แบกพ่อผู้ป่วยติดเตียง 12 ปี ลงทะเบียน “เราชนะ”

โดย PPTV Online

เผยแพร่

พบบุตรสาวพาพ่อ อายุ 60 ปี ที่เป็นผู้ป่วยโรคไต ป่วยติดเตียงมากว่า 12 ปี ขณะนอนอยู่ในรถซาเล้งภายในใต้ถุนอาคาร

ลงทะเบียน เราชนะ กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน วันแรกคึกคักประชาชนแห่รอคิวตั้งแต่เช้า

การลงทะเบียนโครงการเราชนะ สำหรับประชาชนกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือ ผู้ป่วยติดเตียง วันที่ 2 แม้จะมีการขยายระยะเวลาลงทะเบียนออกไปจนถึงวันที่ 5 มีนาคมนี้ แต่คนยังล้นธนาคารกรุงไทยเกือบทุกสาขา อย่างไรก็ตาม พบปัญหาผู้สูงอายุที่มีบัตรคนจนแล้ว แต่ก็ยังมาลงทะเบียนเราชนะ เนื่องจากไม่เข้าใจว่าเป็นโครงการเดียวกัน รวมถึงปัญหาผู้ป่วยติดเตียงต้องมาสแกนหน้าที่ธนาคาร

ธนาคารกรุงไทย สาขาบางบัวทอง ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.โสนลอย อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ได้เปิดให้มีการลงทะเบียนโครงการเราชนะ เป็นวันที่ 2 มีผู้มาเข้าคิวรอคิวกว่า 200 คน โดยขยายระยะเวลาลงทะเบียนถึง 5 มีนาคม 2564 บรรยากาศทั่วไปเรียบร้อยดีมีผู้มานั่งรอใช้สิทธิ์อย่างเป็นระเบียบโดยวันนี้เปิดรับผู้มาใช้สิทธิ์จำนวน 200 คน

ผู้สื่อข่าวได้พบกับนางสุนันทา แสงเอม อายุ 53 ปี เป็นแม่บ้านอยู่เทศบาลนครนนทบุรีและน.ส.ขวัญไพร แสงเอม อายุ 30 ปี บุตรสาวทำงานอยู่ที่เดียวกันเดินทางมาพร้อมกับนายจรัญ แสงเอม อายุ 60 ปี ที่เป็นผู้ป่วยโรคไต ป่วยติดเตียงมากว่า 12 ปี ขณะนอนอยู่ในรถซาเล้งภายในใต้ถุนอาคาร โดยบุตรสาว กล่าวว่า ทางธนาคารแจ้งว่าต้องพาพ่อซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเตียงมาด้วย ทีแรกตนเข้าใจว่ามาลงทะเบียนแทนกันได้โดยที่ไม่ต้องเอาตัวผู้ป่วยมา แต่ทางธนาคารบอกว่าให้เอาผู้ป่วยมาสแกนหน้าด้วยจึงนำพ่อมาลงทะเบียนในวันนี้

น.ส.ขวัญไพร ยังบอกอีกว่า รัฐบาลควรจะมีมาตรการรองรับสำหรับคนที่เป็นผู้ป่วย ผู้พิการ หรือผู้ที่เดินทางมาลงทะเบียนไม่ได้หรือเดินทางมาด้วยความยากลำบากเหมือนอย่างครอบครัวของตน หลังจากถ้าได้เงินจากตรงนี้ก็คงจะไปซื้อของใช้ส่วนตัว ให้กับพ่ออย่างเช่นแพมเพิส แอลกอฮอล์ และสำลี เพราะพ่อเป็นผู้ป่วยโรคไตต้องคอยเช็ดทำความสะอาด

ที่ธนาคารกรุงไทย สาขาตลาดห้วยขวาง พบว่ามีประชาชนมาต่อคิวจำนวนมากตั้งแต่ช่วงเช้า ทีมข่าวพีพีทีวี ได้พูดคุยกับประชาชนที่มายืนรอต่อคิวเพื่อลงทะเบียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ พบว่าบางคน ยังสับสนกับการลงทะเบียนเราชนะในครั้งนี้ เพราะบางคนก็ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน แต่ไม่รู้ว่าการลงทะเบียนครั้งนี้เป็นโครงการเดียวกันกับเงินที่โอนเข้าบัตรคนจน ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา บางคนคิดว่าเป็นเงินช่วยเหลืออีกหนึ่งโครงการสำหรับคนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน จึงมารอต่อคิวลงทะเบียน

คนยังแห่ลงทะเบียน “เราชนะ” แน่น ธนาคารกรุงไทย

ขณะที่ประชาชนบางคน มารอต่อคิวเป็นวันที่ 2 แล้ว เพื่อลงทะเบียนเราชนะ เนื่องจากไม่มีสมาร์ทโฟน ยืนยันจะอดทนรอจนกว่าจะได้ลงทะเบียน เพราะเงิน 7,000 บาท มีค่าสำหรับชีวิตมาก

ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ หรือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ทั้ง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือ ผู้ป่วยติดเตียง กระทรวงการคลังได้มีการประสานกับกระทรวงมหาดไทย โดยประชาสัมพันธ์ไปยังหมู่บ้านและอำเภอต่าง ๆ เพื่อสำรวจจำนวนประชาชนที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวที่ต้องการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ และประสานไปยังธนาคารกรุงไทยให้จัดจุดบริการเคลื่อนที่เพิ่มเติม รวมถึงเพิ่มบริการจัดทำบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด (Smart Card) แก่ประชาชนที่มีบัตรประชาชนรูปแบบเก่า รวมถึงบัตรประชาชนชำรุด เพื่อให้สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ได้

ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือ ทีดีอาร์ไอ ยอมรับว่า เป็นห่วงเรื่อง การกำหนดเงื่อนไข “เราชนะ” ที่ต้องทำผ่านมือถือหรือ ผ่านเว็บไซต์และต้องมีแอปฯ เป๋าตัง ไม่ได้เป็นเงินสด ทำให้เกิดช่องโหว่ เป็นตลาดมืด คือ การลงทะเบียนแทน ต้องจ้างลงทะเบียนให้ ส่วนการแปลงเป็นเงินสดอาจเกิดธุรกิจซื้อสิทธิ เช่น รัฐให้ 4,000 บาท เอาเงินสดไปเลย 3,500 บาท เพื่อเอาสิทธิมาลงทะเบียนตลอด

การแก้ปัญหาด้วยวิธีเปิดลงทะเบียนที่ธนาคารช่วยแก้ปัญหาระดับหนึ่งแต่อาจช่วยไม่ได้มากในพื้นที่ชายขอบเพราะสาขาน้อยแต่มีคนลงทะเบียนเยอะ ดังนั้นสิ่งที่ภาครัฐต้องใช้คือกลไกท้องถิ่น เช่น อาสาสมัครหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องพยายามให้เป็นตัวแทนลงทะเบียนให้ หรือนัดธนาคารลงพื้นที่แทน

'คลัง' เปิดเฟสใหม่ เยียวยาข้าราชการ ลูกจ้างรัฐ เปิด "เราชนะ" กลุ่มพิเศษ ไม่มีสมาร์ตโฟน ลงทะเบียน 15...

 

 

 

 

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ