ปภ.เตือน 38 จังหวัดและกทม. เฝ้าระวัง “พายุฤดูร้อน”

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ปภ.แจ้ง 38 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ-อีสาน-กลาง และกทม.เฝ้าระวังพายุฤดูร้อน ช่วง 8 - 10 มี.ค. 67

วันที่ 7 ก.พ. 2567 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (52/2567) ลงวันที่ 6 มี.ค. 2567 เวลา 17.00 น. แจ้งว่า บริเวณความกดอากาศสูงจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจะแผ่ลงมาปกคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความขึ้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ประกาศฉบับที่ 2 “พายุฤดูร้อน” ช่วง 8- 10 มี.ค. เช็ก! พื้นที่ได้รับผลกระทบ

ไขปริศนา! ลูกไฟขนาดใหญ่ปรากฏเหนือท้องฟ้าหัวค่ำ 6 มี.ค. คาด “ดาวตกชนิดระเบิด”

สภาพอากาศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
แผนที่เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนองช่สง 8- 10 มี.ค.67

ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่ ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีพายุฤดูร้อนโดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ระหว่างวันที่ 8 - 10 มี.ค. 2567 แยกเป็น

  • ภาคเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์
  • ภาคกลาง 23 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และสมุทรปราการ

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานแจ้ง 38 จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยในช่วงดังกล่าว โดยติดตามสภาพอากาศ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด และประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า รวมถึงจัดเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรกลสาธารณภัยและทีมปฏิบัติการเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ทันที

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศและข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด ตลอดจนตรวจสอบบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกล้มทับ รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า ส่วนเกษตรกรให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบัง เพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย

ผลบอลยูโรป้า ลีก รอบ 16 ทีม นัดแรก ลิเวอร์พูล บุกถล่ม สปาร์ต้า ปราก 5-1

ชวนรู้จัก "ดาวตก-อุกกาบาต-ดาวหาง" สามวัตถุนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

เปิด 15 คำหาเสียง “โดนัลด์ ทรัมป์” หากได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ