ผอ.ขสมก.ยอมรับหลัง 2 ทุ่มปัญหารถเมล์ไม่พอ เร่งเคลียร์ภายใน 1 เดือน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

เพจ "รถเมล์ไทยแฟนคลับ Rotmaethai" โพสต์เสียงสะท้อนปปช.ผู้ใช้บริการรถเมล์ ร้อง หลัง 2 ทุ่ม รถวิ่งน้อยลง คอยรถนาน ด้านขสมก. ยอมรับจำนวนรถเมล์ที่วิ่งน้อยลง จะเร่งแก้ปัญหาภายใน 1 เดือน

เพจ "รถเมล์ไทยแฟนคลับ Rotmaethai" ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า หลัง 2 ทุ่ม รถเมล์หาย อยากให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วยลงมาดู หรือลองมาใช้บริการรถเมล์กลับบ้าน จะได้รู้ถึงความทุกข์ ความลำบากของ ประชาชนผู้ใช้บริการ รถมาเต็ม!ขึ้นไม่ได้ วันไหนฝนตก ลำบากสุดๆ และรถเมล์บ้างเส้นทาง ขสมก.เคยมีวิ่งกะสว่าง พอขนส่งให้เอกชนมาเดินรถแทน กะสว่างกลับหายไปก็มี ฝากหน่วยงานที่ดูแล และผู้มีอำนาจ ช่วยสั่งการช่วยเหลือ เพราะประชาชนผู้ใช้บริการรถเมล์ ไม่ได้มีรายได้สูง พอที่จะจ่ายค่าแท็กซี่ได้ทุกวัน

ถูกรางวัลสลากดิจิทัล ขึ้นเงินผ่านแอปฯ เป๋าตัง ภายใน 15 วัน

ขุมทรัพย์ธุรกิจสถานีชาร์จรถไฟฟ้า 1.7 แสนล. เอเชียครองรายได้สูงสุดในโลก

นายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยอมรับว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว และได้ประชุมผู้อำนวยการเขตเดินรถทั้ง 8 เขต เพื่อดำเนินการเกลี่ยจำนวนรถให้เหมาะสมกับจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเส้นทาง เช่นบางเส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารเยอะ และรถเมล์ขาด ก็อาจจะต้องดำเนินการเกลี่ยจากเส้นทางที่มีรถเมล์มาก แต่คนใช้น้อย แต่การเกลี่ยจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ต้องไม่เกิดผลกระทบทั้ง 2 จุด ประชาชนต้องได้รับการบริการอย่างเต็มที่เหมือนเดิม โดยขอเวลา 15 วัน ในการสำรวจและจัดทำแผนงานการเกลี่ยรถกับจำนวนประชาชนผู้รับบริการให้มีความสอดคล้องกัน จากนั้นจะทำแผนเสนอบอร์ด ขสมก. และดำเนินการปรับเส้นทาง คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 1 เดือน จะเร่งแก้ปัญหาเรื่องนี้

ผอ.ขสมก.กล่าวว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถอยู่ 2,885 คัน ลดลงจาก 3,000 กว่าคัน ในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากหมดสัญญาไป 200 กว่าคัน โดยเป็นรถที่วิ่งให้บริการ 95% อีก 5% เป็นรถสำรองฉุกเฉิน ทำให้เหลือจำนวนรถที่วิ่งให้บริการทั้งสิ้นราว 2,700 คัน ใน 108 เส้นทาง ขณะที่จำนวนพนักงานขสมก.ยังขาดอยู่กว่า 700 คน ทำให้มีจำนวนรถ และ จำนวนพนักงาน ไม่เพียงพอ ประกอบกับสถานการณ์โควิดที่มีทิศทางดีขึ้น ทำให้ประชาชนกลับมาใช้บริการรถเมล์มากขึ้น

นายพิเชษฐ์ เจียมบุรเศรษฐ์ นายกสมาคมกิจการรถโดยสารประจำทางไทย ได้ออกมาชี้แจงว่า ผู้ประกอบการต้องลดเที่ยววิ่งลงและทยอยหยุดการให้บริการในบางเส้นทาง ซึ่งเป็นทางเลือกทางสุดท้ายก่อนที่อาจต้องปิดกิจการถาวรในที่สุด หลังจากที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากค่าโดยสารเมื่อปี 2562 ที่ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 27 บาท จนถึงเวลานี้ ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 34 บาท ปรับเพิ่มขึ้นถึงลิตรละ 7 บาท ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นเที่ยวละประมาณ 1,400 บาท โดยเฉลี่ยหากวิ่งวันละ 50 เที่ยว ต้องแบกภาระเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 70,000 บาท ซึ่งที่ผ่านมา ได้พยายามขอให้ภาครัฐช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเรื่องการขึ้นค่าโดยสาร แต่จนถึงขณะนี้ รัฐบาลไม่มีทีท่าจะให้การเหลียวแลแต่อย่างใด

กรมการแพทย์ ย้ำ อย่าใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ

ประกันสังคม! ขาดส่งเงินสมทบบ่อยๆอาจขาดสิทธิผู้ประกันตน

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ