เปิดตำราข้อควรปฏิบัติของชาวพุทธ ใน “วันมาฆบูชา 2567”

โดย PPTV Online

เผยแพร่

วันสำคัญในพระพุทธศาสนานั้นมีมากมาย หนึ่งในวันสำคัญคือ “วันมาฆบูชา” วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก

วันมาฆบูชา ปี 2567 ตรงกับวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ วันมาฆบูชา มาจากคำว่า “มาฆบุรณมี” หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งคือเดือน 3 นั่นเอง ส่วนในประเทศไทยนั้น จะกำหนดวันมาฆบูชาตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม
ชาวพุทธศาสนิกชน มักจะรวมตัวกันไปทำบุญในวันมาฆบูชา เพื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า นั่นคือ “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์”

คอนเทนต์แนะนำ
ไขข้อสงสัย!? "วันอาสาฬหบูชา-วันเข้าพรรษา" ต้องเวียนเทียนไหม
บทสวดมนต์ “วันมาฆบูชา” เสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต
คำถวายของใส่บาตร อธิษฐานจิตเวลาทำบุญ เพื่อมหากุศลแก่ตนเอง และครอบครัว

ชาวพุทธกำลังทำบุญในวันพระ Freepik/EyeEm
พุทธศาสนิกชนกำลังบูชาพระรัตนตรัย

วันมาฆบูชาสำคัญอย่างไร

วันมาฆบูชา เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นถึง 4 เหตุการณ์ นั่นคือ วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ เป็นวันที่พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย และพระสงฆ์ทั้งหมดนั้นล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 นอกจากนี้ยังได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
การเกิดสิ่งมหัศจรรย์ทั้ง 4 ประการนี้ภายในวันเดียวกัน จึงเรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต”

คำสอนของพระพุทธเจ้า

นอกจากจะเป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ยังเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ไว้เป็นหลักปฏิบัติของพระสาวกในการดำเนินชีวิตและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งการแสดงโอวาทปาติโมกข์ คือ การให้คำแนะนำสั่งสอน ประกอบด้วยการกำหนดกฎหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา การอธิบายความหมายของสมณะและบรรพชิต หน้าที่ที่พึงกระทำ และวิธีการดำเนินชีวิต
สุดท้าย พระพุทธเจ้ายังได้สรุปคำสอน ที่พระสงฆ์จะต้องนำไปเผยแผ่หรือสั่งสอนประชาชนให้ยึดถือตาม ดังปรากฎอยู่ใน โอวาทปาติโมกข์คาถาที่ 2 ว่าการไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์

ข้อปฏิบัติของชาวพุทธ ในวันมาฆบูชา

1. ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ สามเณร ในช่วงเช้าหรือเพล

2. บริจาคทรัพย์ ให้ทานเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ยากไร้ ตลอดจนบำเพ็ญสาธารณประโยชน์

3. รักษาศีล สำรวมระวังกาย และวาจา ด้วยการรักษาศีล 5 หรือศีล 8

4. บำเพ็ญภาวนาด้วยการไหว้พระสวดมนต์ปฏิบัติสมาธิ และวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน 4

5. เวียนเทียน เพื่อบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา และควรแต่งกายให้สุภาพ

ข้อปฏิบัติของวัด ในวันมาฆบูชา

ในวันมาฆบูชา ภิกษุ สามเณร ศิษย์วัด คนวัด จะช่วยกันทำความสะอาดบริเวณวัด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะ ตั้งน้ำใช้ น้ำฉัน และประดับธงธรรมจักร
เวลาเช้าและบ่ายในวันมาฆบูชา จะมีการฟังพระธรรมเทศนา และเวียนเทียนในช่วงค่ำ เมื่อถึงเวลาเวียนเทียน ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จะพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ พร้อมถือดอกไม้ ธูปเทียน โดยมีพระสงฆ์เป็นประธาน และประกาศเตือนใจให้ชาวพุทธ เกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อการเวียนเทียน
การเวียนเทียนนั้น จะต้องเดินเวียนไปทางที่ขวามือของตนหันเข้าหาพุทธสถาน เช่น พระอุโบสถ พระมหาธาตุเจดีย์ เดินเวียนจนครบ 3 รอบ แล้วจึงนำดอกไม้ธูปเทียนไปปักตามจุดที่กำหนด ก่อนที่ภิกษุสามเณร จะเข้าไปในพระอุโบสถ เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรเย็น สวดโอวาทปาติโมกข์คาถา หลังจากนั้น พระสังฆเถระก็จะแสดงธรรมเทศนาเกี่ยวกับโอวาทปาติโมกข์คาถา ตามลำดับ

วันมาฆบูชานี้ ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมทำกิจกรรมสำคัญทางพุทธศาสนา พร้อมดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคำสอน นั่นคือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล: เอกสารจากกระทรวงวัฒนธรรม , สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

บ.ดอยแม่สลอง ออกประกาศหลัง "มอส ละครคุณธรรม" ถูกสืบนครบาลจับกุม

หลายฝ่ายจับพิรุธ หลังรัสเซียไม่คืนร่าง “นาวาลนี"

สามี รับสารภาพใช้หินทุบหัว “น้องนุ่น” นำศพไปทิ้งที่ปราจีนบุรี

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ