เจาะต้นตอฝุ่น PM 2.5 กทม. ฝากความหวังไว้ที่ กฎหมาย PRTR ?

โดย PPTV Online

เผยแพร่

เจาะต้นตอฝุ่น PM2.5 กทม. ที่ดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นทุกปี เป้าใหญ่ที่ถูกเพ่งเล็งว่าอาจจะเป็นต้นเหตุหลักคืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มากกว่าการจราจรและการเผา ขณะที่ความหวังที่จะทำให้ปัญหานี้ถูกแก้ในระยะยาว คือ กฎหมาย PRTR

ตัวการฝุ่น PM 2.5 ในเมืองกรุงฯ สังคมอาจพุ่งเป้าไปที่ ภาคการจราจรและการเผาในที่โล่งซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนและอาจเป็นสาเหตุใหญ่ แต่ถูกมองข้าม คือ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงกลั่นน้ํามัน โรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งปล่อยมลพิษมากกว่า

กทม. 7 เขตอ่วมหนัก ค่า PM2.5 เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดง

ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้! 22 จังหวัดคุณภาพอากาศแย่ กทม.แดงทุกพื้นที่

ซึ่งในมุมมองภาคประชาสังคมเล็งเห็นวิกฤตที่สามารถแก้ปัญหาได้ ด้วย ‘กฎหมายการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและ เคลื่อนย้ายสารมลพิษ’ หรือ ‘PRTR

เจาะต้นตอฝุ่น PM2.5 กทม. ช่างภาพพีพีทีวี
คุณภาพอากาศ ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาาชน ยังคงต้องหวังพึ่งกฎหมาย PRTR ที่จะแก้ปัญหาแหล่งมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมได้

เวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอข้อมูลผลสำรวจแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่จากอุตสาหกรรมที่ถูกละเลย และข้อเสนอทางออกจากวิกฤต ร่วมกับภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิบูรณะนิเวศ เครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง (MEENet) Thai Climate Justice for All (TCJA) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) และกรีนพีซ ประเทศไทย (Greenpeace Thailand)

ได้พูดคุยถึงต้นตอของปัญหา PM 2.5 ในกทม. ที่มักจะพุ่งเป้าไปที่รถยนต์ แต่แหล่งกำเนิดของฝุ่นพิษที่ใหญ่กว่านั้นมาก เพราะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแหล่งกำเนิดฝุ่นและคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ คือโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล โรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังผลิตสูง ซึ่งปล่อยฝุ่นมากกว่ารถยนต์หลายเท่า

โดยแหล่งมลพิษทางอากาศ อย่างโรงกลั่นน้ำมัน ที่มีกระบวนการกลั่นที่เสร็จสมบูรณ์ จะปล่อยฝุ่นละอองสู่บรรยากาศวันละกว่า 4.6 ตัน และปล่อยออกไซด์ของไนโตรเจน มากกว่า 6.4 ตันต่อวัน โดยการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจน นั้นนำไปสู่การก่อตัวของ PM2.5 และโอโซน

ซึ่งมีผลกระทบด้านสุขภาพโดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจหากรับเข้าไปแบบเฉียบพลัน และจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเรื้อรัง หากรับสารที่ถูกปล่อยออกมาเหล่านี้ในระยะยาวอย่างที่ กทม.กำลังเผชิญอยู่

ข้อมูลจากการศึกษาของมูลนิธิบูรณะนิเวศ พบว่า อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมหนาแน่นมีการปล่อยมลพิษสูงสุด และจากการรวบรวมข้อมูลโรงงานในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล มีโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 13,000 แห่งที่เป็นแหล่งมลพิษทางอากาศเช่นกัน ทั้งยังพบความน่ากังวลถึง ฝุ่น PM2.5 ที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น โลหะหนัก และสารมลพิษตกค้างยาวนาน ที่สูงกว่ามาตรฐานสากลหลายเท่า

เจาะต้นตอฝุ่น PM2.5 กทม. ช่างภาพพีพีทีวี
ต้นตอของปัญหา PM 2.5 ในกทม. ที่มักจะพุ่งเป้าไปที่รถยนต์ แต่แหล่งกำเนิดของฝุ่นพิษที่ใหญ่กว่านั้นมาก

ภาคประชาสังคมเสนอให้มีมาตรการจัดการผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ ต่อหน่วยงานรัฐดังต่อไปนี้

  • มาตรการเฉพาะสำหรับโรงกลั่นน้ำมันและโรงไฟฟ้าในเขต กทม.
  • วางแผนการเดินเครื่องและการซ่อมบำรุงประจำปี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์สภาพอากาศ
  • ติดตั้งเทคโนโลยี WGS (wet gas scrubber)
  • ติดตั้งเทคโนโลยีระบบควบแน่นและระบบกรองที่ระบบไอเสียก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ กรณีโรงไฟฟ้า

มาตรการระยะสั้นเพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษให้สำเร็จ

  • รัฐสภาและรัฐบาลสนับสนุน (ร่าง) พระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR)
  • ตรวจสอบระบบการบำบัดอากาศเสียและปริมาณการปล่อยทิ้งอากาศเสียของโรงงานในเขต กทม. และปริมณฑลที่ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549 และโรงงานที่มีกฎหมายควบคุมการปล่อยอากาศเสียเป็นการเฉพาะ
  • สำหรับโรงกลั่นน้ำมันหรือโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยฝุ่นมากควรมีมาตรการกำกับให้ลดหรืองดการเดินเครื่องในช่วงที่มีอากาศปิด และมี PM2.5 อยู่ในระดับวิกฤต
  • ระบบการตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพของภาครัฐต้องพร้อมสุ่มตรวจตลอดเวลา ที่ควรมีการสุ่มตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจวัดปกติสำหรับโรงงานที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการในรายงานประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA)
  • ชะลอและทบทวนโครงการการก่อสร้างส่วนต่อขยาย การเพิ่มกำลังผลิต หรือการทดแทนกำลังผลิตเดิมที่หมดอายุในบริเวณเดิม (หรือในเขต กทม.และปริมณฑล)

เจาะต้นตอฝุ่น PM2.5 กทม. ช่างภาพพีพีทีวี
คุณภาพอากาศ ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาาชน ยังคงต้องหวังพึ่งกฎหมาย PRTR ที่จะแก้ปัญหาแหล่งมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมได้

มาตรการระยะยาว

  • ย้ายแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศขนาดใหญ่ออกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล และการนำหลักการผังเมืองมาบังคับใช้ให้เข้มข้น
  • ให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ในภาพรวมของกรุงเทพฯ และปริมณฑลในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิกฤตคุณภาพอากาศ
  • ปรับปรุงและออกกฎหมายโดยใช้มาตรการและมาตรฐานที่เป็นสากลและได้ผล โดยมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมภายใต้กติกาและวัฒนธรรมประชาธิปไตย

คอนเทนต์สำหรับคุณ

เนื้อหาคัดสรรคุณภาพ

เนื้อหาสนับสนุน By Bluedot
เนื้อหาสนับสนุน By Bluedot

สอดคล้องไปกับอีกความหวังที่จะช่วยเรื่องคุณภาพอากาศของประชาชนได้ ภายหลังจากที่เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 67 สภาฯ ลงมติเอกฉันท์ 443 เสียง รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด 7 ฉบับ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ไทยจะต้องมีกฎหมายควบคุมมลพิษทางอากาศ เพื่อแก้ปัญหาทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ ตลอดจนการกำหนดมาตรการความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดอากาศบริสุทธิ์และมีผลที่ดีต่อสุขภาพของประชาชน

ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศ กําหนดบทลงโทษ และจัดตั้งองค์กรกํากับดูแลเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตมลพิษอากาศอย่างยั่งยืน และในขั้นตอนถัดไป คณะกรรมาธิการจะได้นำร่างทั้ง 7 ไปพิจารณานำข้อดีของแต่ละฉบับมาจัดทำเป็นร่างหลักที่จะเสนอต่อรัฐสภาในวาระต่อไป

คุณภาพอากาศ ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ยังคงต้องหวังพึ่งกฎหมาย PRTR ที่จะแก้ปัญหาแหล่งมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมได้ รวมไปถึง พรบ.อากาศสะอาดที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ที่จะเป็นทางออกให้กับวิกฤตสภาพอากาศของคนไทยในตอนนี้

 

ออปต้า ทำนายผลแข่ง ทีมชาติไทย พบ โอมาน นัดสอง ศึกเอเชียน คัพ 2023

โปรแกรมฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023 รอบแรก นัดสอง 19 ม.ค.67

วันหยุดกุมภาพันธ์ 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ ตรงกับวันไหนบ้าง

Bottom-VNL2025 Bottom-VNL2025

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ