หลังมีรายงานพบสถิติผู้สูงอายุไทยหกล้มปีละประมาณ 3 ล้านราย แพทย์หญิงศิริรัตน์ สุวรรณฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค แนะนำว่า ภาวะพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุสามารถลดความเสี่ยงและป้องกันได้ ด้วยวิธีดังนี้
- ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน เช่น การยกน้ำหนัก ยกขวดน้ำ การใช้ยางยืด หรือการดันน้ำหนักกับเก้าอี้หรือผนังที่มั่นคง ครั้งละ 30 นาที และไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ จะทำให้มีมวลกล้ามเนื้อ แข็งแรงขึ้น ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว และการทรงตัวดีขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น
เปิดใจ "แสนปิติ" ต่อมุมมองคนพิการในกทม.
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข "กัญชา" เป็นสมุนไพรควบคุม
วอลเลย์สาวไทย ปลอดโควิดยกทีม พร้อมดวลญี่ปุ่น เย็นนี้
- ควรสวมรองเท้าหุ้มส้น พื้นมีดอกยางกันลื่น สามารถเคลื่อนไหวก้าวเดินได้สะดวก
- ผู้ที่มีความบกพร่องในการเดินหรือการทรงตัว ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดินช่วยพยุง เช่น โครงเหล็กช่วยเดิน/ไม้เท้า
- ควรเลี่ยงการเดินขึ้น-ลง บันได
- หากหกล้ม ขยับไม่ได้ ให้ญาติหรือผู้ดูแลโทร 1669 แจ้งขอความช่วยเหลือจากระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และประการสำคัญ
นอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรเข้ารับการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มปีละ 1 ครั้ง ได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง ซึ่งจะทำการคัดกรองโดยการซักประวัติการหกล้ม การประเมินสมรรถภาพทางกาย พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เป็นต้น
โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีสิทธิประโยชน์เพื่อดูแล “ผู้สูงอายุ” ที่มีสัญชาติไทยทุกสิทธิการรักษา (รวมถึงสิทธิว่าง) อายุ 60 ปี ขึ้นไป นอกจากบริการประเมินสมรรถนะผู้สูงอายุในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL) 3-5 ครั้งต่อปีแล้ว ยังมีบริการคัดกรองความบกพร่องทางสายตาโรคต้อกระจก ตรวจวัดสายตา (Visual Acuity Test) ประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนด้วย OSTA inde ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฯลฯ ที่อาจส่งผลให้เกิดการพลัดตกหกล้มได้ โดยสามารถเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ทั้งนี้ สอบถามเพิ่มเติมการใช้สิทธิบัตรทอง สายด่วน สปสช. 1330 หรือช่องทางระบบออนไลน์ทั้งไลน์ สปสช. @nhso และ Facebook : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เตือน "หวยดิจิทัลทิพย์" เสี่ยงชวดรางวัล ผิดกฎหมาย
Plant-based diet การรับประทานพืชเป็นหลัก ทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพและอนาคต