22 ก.ย.นี้ ชวนติดตาม "วันศารทวิษุวัต" ปรากฏการณ์กลางวันนานเท่ากลางคืน!

โดย PPTV Online

เผยแพร่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนติดตามปรากฏการณ์ "วันศารทวิษุวัต" เวลากลางวันยาวนานเท่ากลางคืน 22 กันยายนนี้ เกิดขึ้นปีละ 2 ครั้งเท่านั้น!

20 กันยายน 2567 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) โพสต์เฟซบุ๊กชวนติดตามปรากฏการณ์ "วันศารทวิษุวัต" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์ โดยจะเป็นวันที่เริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ เริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศในซีกโลกใต้ และเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน

สดร. ให้ความรู้ว่า วันศารทวิษุวัต (อ่านว่า สา-ระ-ทะ-วิ-สุ-วัด) หรือ Autumnal Equinox เป็นวันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลก

คอนเทนต์แนะนำ
ประกาศฉบับที่ 13 พายุ “ซูลิก” เข้าไทยแล้ว รับมือฝนถล่ม
อิทธิฤทธิ์พายุซูลิก ฝนกระหน่ำ จ.มุกดาหาร ทั้งคืน ถนนหลายสายน้ำท่วมขัง
อัปเดตเส้นทางพายุ “ซูลิก” ศูนย์กลางอยู่แขวงคำม่วน สปป.ลาว ห่างนครพนม 100 กม.

ภาพสดร.ชวนติดตาม "วันศารทวิษุวัต" ปรากฏการณ์กลางวันนานเท่ากลางคืน 22 กันยายนนี้ FB/NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
สดร.ชวนติดตาม "วันศารทวิษุวัต" ปรากฏการณ์กลางวันนานเท่ากลางคืน 22 กันยายนนี้

ผลตรวจข้อสอบ “ครูเบญ” ออกแล้ว คะแนนไม่ผ่านเกณฑ์

ตรวจสอบสิทธิกลุ่มเปราะบาง-ผู้พิการ รับเงิน 10,000 บาท ดิจิทัลวอลเล็ต

เปิดไทม์ไลน์ โอนเงิน 10,000 บาท เข้าบัญชีพร้อมเพย์ กลุ่มเปราะบาง-ผู้พิการ
 

ทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้มีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน

สำหรับประเทศไทย จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 กันยายนนี้ โดยในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ 06.07 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18.14 น. ตามเวลา ณ กรุงเทพมหานคร นับเป็นวันเริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเริ่มต้นสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกใต้

แม้เวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในวันดังกล่าวจะดูเหมือนไม่เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าวันดังกล่าวมีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานไม่เท่ากัน เนื่องจากการนิยามดวงอาทิตย์ขึ้นและตกนั้นจะนับเมื่อเราเห็น “ขอบบน” ของดวงอาทิตย์สัมผัสกับเส้นขอบฟ้า

กล่าวคือ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น จะนับเวลาเมื่อขอบบนของดวงอาทิตย์สัมผัสกับขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และเมื่อดวงอาทิตย์ตก จะนับเวลาเมื่อขอบบนของดวงอาทิตย์สัมผัสกับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก (หรือเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าหมดทั้งดวงนั่นเอง)

ซึ่งหากนับจากช่วงเวลาที่จุดกึ่งกลางดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านขอบฟ้า วันดังกล่าวนับว่าเป็นวันที่มีกลางวันและกลางคืนยาวนาน 12 ชั่วโมงเท่ากัน

โดยเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ได้แก่ ในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า Vernal Equinox (วสันตวิษุวัต) และในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า Autumnal Equinox (ศารทวิษุวัต)  

สำหรับปรากฏการณ์ต่อไปที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์ในปีนี้ คือ “วันเหมายัน” (Winter Solstice) ซึ่งจะตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม 2567 เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด

ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุด และกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” ซึ่งประเทศทางซีกโลกเหนือจะนับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้จะมีช่วงกลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน

ที่มา: NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ