จากกรณี ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต นางสรารัตน์ หรือ "แอม ไซยาไนด์" (จำเลยที่ 1) วางยาสังหารนางสาวศิริพร หรือ ก้อย พร้อมตัดสินจำคุก 1 ปี 4 เดือน พ.ต.ท.วิฑูรย์ อดีตสามีนางสรารัตน์ และอดีตรองผกก.สภ.สวนผึ้ง (จำเลยที่ 2) และตัดสินจำคุก นางสาวธันย์นิชา หรือ "ทนายพัช" (จำเลยที่ 3) อดีตทนายความนางสรารัตน์ จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา พร้อมชดใช้ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท ในความผิดฐานช่วยเหลือจำเลยที่ 1 มิต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง และซ่อนเร้นทำลายหลักฐาน
ทั้งนี้สำหรับ “ทนายพัช” มีชื่อจริงว่า ธันย์นิชา เอกสุวรรณรัตน์ อายุ 36 ปี เป็นเจ้าของสำนักงานกฏหมาย ธันย์นิชา ลอว์ และมีชื่อเป็นหนึ่งในกรรมการห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นแซดพี โซญิ ซุรุ ไทย ธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท
ศาลพิพากษาประหารชีวิต "แอม ไซยาไนด์"
วันหยุดธันวาคม 2567 เช็กวันสำคัญ - วางแผนลา หยุดยาวได้มากถึง 11 วัน
วงในเผย “ปูติน” พร้อมคุย “ทรัมป์” ยุติสงครามรัสเซีย-ยูเครน
โดย “ทนายพัช” เริ่มเป็นที่รู้จักหลังรับเป็นทนายความให้ “แอม ไซยาไนด์” ผู้ต้องหาในคดีวางยาฆ่า 14 ศพ แต่จากท่าทีของ “ทนายพัช” ในการตอบคำถามในลักษณะออกตัวแทนลูกความ จนทำให้ “ทนายพัช” ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักบนโลกโซเชียล นอกจากนั้น “ทนายพัช” ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลอีกว่า ภาพที่ “ทนายพัช” ถ่ายเอง กับภาพที่นักข่าวถ่าย เหมือนไม่ใช่คนเดียวกัน จนเกิดเสียงวิจารณ์ว่าไม่ตรงปก แต่ “ทนายพัช” ก็ได้ออกมาตอบโต้ว่าที่รูปไม่ตรงปกอย่าบูลลี่ ตอนนั้นเหนื่อย ทำงานหนัก ภาพเลยออกมาเป็นแบบนั้น พร้อมบอกอีกว่าเคยประกวดนางสาวไทย และยังได้รางวัลขวัญใจชาวนา เมื่อปี 2540-2541 ด้วย
อย่างไรก็ตามในด้านคดีความ “ทนายพัช” เดินหน้าสู้คดีให้ “แอม ไซยาไนด์” ด้วยท่าทีมั่นใจว่าลูกความของตนไม่ได้ทำความผิด แต่หลังจากนั้นก็มีข่าวออกมาว่า “แอม ไซยาไนด์” เปลี่ยนตัวทนายความ โดย “ทนายพัช” ไม่ใช่ทนายความของเธออีกต่อไป แต่จากนั้นไม่นานก็มีการตั้ง “ทนายพัช” กลับมาทำคดีให้อีกครั้งหนึ่ง
จนกระทั่งตำรวจที่ทำคดี “แอม ไซยาไนด์” พบว่ามีผู้เกี่ยวข้องในคดีอีก 1 คน หลังพบพยานหลักฐานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรืออยู่เบื้องหลังการจัดส่งกระเป๋าแบรนด์เนม และทรัพย์สินของเหยื่อในคดีแอม ต่อมาตำรวจได้ออกเรียกตัว “ทนายพัช” มารับทราบข้อกล่าวหา
กระทั่งวันนี้ (20 พ.ย. 67) “ทนายพัช” ถูกศาลตัดสินจำคุก 2 ปี ในความผิดฐานช่วยเหลือจำเลยมิต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง และซ่อนเร้นทำลายหลักฐาน โดยศาลบรรยายพฤติการณ์ว่า “จำเลยที่ 3 ในฐานะเป็นทนายความที่จำเลยที่ 1 ให้ความเชื่อถือ ได้ยุยงให้จำเลยที่1 ปกปิดกระเป๋าของกลางในคดี เพื่อเป็นแนวทางในการชนะคดี ประกอบ กลับส่งคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ชนะคดีได้โดยไม่มีของกลางให้จำเลยที่ 1 และ 3 อ่านในกลุ่มไลน์ที่สร้างขึ้น” จนนำมาสู่คำพิพากษาดังกล่าว