงค์ว่าประเทศใดที่เคยรับเงินช่วยเหลือจากประเทศที่พัฒนาแล้ว จนสามารถขึ้นมาสู่ระดับที่พัฒนาแล้ว เกาหลีใต้จึงต้องเข้าช่วยเหลือประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเกาหลีใต้จะใช้วิธีการส่งเป็นบุคลากร เช่น แพทย์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในรูปแบบอาสาสมัคร และคนกลุ่มนี้ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ การทูตสาธารณะ มีการอบรมจาก KOICA จากนั้นต้องเขียนรายงานกลับไปว่า สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมเกาหลีให้กับคนประเทศนั้นได้มากแค่ไหน โดยต้องมีความถนัดอีกหนึ่งสาขาในเชิงวัฒนธรรมเกาหลีใต้ เพื่อถ่ายทอดให้คนในประเทศที่ถูกส่งตัวไป
ถ้าวันหนึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบาย Soft Power แต่พลเมืองยังไม่เดินตาม รัฐควรกระตุ้นให้พลเมืองเข้าใจว่าตัวเองคือ ทูตวัฒนธรรม ในตัวอยู่แล้ว
ส่องความสำเร็จ "Squid Game" แรงส่งซีรีส์เกาหลีให้คนทั่วโลกรู้จักมากขึ้น
กระแสซีรีส์ “Squid Game” ทำต่างชาติแห่เรียนภาษาเกาหลี
สำหรับประเทศไทยอย่างที่กล่าวไป ทรัพยากรแต่ละด้านที่เรามีล้วนมี คุณค่า มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ซึ่งหลายครั้งก็ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก ถูกจัดอันดับต้นๆ ของโลก ในด้านต่างๆ เพราะฉะนั้น ณ วันนี้ ในหลายๆประเทศที่มีอิทธิพลของ Soft Power มีพลังอย่างมากในการขับเคลื่อนทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หากความร่วมมือของทั้ง 3 กุญแจสำคัญ BGC เกิดขึ้นจริง Soft Power ประเทศไทย ก็คงไม่แพ้ชาติใดในโลก