5 ประเภททุจริตคอร์รัปชั่น เนื้อร้ายกัดกินประเทศไทย

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ทุจริตคอร์รัปชัน คือ เนื้อร้ายที่กัดกินสังคมมาโดยตลอด จากกลุ่มคนที่แสวงหาผลประโยชน์ของตัวเองจากโครงการเพื่อประชาชน รวมๆแล้วรูปแบบการทุจริตที่เห็นกันมีอยู่ด้วยกัน 5 ประเภท คือ

1. Asset Misappropriation Fraud (การยักยอก) ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต คือ 

ชมรม STRONG สายลับจับทุจริตระดับท้องถิ่น

รู้จัก SLAPP ฟ้องปิดปาก อุปสรรคต้านทุจริต

  • ปลอมแปลงเอกสารเบิกเงิน
  • เบิกค่าใช้จ่ายสูงเกินจริง
  • เซ็นต์รับงานที่ยังไม่เสร็จ
  • จ่ายเงินเดือน / ค่าแรงให้พนักงานที่ไม่มีตัวตน
  • นำเอกสารมาเบิกเงินซ้ำ
  • ปลอมแปลงลายเซ็นผู้อนุมัติจ่ายเงิน
  • ขายเป็นเงินสดแต่บันทึกเป็นลูกหนี้ นำเงินสดเข้ากระเป๋า
  • นำเงินสดย่อยไปหมุนใช้ส่วนตัว

 

2. Procurement Fraud (ทุจริตด้านจัดซื้อ) ความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต

  • มีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้ขาย
  • ผู้ขายที่เสนอราคาไม่มีตัวตนจริง
  • ราคาขาย / ค่าบริการของผู้ขายสูงเกินจริงและสูงกว่าราคาตลาด

3. Bribery & Corruption(การติดสินบน และการ คอร์รัปชั่น) ความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต

  • การติดสินบน
  • การให้หรือรับเงินใต้โต๊ะ
  • การคอร์รัปชั่น
  • การกรรโชกทรัพย์
  • การหลอกลวง
  • การสมรู้ร่วมคิด
  • การฟอกเงิน

4. Cyber Crime(อาชญากรรมทางไซเบอร์) ความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต

  • การแฮกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
  • การนำ User / Password ของผู้อื่นไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

5. Fraudulent Financial Reporting(การตบแต่งรายงานทางการเงิน) ความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริต

  • รับรู้รายได้ไม่ถูกต้อง
  • รับรู้รายการบัญชีไม่ถูกหมวดบัญชี
  • ไม่รับรู้หนี้สินที่เกิดขึ้น
  • ไม่รับรู้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
  • บันทึกบัญชีผิดงวด
  • ประเมินทรัพย์สินไม่เหมาะสม (อายุการใช้งาน มูลค่าซาก)


 

และนอกจากคำว่า ทุจริต จะมาพร้อมกับคำว่า คอร์รัปชั่น  ซึ่งหมายถึง ความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันได้แก่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ, ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการบุติธรรม เข้าใจง่ายๆ คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น 

  1.  การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต 
  2. ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ 
  3. การบอกว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงาน 

ประเภทของคอร์รัปชัน มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ 

  1. การคอร์รัปชันขนาดเล็กน้อย (petty corruption) คือ การรับเงินที่ไม่ชอบธรรม หรือไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก เพื่อดำเนินการบางอย่างให้กับผู้ที่ให้เงิน
  2. การคอร์รัปชันขนาดใหญ่ (big corruption) ซึ่งมักเป็นการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ที่รับเงินในรูปแบบของสินบนเป็นเงินจำนวนสูง และโครงการใหญ่ๆเช่น บริษัทต่างๆ
  3. การให้ของขวัญ (gift) เป็นการคอร์รัปชันอีกประเภทหนึ่ง เป็นการให้ตอบแทนในรูปแบบสิ่งของ หรือการให้ตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเชิญไปรับประทามอาหาร ซึ่งเป็นการพยายามสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิด

สาเหตุของคอร์รัปชัน 

  1. คนในสังคมส่วนใหญ่ นับถือความร่ำรวย ย่อมเป็นแรงจูงใจในการแสวงหาเงินทอง 
  2. ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้องและเครือญาติ ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์ 
  3. ระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง สร้างลูกน้องไว้ช่วยเหลือตนในเรื่องต่าง ๆ 
  4. ระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ 
  5. สภาพทางการเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น เพื่อช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองและผลประโยชน์ 

รูปแบบของการคอร์รัปชัน 

  1. การทุจริตในการซื้อจัดจ้าง การทุจริตในเรื่องเหล่านี้มีตั้งแต่การเรียกรับเงินสินบน ค่านายหน้า หรือการตอบแทนในรูปแบบต่างๆ ในการอนุมัติคำร้องเพื่อดำเนินกิจการต่างๆ 
  2. การทุจริตโดยการยักยอกทรัพย์ ของทางราชการหรือการทุจริตในการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่ารักษาพยาบาล และค่าเช่าบ้าน เช่น การใช้พาหนะของราชการ โดยเบิกค่าพาหนะ หรือการเบิกเบี้ยเลี้ยงเกินวันเวลาที่ปฏิบัติจริง หรือ การเบิกค่าเช่าบ้าน แต่ไม่ได้เช่าบ้านจริง 
  3. การทุจริตโดยการเรียกรับเงินหรือผลประโยชน์อื่นในการแต่งตั้งข้าราชการ ในการเลื่อนตำแหน่งหรือการโยกย้ายไปในพื้นที่ ที่อยากไป โดยการให้ค่าตอบแทน หรือเรียกว่า การซื้อ
  4. การซื้อขายเสียงและการให้ผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆในการเลือกตั้ง การทุจริตเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการคอร์รัปชันทางการเมือง เช่น การให้เงิน สิ่งของ แก่หัวคะแนนเสียง

ทั้งหมด คือ ช่องทางที่บ่อนทำลายประเทศชาติ จนแทบฝังรากลึก บางประเภททุจริตกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ กัดกินสังคมไทยมานยาวนาน สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้คือ ช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบเห็นการทุจริตคอร์รัปชันที่เข้าข่ายดั่งที่กล่าวไป รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการปราบปรามการกระทำความผิด หนึ่งในนั้น คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

ที่มาข้อมูล ธรรมนิติ / องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ