สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์ (VIIRS) พบจุดความร้อนของประเทศเพื่อนบ้านอย่างสาธารณรัฐสหภาพเมียนมาสูงถึง 6,345 จุด รองลงมาราชอาณาจักรกัมพูชา 1,061 จุด สปป.ลาว 679 จุด เวียดนาม 161 จุด และมาเลเซีย 1 จุด
สำหรับจุดความร้อนในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 209 จุด พื้นที่เกษตร 131 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 113 จุด พื้นที่ชุมชนและอื่นๆ 78 จุด พื้นที่เขต สปก. 75 จุด
ข่าวปลอม! พายุลูกใหญ่หลงฤดูเข้าไทย 47 จังหวัด เป็นข้อมูลเท็จ อย่าแชร์
ดัชนีประชาธิปไตยไทยขยับสูงขึ้น 17 อันดับ
และพื้นที่ริมทางหลวง 13 จุด ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด เชียงราย 91 จุด เชียงใหม่และลำปาง 58 จุด แม่ฮ่องสอน 47 จุด ตามลำดับ จากภาพแสดงให้เห็นว่าจุดความร้อนยังคงกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศโดยเฉพาะภาคเหนือ คาดว่าน่าจะเกิดจากการเตรียมพื้นที่เพื่อการเกษตร หรือการเข้าไปหาของป่า
สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพจากประแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม
ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ คาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กPM 2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือมีแนวโน้มที่ควรเฝ้าระวังบริเวณภาคเหนือตอนบน ในช่วงวันที่ 8-11 ก.พ. 2566
ส่วนพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 8-14 ก.พ. 2566 มีแนวโน้มคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศที่ดีเนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น และมีลมใต้ที่มีกำลังค่อนข้างแรงช่วยพัดพาฝุ่นละออง PM 2.5 ออกจากพื้นที่