สวนสัตว์ดุสิต เปิดตัวสมาชิกเกิดใหม่ “ลูกนกแก๊ก”
สวนสัตว์เขาเขียว ลด 20% วันธรรมดาน่าเที่ยว "เอาใจคนรักสัตว์..เที่ยววันพุธ"
เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2565 นายเทวินทร์ รัตนะวงศะวัตผู้อำนวยการสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เปิดเผยว่า นายธนกร ไชยอรรถ กำนันตำบลเกาะกูด และนางสาวอุฬาริกา กองพรหม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวนสัตว์เปิดเขาเขียว สังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันเปิดการทดลองปล่อยนกแก๊กคืนสู่ป่าห้วงน้ำเขียว ภายใต้“โครงการปล่อยนกแก๊กคืนสู่ธรรมชาติและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์บนเกาะกูด”
โดยในครั้งนี้ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเกาะกูด โดยได้รับการสนับสนุนจาก Soneva Foundation
นางสาวอุฬาริกา กล่าวว่า ทั่วโลกมีนกเงือกทั้งหมก 57 ชนิด ในประเทศไทยสามารถพบนกเงือกได้ถึง 13 ชนิด ซึ่ง นกแก๊ก ถือว่าที่เป็นนกเงือกที่มีขนาดเล็กที่สุดที่พบในประเทศไทย และเป็นชนิดที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี อีกทั้งสวนสัตว์เปิดเขาเขียว องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย สามารถเพาะขยายพันธุ์ในกรงเลี้ยงได้ ปัจจุบันนกเงือกในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในสถานภาพที่ถูกคุกคาม ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการถูกล่า ทำให้นกเงือกสูญพันธุ์ไปจากหลายพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งบนเกาะกูดแห่งนี้ด้วย การทดลองปล่อยครั้งนี้จะปล่อยนกแก๊กจำนวน 1 คู่ ที่ตัวผู้ติดเครื่องรับสัญญาณวิทยุติดตามตัว เพื่อการติดตามหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
ที่ปรึกษาอนามัยโลกคาด “ฝีดาษลิง” อาจระบาดหนักเพราะ “เพศสัมพันธ์”
โควิด 10 จังหวัดสูงสุด "บุรีรัมย์ - นนทบุรี - สมุทรสาคร" เกินร้อยราย
สำหรับการทดลองปล่อยนกแก๊กครั้งนี้ เพื่อที่จะศึกษาถึงการปรับตัวของนกแก๊ก ต่อพื้นที่ป่าบนเกาะกูด เนื่องจากนกในกลุ่มนกเงือกกินผลไม้เป็นอาหารหลักและสัตว์ขนาดเล็กหลายชนิด นกเงือกจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยกระจายพรรณไม้และควบคุมประชากรสัตว์ขนาดเล็กทำให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศได้ ในอดีตเกาะกูดเป็นพื้นที่ธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนกแก๊ก แต่ปัจจุบันไม่พบนกแก๊กบนเกาะกูดมาหลายปีแล้ว
ทั้งนี้จากการสำรวจเบื้องต้นของโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก พบว่า “เกาะกูด” ยังคงมีพืชพรรณหลากชนิดที่เป็นอาหารของนกเงือกอยู่ และมีต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพที่จะติดตั้งโพรงรังเทียมเพื่อให้นกแก๊กทำรังและสืบเผ่าพันธุ์ต่อไปบนเกาะกูดได้ตามธรรมชาติ เกาะกูดจึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการดำเนินโครงการปล่อยนกแก๊กคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนต่อไป
นายกฯ ตั้งเป้าปี 2570 ลดอุบัติเหตุทางถนน ให้เหลือ 12 คนต่อประชากรแสนคน
ขณะเดียวกันเป้าหมายการดำเนินโครงการฯ นำนกแก๊กกลับคืนสู่ธรรมชาติของเกาะกูดอีกครั้ง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ฯ ซึ่งในการคัดเลือกพื้นที่ พบว่า บริเวณน้ำตกห้วงน้ำเขียว มีความเหมาะสมต่อการเป็นจุดทดลองปล่อยนกแก๊กคืนสู่ธรรมชาติ เนื่องจากสำรวจเบื้องต้นพบต้นไม้ที่มีศักยภาพในการใช้เป็นโพรงรังถึง 27 ชนิด และพบชนิดพันธุ์ไม้กว่า 49 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นพืชอาหารของนกเงือกไม่น้อยกว่า 32 ชนิด