จากกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเมียนมา ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ซึ่งทำให้หลายพื้นที่ทั่วไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน แต่ประเด็นที่ถูกคนในสังคมตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากคือ ระบบ SMS แจ้งเตือนภัยพิบัติจากรัฐ ซึ่งที่ผ่านมามีการเรียกร้องมานานให้รัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้วางระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นกลับไม่มีการส่ง SMS เตือนภัย โดยเรื่องดังกล่าวกลายเป็นประเด็นระหว่าง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารรภัย(ปภ.) กับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเตือนภัยพิบัติ
โดยกรณีดังกล่าว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารรภัย(ปภ.) มีการทำหนังสือ 2 ฉบับส่งถึง เลขาธิการ กสทช. เรื่องขอส่งข้อความสั้น(SMS) เตือนประชาชน โดยระบุเวลา 14.30 น. และ 16.00 น. โดยให้ระบุข้อความว่า “ตามที่เกิดแผ่นดินไหวบนบก เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๒๐ น. ขนาด ๘.๒ ความลึก ๑๐ กิโลเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ที่เมียนมา ปัจจุบันได้รับการประสานกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่าผู้มีความจำเป็นอย่างยิ่ง สามารถเข้าอาคารได้ ด้วยความระมัดระวัง สอบถามโทร 1784”
ขณะที่ สำนักงาน กสทช. เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ แจ้งว่า นายไตรรัตน์ วิริยะสิริกุล รองลขาธิการ รักษาการแทน กสทช. กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. ขอน้อมรับข้อท้วงติงจากประชาชนกรณีการสื่อสารจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อเวลา ประมาณ 13:20 น. ของวันนี้ โดยยืนยันจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กสทช.ทุกคนไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่กิดขึ้น มีการประชุมเร่งด่วนทันที แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ปภ.จะเป็นผู้กำหนดข้อความ และส่งมายัง สำนักงาน กสทช. ขอให้ประสานผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือถือช่วยส่งข้อความสั้น(SMS)แจ้งเตือนประชาชน ดังนั้น หาก ปภ.ส่งข้อความมาล่าช้า หรือส่งข้อความหลายครั้งจำนวนมากก็จะทำให้การส่ง SMS มีความล่าช้าออกไปมากขึ้น เพราะระบบการส่ง SMS ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีข้อจำกัดจำนวนการส่งต่อครั้งไม่เกินประมาณ 200,000 เลขหมาย
นายไตรรัตน์ ยืนยันว่าการสื่อสารส่งต่อข้อความของปภ. ไปถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ สำนักงาน กสทช.ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด เพราะเป็นเหตุการณ์ร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น และได้มีการประสานผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในทันทีหลังได้รับข้อความจาก ปภ. เช่นกรณีเหตุการณ์ในวันนี้ ปก. ได้ส่งข้อความสั้นที่ต้องการให้ส่งต่อไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจำนวน 4ครั้ง คือครั้งแรกเวลา 14.30 น. จากนั้นส่งมาอีกทั้งในเวลา 16.00 น.จำนวน 2 ข้อความ และครั้งสุดท้ายส่งในกลา 16.30 น. ซึ่งสำนักงาน กสทช.ก็ได้ส่งข้อความต่อให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในทันที
ส่วนกรณีระบบตือนภัย(Cell BroadCast) ผู้ที่เป็นหลักในการจัดทำระบบ จัดหาผู้ดำนินการ และผู้กำหนดข้อความ คือ ปภ. ส่วนสำนักงาน กสทช.เป็นเพียงผู้สนับสนุนงบประมาณ ซึ่งขณะนี้ทางด้านผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือพร้อมในเรื่องระบบแล้วเหลือรอระบบจาก ปภ. หากยังดำเนินการไม่ได้ ผู้ให้บริการไทรศัพท์มือถือก็ยังดำเนินการไม่ได้ เพราะระบบจะเชื่อมต่อกัน