มาฆบูชา 2568 : ทำความเข้าใจ “การเวียนเทียน” ทำไมถึงสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน
บทสวดมนต์ “วันมาฆบูชา” เสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต
พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร. ระบุว่า เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา “วันมาฆบูชา” สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอแจ้งเตือนไปยังผู้ประกอบการร้านค้า และประชาชน ให้งดจำหน่ายและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ตลอด 24 ชั่วโมง ถึงเวลา 24.00 น. ของคืนวันที่ 6 มี.ค. ยกเว้นเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ
โดยหากฝ่าฝืนมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร.ได้สั่งกวดขัน จับกุม ผู้กระทำความผิดตามสถานที่สุ่มเสี่ยง เช่น ร้านอาหาร านข้าวต้มโต้รุ่ง คาราโอเกะ สถานบริการ
"เท่าพิภพ" ย้อนที่มา กม.ห้ามขายเหล้าวันมาฆบูชา
นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กรุงเทพ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหาเล่าประวัติเกี่ยวกับกฎหมาย “ห้ามขายเหล้าในวันพระ” ว่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นับว่าเป็นกฎหมายฉบับสุดท้ายที่ออกในสมัยของนิติบัญญัติแห่งชาติ สภาที่แต่งตั้ง 100% โดย คณะรัฐประหาร ปี 2549 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 23 ธันวาคม 2550
โดยเท่าพิภพ ระบุว่า ตอนนั้นมีการพิจารณากฎหมาย 27 ฉบับ โดยใช้เวลาเพียง 12 ชั่วโมง หรือ ฉบับละ 26 นาทีเศษเท่านั้น ผลการกระทำในตอนนั้น ทำให้ต่อมามีข้อกฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์มากมาย ซึ่งมาตราที่ดังที่สุดคงจะหนีไม่พ้นมาตรา 32 ที่ว่า ”ห้ามโฆษณา” และมาตรา 28 ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีมากำหนดวันเวลา เงื่อนไข การขายได้
สุดท้ายแล้วในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ มีการออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ห้ามขายเหล้าในวันพระ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรานี้ต่อมาหลังการ รัฐประหาร2557 รัฐบาลประยุทธ์ จึงออกประกาศให้สำนักนายกรัฐมนตรีขันน็อตการ ห้ามขายสุรา ให้แน่นขึ้นไปอีก โดยห้ามขายทั้งในโรงแรมและเพิ่มการห้ามขายในวันออกพรรษาเข้าไปด้วย
นายเท่าภิภพยัง ตั้งคำถามในทำนองว่า หากการใช้หลักศาสนาเป็นเหตุผลในการออกกฎหมายนี้ ซึ่งตนมองว่า เป็นการไม่ชอบ และเป็นการขัดต่อหลักเสรีภาพในการนับถือศาสนาและเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญด้วย และยังบอกว่า หากมีการออกกฎหมายโดยใช้หลักศาสนามาเป็นเหตุผลว่ากลัวคนทำผิดศีลข้อห้ามทางศาสนานั้น แต่เหตุใด ไม่บัญญัติให้การกระทำของพระภิกษุที่ทำผิดศีลเป็นความผิดทางกฎหมายด้วยไปเลย