จากสถานการณ์ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ส่งผลให้น้ำมูลเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านชาวบ้านไปแล้วกว่า 1,000 ครอบครัว จนต้องอพยพออกมาอยู่ที่พักชั่วคราว ขณะที่น้ำจากแม่น้ำมูล ที่เอ่อล้นตลิ่ง ยังไหลเข้าท่วมนาข้าวของเกษตรกรในบ้านทุ่งขุนน้อย ต.แจระแม อ.เมือง
ซึ่งมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 3,200 ไร่ จากการสำรวจพบว่านาข้าวของชาวบ้านได้รับความเสียหายทั้งหมด เพราะน้ำมูลไหลทะลักเข้าท่วมมานานกว่า 1 สัปดาห์ ซึ่งขณะนี้น้ำท่วมขังสูงกว่า 2 เมตรแล้ว ไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาได้
ทีเอ็มบีธนชาต ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.20% เงินฝาก 0.15% – 0.80% ต่อปี
น้ำท่วมหนัก ต้องใช้เรือแทนรถไปหาหมอ หลังน้ำทะลักท่วมถนนหน้าโรงพยาบาล
ปัจจุบัน จ.อุบลราชธานี มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 1 แสนไร่แล้ว สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ สำนักงานเกษตร จ.อุบลราชธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งดำเนินการช่วยเหลือเพื่อชดเชยและเยียวยาความเสียหาย
ขณะเดียวกัน เช้านี้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 231 หรือถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลฯ ฝั่งขาเข้าเมืองได้ปิดเส้นทางจราจรแล้วเพราะน้ำทะลักไหลท่วมบนผิวถนน โดยต้องเปลี่ยนมาใช้เส้นทางขาออกสวนเลนกัน ทำให้การจราจรช่วงเช้าชะลอตัวและติดขัด
ขณะที่กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานว่ามีพื้นที่กว่า 41 จังหวัด ที่เกษตรกรได้รับผลกระทบกว่า 112,000 ราย พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 736,000 ไร่ ย้ำพร้อมให้ความช่วยเหลือเยียวยา ทันทีที่จังหวัดประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน
โดยนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยเกษตรกรจากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่
ขณะนี้มีพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบ มีจำนวน 41 จังหวัด ทุกภูมิภาค เกษตรกรได้รับผลกระทบราว 112,000 ราย มีพื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหายราว 736,000 ไร่ แยกเป็นข้าวราว 666,000 ไร่ พืชไร่ละพืชผักราว 65,000 ไร่ และไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่นๆ ประมาณ 4,800 ไร่
สำหรับเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ยังคงเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังและหลักเกณฑ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 และตามระเบียบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดย เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร และปรับปรุงทะเบียนก่อนเกิดภัย พื้นที่เสียหายจริง อยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ และช่วยเหลือไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่
สำหรับอัตราการช่วยเหลือ แบ่งเป็น ข้าว 1,340 บาทต่อไร่ พืชไร่ละพืชผัก 1,980 บาทต่อไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่นๆ 4,048 บาทต่อไร่ การขอรับความช่วยเหลือนั้น เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว เกษตรกรยื่นแบบขอรับการช่วยเหลือ ( หรือ กษ 01) ซึ่งมีผู้นำท้องถิ่น หรือนายกเทศมนตรีตรวจสอบและรับรอง